svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

รู้จักกับเขื่อน 'โนวา คาคอฟสกา' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

07 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังเขื่อนในยูเครนถูกทำลายเสียหาย มวลน้ำมหาศาลไหลทะลักทำให้ต้องอพยพประชาชน ยูเครนและรัสเซียต่างกล่าวโทษว่า 'เป็นฝีมือของฝ่ายตรงข้าม' แต่ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของใครก็ตาม ก็เกิดคำถามว่าความเสียหายนี้จะส่งผลอย่างไรต่อสงคราม ใครจะเป็นฝ่ายได้และใครจะเป็นฝ่ายเสีย

ทำความรู้จักกับเขื่อน "โนวา คาคอฟกา" (Nova Kakhovka)

เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างตั้งแต่ยุคโซเวียต อยู่บนแม่น้ำดนิโปร (Dnipro River) ในพื้นที่ทางใต้ของยูเครน โดยเป็นทั้งแนวหน้าและคั่นกลางระหว่างกองกำลังของรัสเซียและของยูเครน เขื่อนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ "โนวา คาคอฟกา" มีความสูง 30 เมตร และยาว 3.2 กิโลเมตร การก่อสร้างเริ่มขึ้นในสมัยของอดีตผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน (Josef Stalin) ในปี 2499 และเสร็จในสมัยของ นิกิตา ครุชชอฟ (Nikita Khrushchev)

เกิดอะไรขึ้น 

  • เขื่อนแตกเมื่อวันอังคาร (6 มิถุนายน 2566) ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาลจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนไหลทะลักเข้าท่วมสมรภูมิสงคราม 
  • ยูเครนกล่าวหาว่าเป็นฝีมือรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียตอบโต้ว่ายูเครนก่อวินาศกรรม เพื่อตัดการส่งน้ำไปยังไครเมียและหันเหความสนใจจากการตอบโต้ที่ "ไม่คงเส้นคงวา"
  • การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2,155 ตารางกิโลเมตร เหนือเขื่อนในยุคโซเวียต ทำให้ประชาชน 37,000 คน ต้องย้ายออกจากบ้านเรือน 
  • อ่างเก็บน้ำยังจุน้ำได้ถึง 18 ลูกบาศก์กิโลเมตร (18 cu km) พอ ๆ กับนำในทะเลสาบ "Great Salt Lake" ในรัฐยูทาห์ ของสหรัฐฯ 
  • นอกจากจัดการระบบน้ำจากแม่น้ำดนีโปรไปทั่วยูเครนแล้ว อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ยังส่งน้ำไปยังคาบสมุทรไครเมียที่รัสเซียผนวกเข้าเป็นดินแดนของตนเอง เมื่อปี 2557 และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย (Zaporizhzhia) ที่ยังอยู่ในความยึดครองของรัสเซีย 

รู้จักกับเขื่อน \'โนวา คาคอฟสกา\' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

การกล่าวหากัน 

ยูเครนเป็นฝ่ายเปิดก่อนด้วยการโยนให้รัสเซียเป็นผู้รับผิดชอบ โดย ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี กล่าวโทษกองทัพรัสเซียว่าวางระเบิดที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำคาคอฟกา Kakhovskaya HPP (Kakhovka Hydroelectric Power Station) จากข้างใน และรัสเซียจะต้องรับผิดชอบต่อการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ตามข้อกล่าวหาของยูเครนระบุว่า เมื่อเวลา 02.50 น. ผู้ก่อการร้ายชาวรัสเซียได้จุดระเบิดจากภายในโครงสร้างของโรงไฟฟ้า ทำให้ที่ตั้งถิ่นฐานราว 80 แห่ง อยู่ในเขตน้ำท่วม และเชื่อว่าเป็นเจตนาของรัสเซียที่จะขัดขวางไม่ให้ทหารยูเครนข้ามแม่น้ำดนิโปร ไปโจมตีทหารรัสเซีย 

รัสเซียตอบโต้ว่า ยูเครนเป็นฝ่ายก่อวินาศกรรมเพื่อตัดการส่งน้ำไปยังไครเมีย และเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการต่อสู้ที่ไม่คงเส้นคงวาของยูเครน ก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่รัสเซียบางคนบอกว่า ไม่มีการโจมตีใด ๆ ที่เขื่อนแห่งนี้ แต่เขื่อนน่าจะแตกเพราะแรงดันของน้ำ 

รู้จักกับเขื่อน \'โนวา คาคอฟสกา\' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

ผลกระทบต่อมนุษย์ 

การที่ระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหลายหมื่นคน ทำให้ต้องอพยพประชาชนทั้งฝั่งรัสเซียและยูเครน ภาพถ่ายดาวเทียมของ Maxar Technologies บริษัทเทคโนโลยีอวกาศของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นพื้นที่มากกว่า 2,500 ตารางกิโลเมตร ระหว่างเขื่อนโนวา คาคอฟกา กับอ่าวดนิโปรฟสกา (Dniprovska Gulf) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเคอร์ซอน ในทะเลดำเต็มไปด้วยเมืองและหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วม ทางการยูเครนประเมินว่า มีประชาชนที่จะได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนแตกราว 42,000 คน และคาดว่าจะพุ่งสูงสุดในวันนี้ (7 มิถุนายน 2566) รวมทั้งคนที่อยู่ในพื้นที่ยึดครองของรัสเซียราว 25,000 คน ส่วนที่ไครเมียก็คาดว่าจะมีราว 80 ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบ

รู้จักกับเขื่อน \'โนวา คาคอฟสกา\' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

ไครเมีย (Crimea)

ความเสียหายของเขื่อนเสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำในคลองนอร์ธ ไครเมีย (North Crimean Canal) ลดลง ซึ่ง 85% ของการใช้น้ำในไครเมียมาจากคลองนี้ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำการเกษตรกรรม บางส่วนใช้ในอุตสาหกรรม และราว 1 ใน 5 ใช้เพื่อการบริโภคและความจำเป็นอื่น ๆ 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย (Zaporizhzhia Nuclear Power Plant) ต้องอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำในการหล่อเย็น และปัจจุบันโรงไฟฟ้าแห่งนี้อยู่ในความยึดครองของรัสเซีย 

ราฟาเอล กรอสซี่ ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) หรือ IAEA ให้ความเห็นว่า จากการประเมินในปัจจุบันพบว่ายังไม่พบความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ แต่ก็บอกว่าจำเป็ต้องทำให้บ่อหล่อเย็นอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอสำหรับการหล่อเย็นเครื่องปฏิกรณ์ที่หยุดทำงาน

รู้จักกับเขื่อน \'โนวา คาคอฟสกา\' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

เขื่อนแตกใครได้ประโยชน์ 

ถ้าเป็นการก่อวินาศกรรม ก็จะสะท้อนเหตุการณ์ที่ไม่อาจอธิบายได้ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการระเบิดของท่อส่งก๊าซ "นอร์ดสตรีม" (Nordstream) และตะวันตกก็กล่าวหารัสเซียทั้ง 2 เหตุการณ์ ซึ่งรัสเซียก็ตอบโต้อย่างมีเหตุผลว่า "ไม่ใช่ฝีมือเรา เราจะทำไปทำไม ในเมื่อเราเป็นฝ่ายที่เจ็บ" 

ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม (Nordstream)

ความน่าเชื่อถือของรัสเซีย

ถ้าคำปฏิเสธของรัสเซียเป็นความจริง ก็มีเหตุผลสนับสนุนอยู่ 2 ประการ 

  • ประการแรก เมื่อเขื่อนแตก น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทำให้ต้องอพยพทหารและพลเรือนไปทางตะวันออก ยิ่งทำให้ห่างไปจากเมืองเคอร์ซอนและริมฝั่งแม่น้ำดนิโปร ที่จะช่วยให้ชาวเมืองได้พักหูจากเสียงปืนใหญ่และขีปนาวุธของรัสเซีย ที่ระดมโจมตีทุกวัน 
  • ประการที่สอง อาจมีผลกระทบต่อการส่งน้ำไปยังไครเมียที่ถูกยึดครองโดยรัสเซีย และมีสภาพแห้งแล้ง ต้องอาศัยน้ำจืดจากคลองที่อยู่ใกล้กับเขื่อนที่แตก 

รู้จักกับเขื่อน \'โนวา คาคอฟสกา\' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของใครก็ตาม มวลน้ำมหาศาลที่ทะลักเข้าท่วมได้ส่งผลให้ทหารรัสเซียต้องถอยร่นจากฐานที่ใช้ในการยิงปืนใหญ่และขีปนาวุธข้ามไปยังฝั่งยูเครน ส่วนรถหุ้มเกราะของยูเครนก็ไม่สามารถฝ่ากระแสน้ำเพื่อรุกคืบเข้าไปได้เช่นกัน 

รู้จักกับเขื่อน \'โนวา คาคอฟสกา\' ยูเครน-รัสเซีย ใครได้ใครเสีย

logoline