svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

'ไบเดน-แมคคาร์ธี' หารือเครียดเพิ่มเพดานหนี้

26 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สหรัฐฯ กำลังถูกจับตามองว่า จะบรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานการก่อหนี้ ซึ่งเป็นการเจรจาระหว่าง ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งทำเนียบขาว กับ เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก่อนกำหนดเส้นตายไม่ และสหรัฐฯ จะตามเยอรมนีเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจด้วยหรือไม่

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 คือกำหนดเส้นตายที่ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของพรรคเดโมแครต กับเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นคนของพรรครีพับลิกัน จะต้องบรรลุข้อตกลงเรื่องการปรับเพิ่มเพดานหนี้ (US debt ceiling) ของรัฐบาล ท่ามกลางเสียงเตือนว่าถ้าเกิดการผิดนัดชำระหนี้ (debt default) ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ อาจรุนแรงถึงขั้นที่ฉุดให้สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามเยอรมนี และอาจจะลุกลามกระทบกระเทือนไปทั่วโลก 

'ไบเดน-แมคคาร์ธี' หารือเครียดเพิ่มเพดานหนี้

สหรัฐฯ มีกฎหมายที่กำหนดให้มี "เพดานหนี้" เอาไว้ ซึ่งก็คือขีดจำกัดที่บ่งชี้ว่า กระทรวงการคลังในนามของรัฐบาลสหรัฐฯ สามารถก่อหนี้ได้เต็มที่เป็นจำนวนเท่าใด และเมื่อฝ่ายบริหารก่อหนี้จนเต็มเพดานที่กำหนดไว้ ก็ต้องหารือกับรัฐสภาเพื่อขยายเพดานหนี้ให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถกู้เงินมารองรับ "ค่าใช้จ่าย" ของรัฐบาลได้ ซึ่งหมายถึงว่าในสถานการณ์ล่าสุด รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มเพดานหนี้ให้สูงกว่าระดับ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน และรัฐบาลของไบเดนก็ก่อหนี้จนเต็มเพดานไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566

เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎร

คาดว่าปัจจัยที่ทำให้การเจรจาของไบเดนกับแมคคาร์ธียืดเยื้อ เป็นเพราะรีพับลิกันต้องการให้รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายลง แต่ก็คาดว่าจะไม่ปล่อยให้สถานการณ์ไปถึงขั้นนั้น เพราะก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ของ Moody's Analytics ได้วิเคราะห์ไว้ว่า ถ้ามีการผิดนัดชำระหนี้ เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะดิ่งลง ตำแหน่งงานจะหายไป 7.8 ล้าน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะพุ่งสูง อัตราการว่างงานจะเพิ่มจากระดับ 3.4% ไปถึงระดับ 8% และส่งผลกระทบต่อความมั่งคั่งของครัวเรือนที่จะหายไปเป็นมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ 

'ไบเดน-แมคคาร์ธี' หารือเครียดเพิ่มเพดานหนี้

กรณีที่เลวร้ายที่สุดถ้าเกิดการผิดนัดชำระหนี้ยาวนานเกิน 3 เดือน จะมีคนต้องตกงานมากถึง 8.3 ล้านคน, หุ้นใน Wall Steet จะหายไป 45% , เงินออม, เงินบำเหน็จและเงินบำนาญ ที่ลงทุนอยู่ในตลาดจะหายไปหมด คนทำงานจะเผชิญอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูง เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย จากราว 3% เมื่อปีที่แล้ว เป็น 6.4% 

ที่ผ่านมาผู้นำฝ่ายเมืองของสหรัฐฯ มักจะเอาตัวรอดจากการผิดนัดชำระหนี้ และปรับขึ้นเพดานหนี้ได้ทันท่วงที โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา สภาคองเกรสส์ได้ปรับแก้, ปรับขึ้นและขยายกรอบเพดานหนี้มาแล้ว 78 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือในปี 2564 

'ไบเดน-แมคคาร์ธี' หารือเครียดเพิ่มเพดานหนี้

logoline