svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ไทยสัมพันธ์แนบชิดเมียนมา เสี่ยงต่อการที่กลุ่มต่อต้านจะถูกจับในไทย

23 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย เข้าพบผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา ท่ามกลางข้อวิตกว่า ความสัมพันธ์ที่แนบชิดระหว่างไทยกับเมียนมา อาจทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ถูกไทยจับกุมแล้วส่งกลับประเทศ

นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าพบพลเอกอาวุโสมินอ่องหล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา ที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อไม่กี่วันก่อน  พร้อมหารือถึงความร่วมมือสามฝ่าย ระหว่างไทย ลาว และเมียนมา ถึงการลดผลกระทบจากปัญหามลพิษข้ามพรมแดน 

ทั้งสองฝ่ายยังหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและเสถียรภาพในพื้นที่ชายแดนของสองประเทศ การแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์  ลักลอบขนยาเสพติดและการค้าอาวุธ  ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน รวมถึงการต่อสู้กับการค้าการลงทุนที่ผิดกฎหมาย 

แต่ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างไทยกับเมียนมา ก็ทำให้ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสิทธิมนุษยชน แสดงความเป็นห่วงว่า กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในไทย อาจถูกทางการไทยจับกุมแล้วส่งตัวกลับเมียนมา  ไทยสัมพันธ์แนบชิดเมียนมา เสี่ยงต่อการที่กลุ่มต่อต้านจะถูกจับในไทย ไทยสัมพันธ์แนบชิดเมียนมา เสี่ยงต่อการที่กลุ่มต่อต้านจะถูกจับในไทย

เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ทางการไทยเพิ่งจับกุมสมาชิกกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา จำนวน 3 คน  ตรงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  โทษฐานเข้าประเทศผิดกฎหมาย   หลังจากสามคนนี้ ลอบหนีเข้ามาทางฝั่งไทยเพื่อมารักษาตัว  จากการถูกกองกำลังพิทักษ์พรมแดนของเมียนมายิงจนได้รับบาดเจ็บ 

ผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งไทย บอกว่า การที่ไทยจับสมาชิกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาส่งกลับประเทศ เหมือนเป็นการส่งสัญญาณให้เมียนมาไว้ใจว่า ถึงแม้ไทยจะช่วยเหลือเมียนมาไม่ได้มาก ในเวทีประชาคมโลก  และไทยก็ไม่ต้องการแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า เป็นเพื่อนกับเมียนมา   แต่กับสถานการณ์ตามแนวพรมแดนแล้ว ไทยพร้อมสนับสนุนกองทัพเมียนมา  ให้อาหาร หรือพยายามจับกุมกลุ่มต่อต้านส่งกลับไปให้เมียนมา  ไทยสัมพันธ์แนบชิดเมียนมา เสี่ยงต่อการที่กลุ่มต่อต้านจะถูกจับในไทย ไทยสัมพันธ์แนบชิดเมียนมา เสี่ยงต่อการที่กลุ่มต่อต้านจะถูกจับในไทย

ไทยกับเมียนมามีพรมแดนเชื่อมต่อกันยาว  2,414 กิโลเมตร ทำให้ไทยกลายเป็นจุดหมายที่คนเมียนมามักหลบหนีเข้ามา  

สหประชาชาติระบุว่า มีผู้ลี้ภัยจากเมียนมา 91,000 คน อาศัยอยู่ในไทย   แต่ในท้ายที่สุด รัฐบาลไทยก็ต้องการปิดค่ายผู้ลี้ภัยเมียนมาทั้งหมดลง 

ด้านกลุ่ม Human Rights Watch  และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ  ซึ่งเป็นรัฐบาลเงาเมียนมา ก่อตั้งโดยนักการเมืองที่ถูกขับจากอำนาจหลังการก่อรัฐประหาร ก็มองว่า การที่ไทยส่งตัวผู้ลี้ภัยเมียนมาสามคน กลับประเทศ ไม่ถือเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งไทยเคยให้สัตยาบันไว้ 
 

logoline