svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

“นาซา” เปิดตัวทีมนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ปีหน้า

04 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

องค์การ “นาซา” ของสหรัฐ เปิดตัวนักบินอวกาศ 4 คน ที่จะเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ 50 ปี และนักบินอวกาศยังประกอบด้วยบุคคลที่จะสร้างสถิติครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศอีกด้วย

รีด ไวส์แมน, วิคเตอร์ โกลเวอร์, เจเรมี แฮนเซน และคริสตินา คอช (จากซ้ายไปขวา) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) แถลงเมื่อวันจันทร์เปิดตัวนักบินอวกาศ 4 คน สำหรับภารกิจ “อาร์ทิมิส 2” ระยะเวลา 10 วัน ที่จะเป็นการเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี นับตั้งแต่โครงการ “อะพอลโล 17” ในปี 2515

โครงการ “อาร์ทิมิส” เป็นความริเริ่มของนานาชาติที่จะประจำการระยะยาวในดวงจันทร์ และภารกิจ “อาร์ทิมิส 2” ที่จะเดินทางในปี  2567 จะปูทางสู่การขยายการสำรวจอวกาศห้วงลึก และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ พาณิชย์ อุตสาหกรรม และความเป็นหุ้นส่วนทางวิชาการ

นาซา ระบุว่า  ลูกเรือ 4 คนเป็นมนุษยชาติที่ดีที่สุด ประกอบด้วย นักบินอวกาศผู้ช่ำชอง 3 คนของสหรัฐฯ ได้แก่ รีด ไวส์แมน, วิคเตอร์ โกลเวอร์ และคริสตินา แฮมม็อค คอช ซึ่งทั้งสามคนจะดินทางสู่อวกาศในโครงการ อาร์ทิมิส เป็นครั้งที่สอง และอีกคน คือ เจเรมี แฮนเซน นักบินอวกาศจากแคนาดา

“นาซา” เปิดตัวทีมนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ปีหน้า คอช เคยสร้างสถิติเป็นครั้งแรกหลายอย่าง โดยในฐานะวิศวกรการบิน เธอสร้างสถิติเป็นผู้ควบคุมการบินเที่ยวเดียวที่ยาวนานที่สุดสำหรับผู้หญิง และยังร่วมปฏิบัติงานนอกยานอวกาศที่เป็นผู้หญิงล้วนทั้งหมดเป็นครั้งแรกด้วย

โกลเวอร์จะเป็นนักบินอวกาศผิวสีคนแรกที่ได้ไปสำรวจดวงจันทร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศของสเปซเอ็กซ์ครั้งแรกเมื่อปี 2564 ในฐานะนักบินและรองผู้บัญชาการของเที่ยวบินดังกล่าว

และไวส์แมนเป็นวิศวกรการบินบนสถานีอวกาศนานาชาติ ที่ปฏิบัติงานในอวกาศนาน 165 วัน และทำงานนอกยานอวกาศนานเกือบ 13 ชม.

ส่วนเจเรมนี แฮนเซน อดีตนักบินเครื่องบินขับไล่ของกองทัพแคนาดา จะเดินทางไปอวกาศครั้งแรก และจะเป็นนักบินอวกาศแคนาดาคนแรกที่ได้ไปดวงจันทร์

นักบินอวกาศ 3 คนของสหรัฐฯ ผ่านการคัดเลือกจากนักบินอวกาศ 41 คน และแคนาดาเสนอชื่อนักบินอวกาศ 4 คนเข้าร่วมภารกิจครั้งนี้

“นาซา” เปิดตัวทีมนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ปีหน้า

ลูกเรือทั้ง 4 คน จะเดินทางเป็นระยะทางกว่า 2.2 กม. ขณะโคจรรอบดวงจันทร์ ซึ่งจะเป็นการโคจรเข้าใกล้ดวงจันทร์มากที่สุดนับตั้งภารกิจ อะพอลโล 17 แม้ภารกิจครั้งนี้จะไม่มีการเดินบนผิวดวงจันทร์ ลูกเรือทั้งหมดจะอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกเป็นระยะทางถึง 370,000 กม. ซึ่งเป็นการสำรวจอวกาศที่ไกลมากที่สุดในรอบหลายสิบปี โดยที่ผ่านมานาซาเน้นการสำรวจที่วงโคจรรอบโลกในระดับต่ำ และสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกเพียง 420 กม.

และขณะอยู่ในอวกาศ นักบินอวกาศทั้ง 4 คน จะฝึกซ้อมและทดสอบระบบพยุงชีพภายในยาน “โอเรียน” ซึ่งเป็นแคปซูลบรรทุกนักบินอวกาศ ที่สามารถใช้ซ้ำได้บางส่วน

หากภารกิจ อาร์ทิมิส 2 ประสบความสำเร็จ นาซาวางแผนภารกิจเที่ยวถัดไป ซึ่งอาจรวมถึงการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์

โครงการ อาร์ทิมิส เป็นความริเริ่มของสำนักงานอวกาศของ สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น และยุโรป และภารกิจแรกที่ไม่มีนักบินอวกาศเริ่มขึ้นเมื่อเดือน พ.ย. 2565 หลังล่าช้ากว่ากำหนดหลายเดือน และยานสำรวจประสบความสำเร็จในการบินผ่านดวงจันทร์ 2 ครั้งก่อนกลับสู่โลกลงในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย

“นาซา” เปิดตัวทีมนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ปีหน้า

logoline