svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ไทยเนื้อหอม ! ต่างชาติขนเม็ดเงินลงทุน 1.3 แสนล้าน ประเทศไหนมากสุดเช็กที่นี่

23 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พาณิชย์เผยนักลงทุนแห่จัดตั้งธุรกิจใหม่ทะลุ 8.5 หมื่นราย ทุนจดทะเบียนรวมกว่า 5.6 แสนล้านบาท ขณะที่ต่างชาติขนเม็ดเงินลงทุนไทย  1.3 แสนล้านบาท ประเทศไหนมากสุดเช็กที่นี่ 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เปิดเผยว่า การจัดตั้งธุรกิจใหม่ในปี 2566 มีจำนวนรวม 85,300 ราย เพิ่มขึ้น 8,812 ราย หรือ 12%  ซึ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี  มูลค่าทุน 562,469.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  132,640.83 ล้านบาท หรือ 31% จากปี 2565 จัดตั้ง 76,488 ราย ทุน 429,828.81 ล้านบาท

โดยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่

1.ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 6,524 ราย (7.65%) ทุน 13,236.72 ล้านบาท (2.35%)

2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 6,393 ราย (7.49%) ทุน 29,289.12 ล้านบาท (5.21%)

3. ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร จำนวน 4,001 ราย (4.69%) ทุน 8,046.23 ล้านบาท (1.43%)

4.ธุรกิจให้คำปรึกษา จำนวน 2,046 ราย (2.40%) ทุน 4,034.23 ล้านบาท (0.72%)

5. ธุรกิจตัวแทนนายหน้า จำนวน 1,943 ราย (2.28%) ทุน 6,413.98 ล้านบาท (1.14%)  

6.ธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 1,713 ราย (2.01%) ทุน 2,270.84 ล้านบาท (0.40%)

7.ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า จำนวน 1,643 ราย (1.93%) ทุน 2,693.93 ล้านบาท (0.48%) รวมถึงคนโดยสาร

8.ธุรกิจขายปลีกสินค้า จำนวน 1,484 ราย (1.74%) ทุน 2,009.29 ล้านบาท (0.36%) ในร้านค้าทั่วไป

9.ธุรกิจจัดนำเที่ยว จำนวน 1,419 ราย (1.66%) ทุน 2,702.58 ล้านบาท (0.48%)

10. ธุรกิจขายส่งสินค้าทั่วไป จำนวน 1,084 ราย (1.27%) ทุน 3,719.92 ล้านบาท (0.66%)

 

ขณะที่การเลิกประกอบธุรกิจ ปี 2566 มีจำนวน 23,380 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 1,500 ราย หรือ7% มูลค่าทุนเลิกประกอบกิจการ 160,056.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 33,008.08 ล้านบาท หรือ 26% โดยปี 2565 เลิกประกอบธุรกิจ 21,880 ราย ทุน 127,048.39 ล้านบาท

ประเภทธุรกิจที่มีการเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 2,166 ราย  เพิ่มขึ้น 154 ราย  2. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,146 ราย เพิ่มขึ้น 123 หากเทียบกับปี 65

โดยธุรกิจ 2 ประเภทนี้เป็นธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งสูง และจดทะเบียนเลิกกิจการสูงทั้งคู่ เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจที่จะมีการจัดตั้งนิติบุคคลตามการก่อสร้าง หรือโครง การอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเมื่อโครงการสำเร็จปิดตัวลงเรียบร้อย ก็จะเลิกกิจการเพื่อไม่ให้เป็นภาระในการทำบัญชีหรือส่งงบการเงินให้กับส่วนราชการ และอันดับ

3. ธุรกิจภัตตาคารร้านอาหาร เลิกประกอบธุรกิจ 699 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 76 ราย ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สอดคล้องไปทิศทางเดียวกันกับจำนวนการจัดตั้งธุรกิจในปี 2566 ที่มีธุรกิจจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร

จากข้อมูลการจดทะเบียนจัดตั้ง และการเลิกประกอบกิจการ พบว่าจำนวนการจัดตั้งธุรกิจมีการเพิ่มสูงขึ้นและมีทิศทางในทางบวกอย่างชัดเจน โดยการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการไม่ได้สูงกว่าปกติ และแตกต่างจากจำนวนในปีก่อนๆ มากนัก

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ตัวเลขการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ปี 67 อยู่ที่ 90,000-95,000 ราย เพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 10% จากปี 2566 และคาดว่าจะมีนักลงทุนชาวต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 – 1.4 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 10%

ด้านการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทยปี 66 มีจำนวน  667 ราย เงินลงทุนรวม 127,532 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 6,845 คน เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 228 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 439 ราย

10 ประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยมากสุด ประกอบด้วย
1. ญี่ปุ่น มีนักลงทุนจำนวน 137 ราย  เงินลงทุนรวม 32,148 ล้านบาท  

2. สิงคโปร์ นักลงทุน 102 ราย   เงินลงทุน 25,405 ล้านบาท  

3. สหรัฐอเมริกา นักลงทุน 101 ราย   ทุน 4,291 ล้านบาท  

4. จีน นักลงทุน 59 ราย  ทุน 16,059 ล้านบาท 

5. ฮ่องกง นักลงทุน 34 ราย  ทุน 17,325 ล้านบาท 

6.เยอรมนี นักลงทุน 26 ราย   ทุน 6,087 ล้านบาท

7. สวิตเซอร์แลนด์ นักลงทุน 23 ราย  ทุน 2,960 ล้านบาท 

8. เนเธอร์แลนด์ นักลงทุน 20 ราย ทุน 911 ล้านบาท 

9. สหราชอาณาจักร นักลงทุน 19 ราย  ทุน 433 ล้านบาท 

10. ไต้หวันนักลงทุน 18 ราย  ทุน 1,125 ล้านบาท (0.9%)

ไทยเนื้อหอม ! ต่างชาติขนเม็ดเงินลงทุน 1.3 แสนล้าน ประเทศไหนมากสุดเช็กที่นี่

ประเภทธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

1. บริการรับจ้างผลิต จำนวน 136 ราย ทุน 42,644 ล้านบาท 

 2. บริการด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 68 ราย ทุน 1,434 ล้านบาท (ให้ใช้สิทธิ์โปรแกรม แอปพลิเคชัน/พัฒนาซอฟต์แวร์  e-Commerce)

3. บริการให้คำปรึกษา จำนวน 62 ราย  ทุน 7,803 ล้านบาท แนะนำ และบริหารจัดการ

4. ค้าส่งสินค้า จำนวน 58 ราย ทุน 7,873 ล้านบาท 

5. บริการทางวิศวกรรม จำนวน 46 ราย ทุน 2,756 ล้านบาท 

6. บริการให้เช่า จำนวน 45 ราย  ทุน 16,096 ล้านบาท 
(สินค้า ที่ดิน อาคาร)

7. ค้าปลีกสินค้า จำนวน 41 ราย ทุน 1,635 ล้านบาท 

8. บริการทางการเงิน จำนวน 23 ราย  ทุน 6,805 ล้านบาท (สินเชื่อ ให้กู้ รับค้ำประกันหนี้)

9. คู่สัญญาเอกชน จำนวน 22 ราย  ทุน 689 ล้านบาท 
(ขุดเจาะปิโตรเลียมก่อสร้างโครงการ)

10. นายหน้า จำนวน 20 ราย   ทุน 1,697 ล้านบาท  

นอกจากนี้พบว่านักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 134 ราย หรือ 20% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย มูลค่าการลงทุน จำนวน 38,613 ล้านบาท  ของเงินลงทุนทั้งหมด

1. ญี่ปุ่น นักลงทุน 44 ราย  ทุน 7,053 ล้านบาท  

2. จีน นักลงทุน 30 ราย  ทุน 4,128 ล้านบาท 

3. ฮ่องกง นักลงทุน 10 ราย ทุน 14,573 ล้านบาท 

4. สิงคโปร์ นักลงทุน 8 ราย  ทุน 3,653 ล้านบาท 

5. สหรัฐอเมริกา นักลงทุน 7 ราย  ทุน 65 ล้านบาท 

6. เกาหลีใต้ นักลงทุน 7 ราย  ทุน 331 ล้านบาท

7. ไต้หวัน นักลงทุน 6 ราย  ทุน 743 ล้านบาท 

8. สวิตเซอร์แลนด์ นักลงทุน 5 ราย  ทุน 714 ล้านบาท 

9. ลักเซมเบิร์ก นักลงทุน 3 ราย  ทุน 1,453 ล้านบาท 

10. นอร์เวย์ นักลงทุน 2 ราย ทุน 376 ล้านบาท 

 

logoline