svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ลุ้นตั้งรัฐบาลใหม่หนุน "ฟันด์โฟลว์-ค่าเงิน"

12 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรุงไทยเผยปัจจัยการเมืองลากยาวกดเงินบาทผันผวน ยันจัดตั้งรัฐบาลเสร็จหนุนเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้น ชี้ดอกเบี้ยไทย 2.25% เพียงพอรับมือความไม่แน่นอนเศรษฐกิจ ด้านกรุงศรีฯมองกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้าที่ 34.80-35.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ เปิดสถิติสุกลเงินภูมิภาคอ่อนค่ายกแผง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ Nation Online ว่า ความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังวุ่นวายอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทย ซึ่งเห็นได้จากแรงขายบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่านักลง ทุนต่างชาติก็ไม่ได้กังวลมากเท่ากับช่วงก่อนหน้า ทำให้แรงขายหุ้นไทยก็เริ่มชะลอลงบ้างแล้ว

ทั้งนี้ประเมินว่านักลงทุนต่างชาติอาจรอจังหวะ ตลาดย่อตัวลงในการทยอยเข้าซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่ราย งานผลประกอบการของหุ้นใหญ่ ๆ หลายบริษัททยอยออกมา และผลประกอบการก็ถือว่าเป็นไปตามคาด หรือ ดีกว่าที่ตลาดคาด

ดังนั้นในช่วงที่สถานการณ์การเมืองไทยยังไม่ชัดเจนและมีความไม่แน่นอนอยู่ ค่าเงินบาทก็อาจยังผันผวนในกรอบ sideway และจะยังไม่กลับมาเป็นเทรนด์แข็งค่าชัดเจน จนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความชัดเจนมากขึ้น

โดยประเมินแนวโน้มเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังเฟดจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยก็มีแนวโน้มดีขึ้น ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และหากการจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จได้ในปีนี้ นักลงทุนต่างชาติก็พร้อมกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้น ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าว ทำให้เราคงเป้าเงินบาทสิ้นปีอยู่ที่ 32.35-32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ลุ้นตั้งรัฐบาลใหม่หนุน \"ฟันด์โฟลว์-ค่าเงิน\"

นอกจากนี้ปัจจุบันยังให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่ออีกครั้งของแบงก์ชาติ 45% เพื่อรอจับตาสถานการณ์การเมือง ว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จหรือไม่ และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร

ซึ่งจากการขึ้นดอกเบี้ยล่าสุดของแบงก์ชาติสู่ระดับ 2.25% นั้น  เป็นระดับที่ทำให้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง กลับมาเป็นบวกได้แล้ว โดยเฉพาะหากอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เร่งขึ้นไปมากจากคาดการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งระดับขีดความสามารถนโยบายการเงิน (policy space) ก็เพิ่มขึ้นมาพอสมควร และน่าจะเพียงพอต่อการรับมือความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในระยะถัดไป

ทั้งนี้เริ่มมีความกังวลต่อสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และเห็นความสามารถในการชำระหนี้ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ ทำให้เรามองว่า แบงก์ชาติอาจหยุดการขึ้นดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% เพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนได้

ขณะเดียวกันยังคงมุมมองเดิมว่า การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดนั้นได้จบลงไปแล้วที่ระดับ 5.25%-5.50% โดยเราประเมินว่า สัญญาณการชะลอตัวลงล่าสุดของอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ได้สะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง แม้อาจจะยังไม่เข้าใกล้เป้าหมายของเฟดก็ตาม

นอกจากนี้การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ก็ยังชี้ให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็มีการชะลอตัวลงมากขึ้น ตามผลกระทบของการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา

ซึ่งภาพดังกล่าวก็ยังสอดคล้องกับ การชะลอตัวลงต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ รวมถึงการปรับตัวลดลงของยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม และที่สำคัญ หากประเมินภาวะสินเชื่อของสหรัฐฯ

ล่าสุดจากรายงาน Senior Loan Officer Survey ในไตร มาสที่ 2 จะเห็นว่า ภาวะสินเชื่อในสหรัฐฯ มีความตึงตัวมากขึ้นชัดเจน ทำให้เรามองว่า ภาพเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง รวมถึงภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้น จะหนุนโอกาสเฟด "คงอัตราดอกเบี้ย" ในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งจะสะท้อนว่า เฟดอาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วได้จริงตามคาด

ทั้งนี้หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี PMI ยอดการจ้างงาน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้เฟดมีมุมมองที่เปลี่ยนไปต่อการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนได้เช่นกัน แต่มองว่า มีโอกาสไม่มากที่จะเห็นข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาสดใส หรือ ดีกว่าคาด

ลุ้นตั้งรัฐบาลใหม่หนุน \"ฟันด์โฟลว์-ค่าเงิน\"

น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยกับ Nation Online ว่า  ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้ากรอบการเคลื่อนไหว  34.80-35.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ติดตามข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ของสหรัฐฯ และรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดรอบล่าสุด

สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงบ่งชี้ถึงโอกาสที่เฟดจะคงดอกเบี้ยต่อไป อย่างไรก็ดี ก่อนการประชุมเดือน ก.ย. เฟดและตลาดจะรับรู้ข้อมูลเงินเฟ้อของเดือนส.ค. เพื่อประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง

ส่วนการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาคในช่วง 1 ส.ค.-11 ส.ค. พบว่าอ่อนค่าหมด โดยวอน-เกาหลีใต้อ่อนมากสุด  3.67% รองลงมาเป็นบาท-ไทย 2.52%  เปโซ-ฟิลิปปินส์ 2.42% ริงกิต-มาเลเซีย  1.72% ดอลลาร์-สิงคโปร์  1.42%   หยวน-จีน 1.19%ดอลลาร์-ไต้หวัน 1.16%รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.92% รูปี-อินเดีย 0.64%  ดอง-เวียดนาม 0.24%  โดยเดือนนี้สินทรัพย์เสี่ยงปรับฐานทั่วโลก รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในไทยที่ยืดเยื้อ

อย่างไรก็ตาม เดือนนี้ต่างชาติ ขายหุ้นไทย 7.7 พันล้านบาท และขายพันธบัตรสุทธิ 3.94 หมื่นล้านบาท โดยมีตราสารครบอายุ 1.43 หมื่นล้านบาท

ด้านทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในประเทศหลังจากผู้ว่าธนา คารแห่งประเทศไทยส่งสัญญาณคงและขึ้นดอกเบี้ยจะไม่ลดนั้น  กรณีฐานของกรุงศรี มองว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.จากนี้ไปคงดอกเบี้ย 2.25% ยาวถึงปี 67 เป็นผลมาจากเงินเฟ้อไทยต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย  โดยแนวโน้มเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกคาดสิ้นปีนี้ยังให้เงินบาท 33.50-33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยเฟด หากจะขึ้นก็ได้อีก 1 ครั้ง ซึ่งหมายความว่าใกล้สุดทางขึ้นมากแล้ว และมีโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า  ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ควรร้อนแรงหรืออ่อนแอเกินไป จึงจะส่งผลบวกต่อค่าเงินบาท กรณีอ่อนแอรุนแรงจะกระทบส่งออกของไทย โดยมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะ soft landing มากขึ้น

ลุ้นตั้งรัฐบาลใหม่หนุน \"ฟันด์โฟลว์-ค่าเงิน\"

 

logoline