svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจโลก 'ซบ' ม.หอการค้าฯ หั่นจีดีพี 2.6%

19 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ระบุ ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจหรือจีดีพีไทยปี 2567 จากเดิมคาดว่าเติบโต 3.2% เหลือโต 2.6%

อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ระบุ ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจหรือจีดีพีไทยปี 2567 จากเดิมคาดว่าเติบโต 3.2% เหลือโต 2.6% โดยยังไม่รวมผลของโครงการ Digital wallet ของรัฐบาล การลงทุนภาครัฐ -1% การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.1% การส่งออกขยายตัว 2.8% การนำเข้าขยายตัว 3.8% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 1% รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.6 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน

เศรษฐกิจโลก 'ซบ' ม.หอการค้าฯ หั่นจีดีพี 2.6%

ทั้งนี้ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 มาจากปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาดไว้เดิม โดยในรายงานฉบับล่าสุดของ IMF ได้ปรับลดปริมาณการค้าลงเหลือ 3.3% จากเดิม 3.5% โดยมีสาเหตุจากปัญหาในทะเลแดง

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวจนถึงหดตัว การเบิกจ่ายงบประมาณทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายงบลงทุนทำได้ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้เดิม

 

สำหรับสมมุติฐานในกรณีที่ดีกว่าคาดการณ์เศรษฐกิจมีโอกาสขยายตัวได้ 3.1% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างดิจิทัลวอลเล็ต ที่ให้เฉพาะกลุ่มเปราะบางจำนวน 15 ล้านคน โดยแหล่งเงินมาจากงบกลางของ พรบ.งบประมาณ 67 ส่วนกรณีที่ดีที่สุดเศรษฐกิจมีโอกาสโตได้ 3.8% โดยมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใช้แหล่งเงินจากงบกลางของ พรบ. งบประมาณ 67 และ 68 หรือ 2 ปี รวมกัน และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 26 ล้านคน

เศรษฐกิจโลก 'ซบ' ม.หอการค้าฯ หั่นจีดีพี 2.6%

สำหรับทางเลือกของเครื่องมือที่สามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนให้ GDP ปี 2567 ขยายตัวได้มากกว่า 3% ทำได้โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำซึ่งรัฐบาลสามารถตัดสินใจทำได้ทันที (หาก พรบ.งบประมาณรายจ่ายฯ มีผลบังคับใช้) แต่มีช่องว่าง (Gap) ให้ทำได้อีกไม่มากนัก ซึ่งทุกๆ 1 แสนล้านบาทของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของรัฐบาล จะมีผลทำ

ให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.52%

การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบรายจ่ายลงทุน แต่อาจจะเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เร็วขึ้นได้ไม่มากนัก โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โดยทุกๆ 1 แสนล้านบาทของการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐ จะมีผลทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.68%

 

นโยบายมาตรการการคลังผ่านเงินโอน เช่น โครงการ Digital Wallet ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้างภายในระยะเวลาสั้นๆ แต่หากต้องการให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จำเป็นต้องใช้วงเงินในขนาดที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมีกระบวนการทางกฎหมายหลายขั้นตอน ทำให้ต้องใช้เวลาในการอนุมัติค่อนข้างนาน ซึ่งทุกๆ 1 แสนล้านบาทของเงินที่โอนให้กลุ่มเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการบริโภค

(โดยไม่มีเงื่อนไข Co-payment) จะมีผลทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.26%

 

การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น มาตรการฟรีวีซ่าชั่วคราว/ถาวร ทำเกิดผลกระทบที่ยั่งยืน และในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ล้านคน จะมีผลทำให้ GDP

ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.26% รวมทั้งการเพิ่มรายจ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่อาจไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนภายในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 แสนล้านบาท จะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.56%

 

การเพิ่มรายได้จากการส่งออกสินค้า แต่อาจไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนภายในระยะเวลาสั้น ๆ โดยทุกๆ 1 แสนล้านบาทของรายได้จากการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.6%

 

นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่ยั่งยืน ยังมี Policy Space ให้ทำได้อีกไม่มากนัก และการตัดสินใจไม่ได้อยู่ในมือของรัฐบาล โดยทุกๆ 0.25% ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ปรับลดลงทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.12%

logoline