svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สศช.แนะรัฐเก็บแวตเพิ่มเป็น 10% ตุนเงินออมวัยเกษียณให้ปชช.

25 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สศช.เสนอเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 7% เป็น 10 % นำภาษีที่ปรับขึ้นมา 3% เป็นเงินออมวัยเกษียณรองรับสังคมผู้สูงอายุ ชี้อีก 10 ปีคนชราแตะ 18.38 ล้านคน  ขณะที่รายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน 41.4% มีเงินออมไม่ถึง 5 หมื่นบาท

น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐ กิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การส่งเสริมการออมเงินสำหรับผู้สูงอายุนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมามีการนำเสนอรูปแบบการออมสำหรับผู้สูงอายุหลายรูปแบบ

โดยรูปแบบหนึ่งที่มีการเสนอผ่านคณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคม และ สศช.เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดีคือการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากอัตราที่ปรับลดอยู่ 7% เป็น 10% 

ทั้งนี้ในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอีก 3% รัฐบาลอาจออกกฎหมายเฉพาะมา โดยนำเงินที่รัฐเก็บภาษีในส่วนนี้มาเป็นเงินออมของประชาชน เพื่อใช้ในวัยเกษียณ ซึ่งจะทำให้ประชาชนไทยมีเงินออมไว้ใช้สำหรับการเกษียณอายุ

ทั้งนี้ในปีนี้  2566 ไทยมีผู้สูงอายุประมาณ13.5ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนอีก10 ปีข้างหน้าหรือปี 2576 จะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสุดยอด โดยมีผู้สูงอายุประมาณ18.38 ล้านคน หรือประมาณ 28% ของประชากรทั้งหมด จากนั้นในปี 2583 ผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 20.51ล้านคน หรือคิดเป็น 31.37%ของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่าประชากรสูงอายุคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประ ชากรทั้งประเทศ

จากข้อมูลการสำรวจรายได้ผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุของไทยจำนวนมากมีรายได้ต่ำกว่ารายจ่ายและรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน โดยพบว่า 34%หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่เข้าอยู่วัยเกษียณแล้วของประเทศไทยยังคงทำงานอยู่ แต่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนโดยผู้สูงอายุกว่า 78.3% มีรายได้ต่ำกว่า 100,000บาทต่อปี ทำให้ยังต้องพึ่งพารายได้จากแหล่งอื่น

ซึ่งแหล่งรายได้ในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน 32.4% เงินจากบุตร 32.2% และเบี้ยยังชีพ 19.2% นอกจากนี้ผู้สูงอายประมาณ 41.4% มีเงินออมต่ำกว่า 50,000 บาท  โดยรายได้สำหรับการใช้จ่ายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นความท้าทายของสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยที่ต้องมีการวางแผนรองรับ

อย่างไรก็ตาม เงินออมสำหรับวัยเกษียณในปัจจุบันมีเพียงข้าราชการเท่านั้นที่เกษียณแล้วมีรายได้จากเงินบำนาญชัดเจนในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 40% ของรายได้เดือนสุดท้ายที่ได้รับ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ที่ออมเงินอยู่ในช่องทาง อื่นๆ เช่นประกันสังคม หรือกองทุนการออมแห่งชาติ ก็ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายในวัยเกษียณ

ดังนั้นเห็นว่าการขึ้นภาษีจะมีคนคัดค้าน แต่ถ้าชี้แจงรายละเอียดว่าภาษีที่ปรับขึ้น เช่น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาอีก 3% จาก 7 เป็น10% ตามที่กฎหมายให้เพดานไว้ และนำภาษีที่ปรับขึ้นมานำมาไว้ในระบบเงินออมให้กับประชาชนเพื่อให้มีเงินใช้ในวัยเกษียณ

โดยเชื่อว่าประชาชนจะยอมรับ และภาครัฐก็มีแหล่งรายได้ที่ชัดเจนว่าจะเอาเงินในส่วนไหนมาจัดสวัสดิการให้ประชาชนผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ที่ผ่านมาคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ที่มีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นประธาน ได้มีการนำเสนอประเด็นการปฏิรูป หนึ่งในนั้นถูกกำหนดอยู่ภายใต้แผนการปฏิรูปที่เป็นเรื่องๆ (Agenda base) คือ การปรับปรุงการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนทางสังคม

โดยการเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนการออมแห่งชาติ สร้างระบบให้คนไทยมีบำเหน็จบำนาญที่พอเพียง ปรับปรุงระบบสวัสดิการด้านต่าง ๆ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้วย

logoline