svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ส่งออกอาหารไทยแกร่งลุ้นทำนิวไฮ 1.5 ล้านล้าน

10 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

3 องค์กรด้านอุตสาหกรรมอาหารเผยไตรมาสแรกส่งออกสินค้าอาหารของไทยโต 10% จากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นหลังสถานการณ์โควิด คาดทั้งปีโต 2% ทำนิวไฮ 1.5 ล้านล้าน ยังต้องจับตาภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินผันผวน ต้นทุนการผลิตสูง และภัยแล้ง

รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ระบุ ไตรมาส 1 ปี 2566 การส่งออกสินค้าอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้น มีมูลค่า 3.46 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการสินค้าอาหารในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จากการที่เศรษฐกิจหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยกลุ่มสินค้าที่การส่งออกขยายตัวดี อาทิ น้ำตาลทราย ข้าว ไก่ ผลไม้สด

ส่งออกอาหารไทยแกร่งลุ้นทำนิวไฮ 1.5 ล้านล้าน

สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปีการส่งออกสินค้าอาหารจะหดตัวลงในไตรมาสที่ 2 จากฐานการส่งออกที่สูงในปีก่อน แต่จะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 หรือในครึ่งปีหลังของปี โดยช่วงครึ่งปีแรกคาดว่าจะส่งออกอยู่ที่ 7.34 แสนล้านบาท ลดลง 1% และกลับมาขยายตัวได้ 5.2% ในครึ่งปีหลัง มูลค่าส่งออก 7.65 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.1% ซึ่งหากเป็นไปตามคาดจะเป็นสถิติส่งออกสูงสุดครั้งใหม่ ของการส่งออกอาหาร

ส่งออกอาหารไทยแกร่งลุ้นทำนิวไฮ 1.5 ล้านล้าน

ส่งออกอาหารไทยแกร่งลุ้นทำนิวไฮ 1.5 ล้านล้าน

สำหรับปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากภาครัฐมีนโยบายฟื้นฟูและการเปิดประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคการเกษตร อาหาร ท่องเที่ยว บริการ การค้าและการลงทุน ความกังวลเรื่องความมั่นคงอาหารทำให้หลายประเทศและผู้บริโภคมีความต้องการสำรองอาหารเพิ่มมากขึ้น จีนเปิดประเทศและยกเลิกมาตรการ Zero-COVID ทำให้ปริมาณการค้าเพิ่มสูงขึ้น

ส่งออกอาหารไทยแกร่งลุ้นทำนิวไฮ 1.5 ล้านล้าน

ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกไม่เป็นไปตามคาดการณ์ จากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส ความผันผวนของค่าเงิน ความกังวลภาวะเศรษฐกิจและปัญหาภาคธนาคารของสหรัฐฯ กระทบกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

สำหรับข้อเสนอรัฐบาลใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ที่ถือเป็นรากฐานและเป็น Soft power ของประเทศ หากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและเกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนฐานราก ท้ายที่สุดจะช่วยยกระดับประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้สูง ภาครัฐต้องสนับสนุนภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันให้เข้าถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี แหล่งเงินทุน สร้างระบบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนภายใต้ BCG โมเดล รวมถึงผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง จากการที่ไทยมีอาหารเป็น Soft power พร้อมจัดทำแผนงานและงบประมาณสนับสนุน

logoline