svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กรมประมง แจง "ปลาหยก" จำหน่ายปลาแช่แข็งได้ ภายใต้ช่องทางที่กำหนดเท่านั้น

04 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมประมง แจงปม "ปลาหยก" ซีพี อนุญาตเพาะเลี้ยงเพื่อการวิจัย และ สามารถจำหน่ายเป็นปลาแช่แข็งได้ภายในเครือข่ายเท่านั้น พร้อมสั่งระงับการประชาสัมพันธ์ ภายใน 3 วัน

หลัง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ทำการเปิดตัว “ปลาหยก” หรือ "ปลาเก๋าหยก"  ซึ่งได้ขออนุญาตกรมประมงนำเข้าลูกปลาจากประเทศจีน เพื่อทดลองเพาะเลี้ยงที่ฟาร์มปลา ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยชูระบบการเลี้ยงที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทำการตลาดปั้นเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่  จนเกิดเป็นกระแสความสนใจของสาธารณชนต่อประเด็นการแพร่กระจายของสัตว์น้ำต่างถิ่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยในอนาคต นั้น

"ปลาหยก"  1 ใน13 สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ห้ามเพาะเลี้ยงในไทย
 

กรมประมงแจง อนุญาตเพื่อการวิจัย และ จำหน่ายเป็นปลาแช่แข็งได้ภายใต้เงื่อนไข

นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์  อธิบดีกรมประมง  เปิดเผยว่า กรณีของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้ขออนุญาต กรมประมง นำเข้าปลาเก๋าหยกเพื่อการศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงเมื่อปี 2561 ซึ่งหลังจากระยะทดลอง ได้มีการชำแหละปลาทั้งหมดเป็นเนื้อปลา เหลือเพียงพ่อแม่พันธุ์ จำนวน 40 คู่ ต่อมาบริษัทฯ ได้ขออนุญาตดำเนินการศึกษาวิจัยการเพาะพันธุ์ การเลี้ยง และ การตลาดผลิตภัณฑ์ปลา Jade perch ในระบบปิดน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิชย์ เมื่อเดือน เมษายน 2565

นายเฉลิมชัย  สุวรรณรักษ์  อธิบดีกรมประมง

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาสัตว์น้ำ เศรษฐกิจชนิดใหม่ ซึ่งกรมประมงได้อนุญาตให้ศึกษาวิจัยดังกล่าว โดยผ่านมติของคณะกรรมการด้านความหลากหลาย และ ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) ซึ่งต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กรมประมงกำหนด คือเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น 

กรมประมง แจง \"ปลาหยก\" จำหน่ายปลาแช่แข็งได้ ภายใต้ช่องทางที่กำหนดเท่านั้น

บริษัทฯ ต้องดำเนินการในพื้นที่ ที่กรมประมงอนุญาตเท่านั้น และ ห้ามเคลื่อนย้ายปลามีชีวิตออกจากบริเวณที่อนุญาตโดยเด็ดขาด ส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการทดลองเพื่อศึกษาวิจัย ด้านการตลาด กรมประมง อนุญาตให้จำหน่ายเป็นผลผลิตที่ไม่มีชีวิตเท่านั้น เช่น ปลาแช่แข็ง

ซึ่งอนุญาตให้จำหน่ายในช่องทาง ของบริษัทในเครือตามที่บริษัทเสนอแผน การศึกษามาเท่านั้น เช่น ซีพีเฟรชมาร์ท โลตัส แม็คโคร ทั้งนี้ การดำเนินการศึกษาวิจัยต้องรายงานให้กรมประมงรับทราบทุกขั้นตอน ตลอดจนต้องส่งผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์แก่กรมประมง

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า การออกข่าวประชาสัมพันธ์ของบริษัทฯ ดังกล่าว ได้ดำเนินการนอกเหนือจากกรอบโครงการวิจัย ที่บริษัทเสนอต่อกรมประมง เพื่อขอรับอนุญาต และ มีการทำประชาสัมพันธ์รวมถึงทำการตลาด โดยจำหน่ายปลาเก๋าหยก ในเชิงพาณิชย์ ก่อนที่จะรายงานให้กรมประมงทราบ 

กรมประมง แจง \"ปลาหยก\" จำหน่ายปลาแช่แข็งได้ ภายใต้ช่องทางที่กำหนดเท่านั้น

โดยขณะนี้กรมประมงได้แจ้งให้บริษัทฯ ระงับการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวภายใน 3 วัน มิฉะนั้น กรมประมงจะดำเนินการพักใช้ใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดนี้ ซึ่งหมายความว่า บริษัทฯ จะไม่สามารถดำเนินการในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปลาเก๋าหยก ได้ต่อไป  

"เอเลี่ยนสปีชีส์" ต้องห้ามนำเข้าไทย 

สำหรับ “ปลาเก๋าหยก” หรือ Jade perch มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scortum barcoo  เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย และมีการนำเข้ามาเพาะเลี้ยงเชิงเศรษฐกิจในประเทศจีนและมาเลเซีย โดยปลาเก๋าหยกจัดเป็น 1 ในสัตว์น้ำต่างถิ่น 13 ชนิด ที่ห้ามเพาะเลี้ยงในประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564  ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564  ที่ผ่านมา

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งผู้จะทำการเพาะเลี้ยงต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

logoline