svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ชาวสวนยางเฮ! เตรียมจ่ายประกันรายได้ระยะ 4 งวดแรกในเดือนก.พ.นี้

02 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บอร์ด กนย. อนุมัติวงเงิน 7.64 พันล้านบาท ประกันรายได้ยางพารา งวดเดือนต.ค. และ พ.ย. 2565 ที่แก่เกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ภายใน 30 มิ.ย. 65 คาดทยอยจ่ายงวดแรกได้ภายในเดือน ก.พ. นี้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่4 ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2566 ได้มีมติเห็นชอบกรอบวงเงิน 7.64 พันล้านบาท เพื่อประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565

จำนวน 1.6 ล้านราย พื้นที่สวนยางกรีดรวม  18 ล้านไร่  ระยะเวลาโครงการ ม.ค.- ก.ย. 2566  โดย กยท.จะเป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบกลางประจำปีงบประมาณ 2566 จากคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่าจะจ่ายเงินงวดแรกได้ภายในเดือน ก.พ.นี้ 

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

สำหรับยางพาราที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ ต้องมีอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว กำหนดราคาประกันผลผลิตยางแต่ละชนิด ดังนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาทต่อกิโลกรัม แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน 60% และคนกรีด 40% ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 2 เดือน (ต.ค. – พ.ย. 2565)

ชาวสวนยางเฮ! เตรียมจ่ายประกันรายได้ระยะ 4 งวดแรกในเดือนก.พ.นี้

สำหรับความคืบหน้า โครงการเขตส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (South Economic Corridor Rubber Innovation: SECri) จ.นครศรีธรรมราช  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการเพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการพัฒนาพื้นที่ในปีงบประมาณ 2567

โดยผลการศึกษาความเหมาะสมทางกายภาพ จะให้ใช้พื้นที่ภายใต้การกำกับดูแลของ กยท.โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือ 1) พื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและนวัตกรรมยางพารา จำนวน 3,500 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อ.ช้างกลาง และ 2) พื้นที่ส่งเสริมเกษตรกรรมสวนอย่างยั่งยืนและเกษตรกรรมสวนยางแบบผสมผสาน จำนวน 3.3 หมื่นไร่ ที่ อ.ช้างกลาง และ อ.ทุ่งใหญ่

โดยกยท. ตั้งเป้าให้โครงการนี้เป็นพื้นที่รองรับ การพัฒนายางพารา และ ส่งเสริมนวัตกรรมยางพาราตลอดจนส่งเสริมเกษตรกรรมสวน อย่างยั่งยืน และ แบบผสมผสาน สอดรับกรอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ที่เน้นอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูงที่มีการสนับสนุน ให้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านยางพารา เพื่อการใช้ประโยชน์ยางพาราครบวงจร

การสร้างโรงงานต้นแบบสำหรับการผลิตนวัตกรรมยางพารา รวมถึงส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยขณะนี้ มีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจในโครงการแล้วหลายราย ทั้งผู้ผลิตยางต้นน้ำ ผู้ผลิตปลายน้ำ (สินค้าปลายน้ำ เช่น ถุงมือยาง ยางทางเภสัชกรรและการแพทย์ พื้นรองเท้ายาง)  และ ผู้พัฒนาพื้นที่

ชาวสวนยางเฮ! เตรียมจ่ายประกันรายได้ระยะ 4 งวดแรกในเดือนก.พ.นี้

ทั้งนี้ ภายใต้กรอบระยะเวลาโครงการ 7 ปี คาดว่าจะนำไปสู่ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ถึง 6.8 แสนล้านบาท สร้างงานให้กับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้มากถึง 45,000 คน และ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางปีละไม่น้อยกว่า 16,000 บาทต่อไร่

โดยการใช้พื้นที่จะประกอบด้วย พื้นที่สำนักงานของหน่วยงานรัฐและเอกชน ศูนย์อบรม ศูนย์ชุมชน พื้นที่โรงงาน คลังสินค้า พื้นที่ต้นแบบสวนยางยั่งยืน ตลาดกลาง ที่อยู่อาศัย อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

logoline