svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียว“โครงการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน” งบ 71 ล้านบาท

26 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ฟรุ้ทบอร์ดเห็นชอบ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน” งบประมาณ 71.44 ล้านบาท โดยบูรณาการทุกหน่วยงานร่วมตรวจสอบทุเรียนก่อนส่งออก พร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟ “จีน-ลาว”รองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566

26 มกราคม 2566 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) ว่า  คณะกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ปี 2566”  

และแก้ปัญหาการสวมสิทธิ์ใช้ใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อส่งออกทุเรียน โดยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ได้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพฯ โดยมีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้วยงบประมาณ 71.44 ล้านบาท

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รวมทั้งมอบหมาย กรมส่งเสริมการเกษตรบูรณาการ ในพื้นที่สวนทุเรียนจัดตั้ง จุดบริการตรวจเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน ในพื้นที่ 5 จังหวัด รวม 68 จุด ได้แก่ จันทบุรี(40 จุด) ตราด(7 จุด) ระยอง(6จุด) ชุมพร(10 จุด) นครศรีธรรมราช (5 จุด) สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจากกรมประมงและกรมปศุสัตว์ รวม 100 ท่าน ลงพื้นที่ตรวจรายแปลง

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียว“โครงการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน” งบ 71 ล้านบาท

และกรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่ ตรวจสอบ โรงคัดบรรจุ (ล้ง) ทุเรียนที่นำมาส่งที่ล้งจะต้องมีใบรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน ก่อนจะส่งไปตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ

ส่วนการส่งออกไปยังประเทศจีนนั้น กรมวิชาการเกษตรจะตรวจสอบทุเรียน สวนทุเรียนต้องได้รับการรับรอง GAP - โรงคัดบรรจุต้องได้รับการรับรอง GMP - ผลผลิตทุเรียนต้องเป็นไปตาม มกษ 3-2556 ก่อนปิดตู้คอนเทนเนอร์ ขณะที่กรมวิชาการเกษตร จะปรับปรุงการตรวจสอบมาตรฐานGAP และ GMP และแจ้งให้ทางตลาด จีน ทราบในทุกไตรมาสของปีการส่งออก

นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ กรมส่งเสริมการเกษตร จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหารือราคาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับการตรวจรับรองมาตรฐาน GAP และ GMP เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียว“โครงการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน” งบ 71 ล้านบาท

         

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบการแก้ไขปัญหาเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย และจัดทำแนวทางหรือโครงการนำร่องการแก้ไขปัญหาผลผลิตลำไยอย่างยั่งยืนระยะยาว โดยการปรับสัดการผลิตลำไยในฤดูเป็น 60% และนอกฤดู 40% ภายในปี 2567 เพื่อให้ลำไยมีการกระจายการผลิตได้ทั้งปี ผลผลิตในฤดูไม่ซ้อนทับกันมาก

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียว“โครงการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน” งบ 71 ล้านบาท

รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟ เส้นทางรถไฟจีน – ลาว เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้นำเข้า – ส่งออกผลไม้ฤดูกาลผลิต 2566 ที่จะเริ่มทยอยออก เพื่อส่งออกไปยังไปจีนและผ่านจีนไปยังสหภาพยุโรปผ่านเส้นทางตะวันออกกลาง และเอเซียกลาง โดยด่านส่งออกที่สำคัญ เช่น ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม และด่านหนองคาย

ฟรุ้ทบอร์ด ไฟเขียว“โครงการแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อน” งบ 71 ล้านบาท

logoline