svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ย้อนรอยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ป่า ‘กุยบุรี’

13 พฤศจิกายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี พร้อมแล้ว สำหรับมณฑลพิธี ในการประกอบพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม ในวันที่ 14 พ.ย. 2559 โดยใช้ฤกษ์เวลา 14.09-14.39 น


โดยทั้งฝ่ายปกรองอำเภอกุยบุรี อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งการตั้งโต๊ะสำหรับพิธีบวงสรวงและตั้งเครื่องสังเวย รวมไปถึงการติดตั้งเต้นท์ในส่วนของบริเวณมณฑลพิธี มีการผูกผ้า รวมทั้งเก้าอี้นั่ง รวมทั้งการปรับพื้นที่บริเวณมณฑลพิธี และการติดตั้งเต้นท์รองรับประชาชนและการปรับผิวการจราจรที่จะมุ่งหน้าเข้าไปยังพื้นที่บวงสรวงและตัดไม้จันทน์หอมวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้ประกอบพิธีบวงสรวงและตัดไม้จันทน์หอม เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตามขั้นตอนวันที่ 14 พ.ย. 2559 โดยใช้ฤกษ์เวลา 14.09-14.39 น. นั้น เมื่อนายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ เดินทางไปถึงบริเวณมณฑลพิธีต้นไม้จันทน์หอมต้นที่ 15 ทำการการหลั่งน้ำเทพมนต์ พร้อมเจิมบริเวณต้นไม้จันทน์หอม ขณะที่โหรหลวงลั่นฆ้องชัยชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร ภูษามาลาไกวเฑาะว์ พร้อมหลั่งน้ำเทพมนต์เจิมขวานสำหรับใช้ตัดต้นไม้จันทน์หอม จุดเทียนเงินเทียนทอง ธูป บนโต๊ะเครื่องบวงสรวงและปักธูปบริวารที่เครื่องสังเวยทั้งหมดต่อจากนั้น ฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์อ่านประกาศบวงสรวง และไปยังบริเวณต้นไม้จันทน์หอมต้นที่ 15 ประพรหมน้ำเทพมนต์ที่ต้นไม้จันทน์หอม และใช้ขวานทองฟันที่ต้นไม้จันทน์หอมต้นที่ 15 เป็นปฐมฤกษ์ พร้อมโปรยข้าวตอกดอกไม้รอบบริเวณต้นไม้จันทน์หอม

ย้อนรอยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ป่า ‘กุยบุรี’

โหรหลวงทำการลั่นฆ้องชัยชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร ภูษามาลาไกวบัณเฑาะว์ หลังจากนั้นจึงดำเนินการตัดต้นไม้จันทน์หอมที่เหลืออีก 3 ต้นพร้อมๆกันโดยใช้ เป็นอันเสร็จพิธีโดนหลังเสร็จพิธี ในวันที่ 14 พ.ย. จะยังไม่มีการนำต้นไม้จันทน์หอมที่ตัดแล้วออกมาจากพื้นที่บริเวณมลฑลพิธีด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติแต่อย่างใดย้อนรอย ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ป่า กุยบุรี
ความอุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ผืนป่าแห่งนี้มีต้นไม้สำคัญ อย่าง ไม้จันทน์หอม กระจายอยู่เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญ ไม้จันทน์หอมจากป่ากุยบุรีแห่งนี้ ได้รับคัดเลือกให้นำไปใช้ทั้งในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รวมถึงสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกทั้งนี้ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ใช้ไม้จันทน์หอมแห่งผืนป่ากุยบุรีเช่นกันสำหรับไม้จันทน์หอม ถือเป็นไม้มีค่าหายากของประเทศไทย จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูงที่ใช้ในงานพระราชพิธีนับแต่สมัยพุทธกาลและพบประวัติการใช้ไม้จันทน์หอมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม้จันทน์หอม จัดเป็นหนึ่งในจตุชาติสุคนธ์ หรือของหอมจากธรรมชาติ 4 อย่าง ได้แก่ ไม้กฤษณา กระลำพัก ดอกไม้หอม และไม้จันทน์หอม ซึ่งการจะนำไม้ชนิดนี้มาใช้งานจะต้องเป็นไม้ยืนต้นตายตามธรรมชาติ ไม่สามารถตัดโค่นก่อนได้ เพราะจะทำให้ไม่มีกลิ่นหอมในระดับที่ใช้งานได้ รวมทั้งสิ่งสำคัญยังต้องทำพิธีขอไม้จันทน์หอมจากรุกขเทวดา โดยโหรพราหมณ์จะอ่านโองการและตัดไม้ตามฤกษ์ดี

ย้อนรอยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ป่า ‘กุยบุรี’

ลุงใจ หนองมีทรัพย์ อดีตเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในวัย 65 ปี ถึงแม้วันนี้จะพ้นจากหน้าที่การเป็นผู้ดูแลป่าแล้วก็ตาม แต่ทุกครั้งที่มีงานสำคัญในพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่ากุยบุรี ลุงใจก็มักเลือกที่จะมาช่วยงานด้วยความเต็มใจอยู่สม่ำเสมอ ยามใดเมื่อบอกให้ไปเดินป่า ยิ่งรู้สึกชอบ เพราะการเข้าป่ารู้สึกเย็น ยิ่งในช่วงที่มีการสำรวจและคัดเลือกต้นไม้จันทน์หอมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ที่ผ่านมาในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ลุงใจ ได้มีโอกาสทำหน้าที่ในช่วงเวลาสำคัญ ทั้งการเดินสำรวจและช่วยเลื่อยไม้จันทน์หอมหลังจากพิธีบวงสรวงและลงขวานทองแล้วเสร็จในช่วงที่ยังทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งต้นไม้จันทน์หอมที่นำไปใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจะต้องเป็นไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติลุงใจ ได้นำเข้าไปชมแหล่งไม้จันทน์หอม โดยเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ด้วยความที่คุ้นเคยกับผืนป่ากุยบุรีมานานหลายสิบปี ทำให้ทราบดีว่าป่าในอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้จันทน์หอมกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีที่ระบุเหมือนกันว่า ปัจจุบันนี้มีต้นไม้จันทน์หอมหลากหลายขนาด ตั้งแต่ต้นกล้าที่เพิ่งเริ่มแตกใบ ไปจนถึงต้นรุ่นๆ จนไปถึงหนุ่มสาวและขนาดใหญ่ เฉลี่ยมีอายุตั้งแต่ 1 ปีไปจนถึง 100 กว่าปีก็มี ระหว่างเส้นทางที่เข้าไปยังรายล้อมไปด้วยไม้ชนิดอื่นๆ อีกด้วย แต่สิ่งสำคัญคือ ไม้จันทน์หอมซึ่งลุงใจพาไปดูนั้น บางส่วนมีอายุเป็นร้อยปี โดยเฉลี่ยมีความสูงมากถึง 15 เมตร

ย้อนรอยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ป่า ‘กุยบุรี’

ที่สำคัญ ลุงใจ บอกด้วยว่า ต้นไม้จันทน์หอมในผืนป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเหล่านี้ ล้วนเป็นผลผลิตจากธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ซึ่งเกิดจากลูกที่ร่วงหล่นลงมาและมักเจริญเติบโตในช่วงที่มีฝนตกลงมาทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ต้นไหนตายลงก็จะมีต้นใหม่เกิดขึ้นมาทดแทนในบริเวณใกล้เคียงกัน โดยไม่จำเป็นต้องปลูกในผืนป่าบริเวณนี้ เพราะเดินไปไม่ไกลกันมากก็พบต้นไม้จันทน์หอมกระจายอยู่ทั่วไป เพียงแต่ต้นใหญ่บ้างเล็กบ้าง หรือต้นที่กำลังจะตายหรือตายตามธรรมชาติก็มีให้เห็น เพราะไม้จันทน์หอมจะเจริญเติบโตได้ดีในป่าดิบแล้งพื้นราบ จะไม่ค่อยพบบนพื้นที่ภูเขาสูงมากนัก
ขณะที่ เอกชัย วรรณดี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเพื่อนเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ที่ดูแลผืนป่าแถบนี้ ระบุว่า ผืนป่ากุยบุรีมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะไม่เคยถูกบุกรุกแผ้วถางจากน้ำมือมนุษย์ อีกทั้งยังมีการออกลาดตระเวนตรวจตราดูแลป่าอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ สิ่งที่บรรดาเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติมาโดยตลอด คือ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่รับสั่งอยู่เสมอว่า ให้ทุกคนช่วยกันรักษาป่าต้นน้ำลำธาร เพราะหากป่าหมดก็จะเกิดความแห้งแล้งตามมา ดังนั้น ความสมบูรณ์ของผืนป่ากุยบุรี มีทั้งฝายชะลอความชุ่มชื้น มีเช็กเขื่อนขนาดเล็กกระจายอยู่ในผืนป่า ทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยงและสร้างความชุ่มชื้น ทำให้ป่าไม้จันทน์หอมยังคงเจริญเติบโตถึงปัจจุบันนี้ด้าน ลุงสมชัย โฉมงาม วัย 67 ปี ราษฎรอาสาพิทักษ์ป่าของอำเภอกุยบุรี ได้เข้าไปดูสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีบวงสรวงและตัดต้นไม้จันทน์หอม ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ กล่าวว่า ผืนป่ากุยบุรีหากพูดแบบภาษาชาวบ้าน ถือเป็นผืนป่าที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นแหล่งต้นไม้จันทน์หอม ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าเป็นไม้มงคล ที่ผ่านมาไม้จันทน์หอมจากผืนป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี สำนักพระราชวังได้คัดเลือกนำไปใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ย้อนรอยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ป่า ‘กุยบุรี’

ลุงสมชัย กล่าวอีกว่า ถึงแม้ว่าเส้นทางศึกษาธรรมชาติในป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีผู้สนใจเดินทางมาเที่ยวชมและศึกษาธรรมชาติของพันธุ์ไม้อยู่แล้ว และยังเป็นสถานที่จัดทำนิทรรศการบอกเล่าถึงความเป็นมาของต้นไม้จันทน์หอม และความสำคัญของการตัดไม้จันทน์หอมแต่ละครั้งว่าถูกนำไปใช้เมื่อไหร่ ปีไหน อย่างไร และบริเวณตอไม้จันทน์หอมที่มีการตัดไปแล้วก็มีการทำเป็นอาคารไม้ทรงไทยขนาดเล็กครอบเอาไว้ เพื่อไว้เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับผู้มาเข้าชม"ที่นี่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษา ทั้งเรื่องต้นไม้จันทน์หอม และพิธีบวงสรวงการตัดต้นไม้จันทน์หอม สำหรับเด็กเยาวชน ผู้ที่สนใจและผู้คนทั่วประเทศ" ลุงสมชัย กล่าว และว่า ป่าแห่งนี้จะถูกกล่าวขานและถ่ายทอดสู่เด็กรุ่นหลังถึงตำนานไม้จันทน์หอมแห่งป่ากุยบุรี ดินแดนศักดิ์สิทธิ์

logoline