svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

มาตรการรับมือ "อีโบลา" ก่อนถึงไทย

01 สิงหาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์แพร่ระบาด เชื้อไวรัส "อีโบลา" ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ได้สร้างความกังวลให้กับนานาชาติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์ เริ่มมาตรการเตรียมรับมือ หากแพร่ระบาดมายังไทย แม้ว่าอัตราการระบาดที่จะมีความเสี่ยงต่ำมากก็ตามติดตามการเตรียมการกับ คุณ สุริยัน ปัญญาไว ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี รายงานสดจาด รพ.จุฬาฯ


สถานการณ์แพร่ระบาด เชื้อไวรัส "อีโบลา" ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ได้สร้างความกังวลให้กับนานาชาติ หลังการแพร่ระบาดมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถควบคุมได้ โดยล่าสุดกระทรวงต่างประเทศ ได้แนะคนไทยเลี่ยงการเดินทางไปยังเขตแพร่ระบาด เนื่องจากอีโบลาติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
ความพยายามในการควบคุม "เชื้อไวรัสอีโบลา" ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ในประเทศแถบแฟริกาตะวันตก คือ กินี ลิเบอเรีย ราลิโอน ถือเป็นความท้าท้ายครั้งสำคัญ เนื่องจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุด โดยตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. 2557 จนถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 1,323 ราย เสียชีวิตสูงถึง 729 ราย
สถานการณ์การแพร่ระบาดแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ได้สร้างความกังวลให้กับนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจ หลังการเสียชีวิตของ นพ.ชีค อูมาร์ คาน หัวหน้าแพทย์ในเซียร์ราลีโอนเสียชีวิต
ล่าสุดวันนี้ เมื่อ 10.00 น. ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสอีโบลา โดย นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า เชื้อไวรัส "อีโบลา" เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม "ฟิโลไวรัส" สันนิฐานว่ามีค้างคาวเป็นตัวนำ และยังพบโรคในสัตว์ตระกูลลิง ในอัฟริกา ซึ่งแม้การติดต่อมาสู่คนด้วยวิธีใดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการสัมผัสเชื้อโดยตรง จากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือสัมผัสเชื้อจากสิ่งแวดล้อม
โดยอาการจะคล้ายไข้เลือดออก มีการรั่วไหลของเลือดและน้ำเหลืองออกจากหลอดเลือด และทำให้การแข็งตัวของเลือดเสีย ทำให้เกิดภาวะเลือดออกภายในร่างกาย โรคมีระยะเวลาฟักตัวประมาณ 20 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เลือดออกภายใน ผู้ป่วยเสียชีวิต มากกว่าร้อยละ 60
สำหรับโอกาสในการแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยนั้น ยังถือว่าน้อยมาก เพราะประเทศไทยไม่ได้มีพรมแดนติดกับประเทศแพร่ระบาด และหากมีประชาชนในแอฟริกาเข้ามาในประเทศไทย ต้องมีใบรับรองว่าปราศจากการเป็นโรคไข้เหลือง ซึ่งสามารถคัดกรองการเข้าออกประเทศได้
อย่างไรก็ตาม หากแม้มีการหลุดรอดเข้ามาในประเทศไทยไทยเชื่อว่าสามารถจัดการได้ เพราะวิทยาการทางการแพทย์ของประเทศไทยดีกว่า แถบประเทศที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ และนี่คือคำยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ ว่าแม้สถานการณ์แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตกจะรุนแรงมาก แต่โอกาสแพร่ระบาดมาถึงไทยยังคงน้อย 

logoline