svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

วธ. เผยยอดสั่งซื้อผ้าไทย งาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ทะลุเป้า พร้อมเดินหน้าลุยงานจับคู่เจรจา Business Matching งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT)

15 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วธ. เผยยอดสั่งซื้อผ้าไทย งาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ทะลุเป้า 463 ล้านบาท ผู้ประกอบการพอใจการจัดงานเตรียมเดินหน้าลุยงานจับคู่เจรจา Business Matching ในทุกงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT)

     กระทรวงวัฒนธรรม ปลื้มงาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” สร้างมูลค่าเจรจาการค้าในงานพุ่งทะลุ 463 ล้านบาท เกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 200 ล้านบาท พร้อมเผยผู้ประกอบการและผู้ชมงานต่างชื่นชมจัดงาน ทั้งการจัดโซนคูหาแสดงสินค้า การนำเสนอนวัตกรรมผ้าไทย รวมถึงการผลักดันการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ

     นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า การจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ซึ่งเป็นงานแสดงและจัดจำหน่ายสุดยอดผ้าไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี โดยในปีนี้มีความพิเศษเป็นครั้งแรกที่ได้จัดให้มีกิจกรรมการจัดงานที่มีการค้าและการเจรจาธุรกิจ ในรูปแบบ B2B (Buiness to Business) ภายในงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหัตถอุตสาหกรรมผ้าไทยได้ใช้เป็นเวทีทางการค้า ขยายช่องทางการตลาด โดยกลุ่มผู้ประกอบการหลักที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการในประเทศ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ สภาอุตสาหกรรม สมาคมสตรีเพื่อสตรี สโมสรซอนต้ากรุงเทพ ห้องเสื้อผ้าไทย ร้านค้าปลีกผ้าไทยชั้นนำ และกลุ่มนักออกแบบ เป็นต้น”

วธ. เผยยอดสั่งซื้อผ้าไทย งาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ทะลุเป้า พร้อมเดินหน้าลุยงานจับคู่เจรจา Business Matching งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT)

     สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) และสมาคมส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมอาเซียน (AHPADA) จัดกิจกรรม “Thai Traditional Textiles Hybrid Presentation” เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น ซึ่งเป็นกิจกรรมการเจรจาธุรกิจกับกลุ่มเป้าหมายในต่างประเทศในรูปแบบออนไลน์ โดยมีองค์กรและผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงการหัตถรรมโลกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวมากมาย อาทิ ผู้แทนจากสภาหัตถกรรมโลกภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (World Craft Council Asia Pacific Region), กรรมการบริหารจากสภาหัตถกรรมกรุงเดลี ประเทศอินเดีย Delhi Crafts Council, ประธานจาก Craft Revival Trust รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและกลุ่มนักออกแบบจากประเทศต่างๆ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น”

     “ในภาพรวมของการเจรจาการค้าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย เกิดการเจรจาการค้า 347 คู่ มีเงินสะพัดจากคาดการณ์ซื้อขายภายใน 1 ปีกว่า 463 ล้านบาท ในมูลค่านี้มียอดซื้อขายทันทีภายในกว่า 9 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นทั้งนักธุรกิจไทยและต่างประเทศ โดยมีสินค้าที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ เป็นต้น นอกจากนี้ในคู่เจรจาได้มีการเซ็นสัญญาออเดอร์สินค้าภายในงาน รวมถึงได้มีการนัดหมายเพื่อตรวจดูแหล่งผลิตสินค้าอีกด้วย”

วธ. เผยยอดสั่งซื้อผ้าไทย งาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ทะลุเป้า พร้อมเดินหน้าลุยงานจับคู่เจรจา Business Matching งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT)

     ทั้งนี้ จากการหารือกับกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ได้รับคำแนะนำว่าสินค้าอุตสหกรรมผ้าไทยกำลังเป็นที่จับตามองจากตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ที่หาได้ยากเป็นงานฝีมือที่มีคุณค่า ซึ่งภาคเอกชนมีความสนใจและต้องการที่จะซื้อสินค้าหัตถอุตสหกรรมผ้าไทยเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ภาครัฐส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในด้านพื้นฐานการตลาดมากขึ้น เช่น เรื่องการตั้งราคาขายส่ง การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเรื่องของการผลิต เป็นต้น

วธ. เผยยอดสั่งซื้อผ้าไทย งาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” ทะลุเป้า พร้อมเดินหน้าลุยงานจับคู่เจรจา Business Matching งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT)

     งานแสดงและจัดจำหน่ายสุดยอดผ้าไทย งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” เป็นอีกหนึ่งงานในการปรับบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมสู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นพัฒนายกระดับสินค้าผ้าไทยสู่หัตถอุตสาหกรรมผ้าไทย กระทรวงฯ มั่นใจว่างานนี้จะช่วยปูทางสร้างเวทีให้กับผู้ประกอบการหัตถอุตสาหกรรมผ้าไทย  สนับสนุนงานผ้าไทยท้องถิ่นเพื่อคงไว้ซึ่งมรดกแห่งหัตถศิลป์ไทยที่งดงามพร้อมทั้งสร้างรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชน  อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ทั้งยังดำรงไว้ซึ่งเอกอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป”

logoline