svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59

08 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดเอกสารการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี ปี 2561 พบมีการวางแผนธุรกิจทำสื่อต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 59 แม้อยู่ระหว่างพิพาทกับ สปน.ที่ยกเลิกสัญญา แต่กลับสวนทางกับข้อสรุป "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หลังอ้างสถานะสื่อสิ้นสุดเมื่อวันที่ 7 มี.ค.50 และมีคนจ้องทำให้ฟื้นขึ้นมาในปี 65

เส้นทาง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่วาดหวังจะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย หลังชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ในการเลือกตั้ง แต่ภายใต้การตกลงร่วมมือกันของ 8 พรรคการเมือง เกิดความไม่แน่นอนอีกมาก แม้จะผ่านระยะเวลามาเกือบสามสัปดาห์ อุปสรรคใหญ่ที่จะหยุดฉุดรั้ง นายพิธา จนไม่สามารถขึ้นไปสู่เก้าอี้สูงสุดของฝ่ายบริหารทางการเมือง หรือ นายกรัฐมนตรี ในขณะนี้ คือ ปัญหาการถือครองหุ้นสื่อ ซึ่งเป็นการขัดต่อคุณสมบัติการเป็น ส.ส.  

โดยมีการร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งให้ตรวจสอบ การถือครองหุ้นไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้น ว่าเป็นการขัดการข้อกำหนดการเป็นส.ส.หรือไม่ ซึ่งขณะนี้กระบวนการ การตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ยังอยู่ในขั้นตอนของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำลังสรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งว่า มีมูลหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป 

เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59
 

จากข้อมูลตามที่มีการเปิดเผยของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 พ.ค.66 ในฐานะผู้ร้อง ทำให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ออกมาตอบข้อสงสัยผ่านสื่อ มาโดยตลอดว่า การถือหุ้นดังกล่าว เป็นการถือในฐานะผู้จัดการมรดก หลังจากที่บิดาได้เสียชีวิตลง และ ได้หารือกับ กกต.และทีมกฎหมายของพรรคแล้วว่า ไม่น่ามีปัญหา สามารถชี้แจ้งในเรื่องดังกล่าวได้ และหลังจากผ่านการเลือกตั้งนายพิธา ได้มีการโอนหุ้นให้กับบุคคลในครอบครัวไปแล้ว

พร้อมชี้แจงผ่านสื่อโซเชียลสรุปใจความได้ว่า โอนหุ้นไอทีวี ให้ทายาทคนอื่นแล้ว ไม่ได้หนีความผิด พร้อมแจงย้ำว่า ไอทีวี ไม่ได้ทำกิจการสื่อ หุ้นแทบไม่มีมูลค่า มีความพยายามฟื้นให้ไอทีวีกลับมาเป็นสื่อ หวังเล่นงาน ทั้งยังระบุชัดว่า ตัวเองมีคุณสมบัติครบลงส.ส. เป็นแคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกลได้ พร้อมเดินหน้าทำภารกิจตั้งรัฐบาลเปลี่ยนประเทศต่อไป

ประเด็นปัญหาของกรณีการถือหุ้น ไอทีวี จึงมีประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างน้อย 2 ประเด็นคือ ไอทีวี ยังเป็นสื่ออยู่หรือไม่  และ การถือหุ้นของนายพิธาก่อนโอนให้ทายาทคนอื่น ถือในฐานะอะไร ซึ่งหาก 2 ประเด็นพื้นฐานชัดเจน จะทำให้ประเด็นที่มีข้อสงสัยว่า จะเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์ตามที่มีการร้องต่อ กกต.เป็นไปในทิศทางใด จะส่งต่อให้ ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาต่ออย่างไรหรือไม่ 

ไอทีวี ยังเป็นสื่อหรือไม่ : ประเด็นนี้ ในส่วนของผู้ร้องได้ยืนยันสนับสนุนโดยใช้หลักฐาน ตามรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 มีการสอบถามว่า บริษัท ไอทีวี มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ โดยทางบริษัทได้ตอบในที่ประชุมว่า ปัจจุบันบริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ 

ซึ่งประเด็นดังกล่าว นายพิธา ได้แสดงความเห็นในเชิงโต้แย้งว่า ผมพร้อมสู้กับความพยายามคืนชีพ ไอทีวี เพื่อสกัดกั้นพวกเรา ตามที่ทราบกันดีว่า ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2550 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ต่อบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ITV) ส่งผลให้สัญญาร่วมงานฯ สิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ ไอทีวี ไม่สามารถใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ได้นับแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน...

กรณีดังกล่าวยังคงเป็นข้อพิพาทเรียกร้องค่าเสียหายระหว่าง ไอทีวี กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จากการบอกเลิกสัญญาพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด...

เห็นได้ว่า นับแต่ ไอทีวี ถูกยกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ส่งผลให้ ไอทีวี ไม่สามารถใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม สถานะความเป็นสื่อมวลชนจึงสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2550 นับแต่นั้นมา"

แต่การชี้แจงของนายพิธา พยายามสรุปว่า เมื่อ ไอทีวีถูกบอกเลิกสัญญาจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) เมื่อ 7 มี.ค. 50 แม้มีข้อพิพาทอยู่แต่  สถานะความเป็นสื่อมวลชน สิ้นสุดลงแล้ว 

เป็นที่น่าสนใจว่า สถานะความเป็นสื่อของไอทีวี สิ้นสุดลงตามที่นายพิธาสรุปหรือไม่ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า ไอทีวี จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ชัดเจนข้อหนึ่งก็คือ ทำสื่อ การต่อสู้กับ สปน. เพราะเห็นว่า การบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม  เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่า ไอทีวี ยังรักษาสิทธิ พยายามจะดำเนินการต่อในฐานะสื่อต่อไป แต่ไม่สามารถทำได้เพราะถูกยกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม

โดย ไอทีวี ต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมมาตั้งแต่ต้น และ กำลังจะมีคำวินิจัยของ ศาลปกครองสูงสุด ภายในเดือน มิ.ย.66 นี้ ตามรายงานข่าว ก่อนหน้านี้ ไอทีวีชนะในการต่อสู้ในชั้น ศาลปกครองกลางมาแล้ว  หากในชั้นศาลปกครองสูงสุดชนะคดีพิพาทนั้นหมายถึง ไอทีวียังกลับไปทำรายงานโทรทัศน์ตามที่เคยดำเนินการมาก่อนหน้านั้นตามสัญญาเดิมได้อีกครั้ง  ดังนั้นความเป็นสื่อ จึงไม่น่าจะสิ้นสุดไปตามคำบอกเลิกสัญญา ของ สปน. 

สำหรับประเด็นที่มองว่า เป็นความพยายามจะฟื้นสถานะสื่อขึ้นมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยการปรับเปลี่ยนการรายงานงบการเงินเมื่อปี 2565 นั้น Post today ได้ตรวจสอบย้อนหลังไปพบว่าในรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 พบว่า ในวาระที่ 8.3 รายงานผลการพิจารณาเพื่อการลงทุนและหาทางเลือกในการดำเนินกิจการของบริษัทต่อไป มีการประชุมเพื่อวางแผนการลงทุนในฐานะสื่อมาตั้งแต่ ปี 2559 ตามรายละเอียดดังนี้

เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59
เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59
เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59
เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59
เปิดเอกสารจับผิด! พิธา มีพิรุธแอบวางแผนทำธุรกิจสื่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 59

รายงานผลการประชุมของ ไอทีวี เป็นการตอกย้ำตามข้อสรุปของ ประพันธุ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภาที่ให้ความเห็นไว้เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.66 ที่ผ่านมาอย่างน่าสนใจว่า "เรื่องคนจงใจฟื้นกิจการไอทีวีมาเล่นงานคุณพิธา ยิ่งไม่มีเหตุผลฟังไม่ขึ้น ไอทีวี เขาต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิในใบอนุญาตประกอบการธุรกิจสื่อโทรทัศน์มาตั้งแต่ปี 2550 ตั้งแต่พรรคของคุณพิธายังไม่เกิด จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะสร้างเรื่องเล่นงานคุณ และคดีทำนองนี้ ก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว"

logoline