svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดปัจจัยส่งพรรคการเมืองมีโอกาสตั้งรัฐบาลหลัง"เลือกตั้ง 66" (คลิป)

04 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แน่นอนว่าพรรคการเมืองใดจะได้เข้ามาบริหารประเทศ ส่วนหนึ่งก็มาจากนโยบายที่ตอบโจทย์และโดนใจประชาชน ทว่า เหนือไปกว่านั้น คือ ตัวบุคคลในนามแคนดิเดตนายกฯ กับโอกาสที่จะได้เป็นรัฐบาล คืออีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการเลือกตั้ง 66

โดย "ดร.สติธร ธนานิธิโชติ" ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ได้ฉายมุมมองการเลือกตั้ง 66 ผ่านรายการพิเศษ "สแกนบ้านใหญ่" ทาง "เนชั่นทีวี" โดยเฉพาะนโยบายของพรรคการเมือง ถ้าสัญญาแล้วทำไม่ได้ ถ้าเอาผิดแบบเข้มงวด ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันการดำเนินการไม่เข้มงวดมากนัก มีช่องว่างอยู่เหมือนกัน  

 

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

 

"วันนี้พรรคการเมืองบอกว่าจะทำ เช่น ค่าแรง 500 บาท เมื่อปี 62 แต่พอเป็นรัฐบาลที่ไม่ใช่รัฐบาลพรรคเดียว แล้วบอกว่าถ้าเป็นรัฐบาลพรรคเดียวเขาก็ทำได้"

 

ทั้งนี้ แต่พอไปฟอร์มรัฐบาล พรรคร่วมบอกว่านโยบายนี้อย่าเพิ่งเลย เขาก็ไม่เอานโยบายนี้ไปบรรจุไว้ ตอนที่ไปแถลงที่รัฐสภา ก็มีทางออกให้เขา ตอนหาเสียงก็หาไป แล้วบอกว่าฉันจะเป็นรัฐบาลของฉันคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยว จึงเป็นไปไม่ได้

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องบอกประชาชน ยุคปัจจุบันก็ยิ่งยาก ยังไงก็ต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะฉะนั้น ที่เสนอต้องฟังหูไว้หู อย่าเพิ่งไปเชื่อเสียทีเดียว

 

ชมคลิป >>> สแกนบ้านใหญ่ ตระกูลการเมือง

 

 

 

 

ดร.สติธร ยังอธิบายถึง 3 ปัจจัยหลัก ที่ทำให้ประชาชนเลือกตัวแทนพรรคการเมือง เพราะหวังให้เป็นตัวแทนของตัวเอง จัดตั้งรัฐบาลในการเลือกตั้ง 66 คือ  

 

1.ในเมื่อแข่งกันที่เขต ผู้สมัครที่เขตเลือกตั้ง ประชาชนต้องดูอยู่แล้ว ชอบไม่ชอบ โอเค ไม่โอเค

 

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

 

2.พรรคการเมืองที่คนนี้เขาสังกัด บางทีชอบคน แต่ไม่ชอบพรรค ก็ไม่เลือก แล้วความเป็นพรรค ไม่ได้มีแต่ชื่อ ต้องมีอะไรโดดเด่นมา เช่น บางพรรคด้านนโยบายต่างประเทศ หรือลดแลกแจกแถม บอกแล้วทำได้

 

"พรรคประเภทขายอุดมการณ์ความคิด ความเชื่อ จะเปลี่ยนโน้นเปลี่ยนนี่ อันนี้จะพ่วงไปด้วยกัน ความชอบ ไม่ชอบ จะเป็นแพ็กเกจ เช่น พรรคนี้เคยทำสิ่งนี้ได้ ประชาชนอยากได้กลับมาอีก ทั้งที่ผู้สมัครเป็นใครก็ไม่รู้ แต่จะเลือก หรือพรรคไหนก็ไม่สน แต่ชอบคนนี้ก็จะเลือก"



 

3.เรื่องนี้มีมานานแล้ว แต่ถูกตอกย้ำกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้มีผล คือ ตัวแคนดิเดตนายกฯ ต้องบอกว่า สำคัญมากยิ่งดูพฤติกรรมการลงคะแนนของคนไทยหลังยุคปี 2540 เป็นต้นมา คนอยากเลือกพรรคที่เป็นรัฐบาล ไม่ว่ากาที่ตัวคนหรือที่ตัวพรรค สุดท้ายแล้วก็อยากให้คนที่เลือกเป็นรัฐบาล

 

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

 

"เลือกไปแล้วหวังให้พรรคที่เลือกได้เป็นรัฐบาล เลือกไปแล้วได้ใครเป็นนายกฯ จึงมีความสำคัญ"



 

logoline