svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"มท." เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เน้นบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชน

09 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"มหาดไทย" เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เพื่อบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ด้านปลัด มท. เผย UFDA รายงานไทยได้รับผลกระทบน้ำท่วม น้ำแล้ง อันดับที่ 2 ของโลก ในรอบ 10 ปี มีความสูญเสีย มากกว่า 1.44 ล้านล้าน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมชี้แจงและให้ความรู้การจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – Social Map) โดยได้รับเมตตาจาก พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมประชุม

\"มท.\" เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เน้นบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชน

โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายปรีชา เดชพันธ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง คณะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ร่วมประชุม โดยเป็นการประชุมผ่านระบบ Video Conference และ DOPA Channel ร่วมกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด และนายอำเภอ ทั่วประเทศ

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมเพื่อยืนยันถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของชาวมหาดไทยและภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน ในการร่วมกันสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

\"มท.\" เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เน้นบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชน

โดยมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมดังพระบรมราชโองการ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในหลายมิติด้วยกัน เฉกเช่นที่พวกเราพยายามกระตุ้นปลุกเร้า ส่งเสริมให้นายอำเภอ และทีมอำเภอ ได้เป็น Change Agent ตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

จึงเป็นเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า พวกเราทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงานด้วยการบูรณาการความร่วมไม้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อจะยังประโยชน์สุขไปสู่พี่น้องประชาชนโดยรวม สมดังเจตนารมณ์ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทำให้ประชาชนมีความสุข ประเทศชาติมีความมั่นคง และที่สำคัญที่สุด “ต้องยั่งยืน”

จากการรายงานของ UFDA รายงานเมื่อ กพ 63 ประเทศไทย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจกิจ และพี่น้องประชาชน ในรอบ 10 ปี อยู่ที่อันดับ 2 จาก 150 กว่าประเทศ เนื่องจากภัยน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ได้มีความห่วงใยและดำเนินการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยการอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือกรอบวงเงินเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งก็ยังไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากภัยแล้ง และภัยอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้พืชพรรณผลผลิตทางการเกษตรได้รับผลกระทบ

นายสุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า การจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – Social Map) จะช่วยนำเราไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติภารกิจเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ สิ่งที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงนั้น ก็เพราะว่าการใช้ชีวิตของพวกเราตั้งแต่บรรพบุรุษ อาจจะเผลอกระทำ หรือตั้งใจกระทำ โดยที่ไม่ได้เจตนาหรือคิดว่าจะกลายเป็นสิ่งผิด เช่น เราปล่อยปะละเลยในการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำคูคลอง ไม่ปลูกสร้างสิ่งรุกล้ำทางน้ำ ไม่ทำสิ่งที่กีดขวางทางน้ำ 

\"มท.\" เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เน้นบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชน

เพราะเจตนาอยากทำให้พี่น้องประชาชนมีความสะดวกในการเดินทางสัญจรด้วยการสร้างถนน ซึ่งถนนบางสายก็ไม่ได้มีระดับสูงกว่าแม่น้ำ เท่านั้น แต่ก็ยังมีระดับสูงกว่าหลังคาบ้านเรือนประชาชนด้วย นั้นเป็นสิ่งที่เราทำให้เกิดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพราะเป็นถนนที่เราสร้างข้ามลำห้วยลำคลองข้ามแม่น้ำสายเล็ก ๆ เราไม่ได้ทำให้พื้นที่ใต้ถนนให้มันมีทางที่น้ำจะสามารถไหลผ่านได้โดยสะดวก หรือในบางพื้นที่ ประชาชนก็ไปสร้างบ้านริมถนนไปถมดินเชื่อมถนนทับทางน้ำและไม่ได้ใส่ท่อระบายน้ำ

ซึ่งพวกเขาก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะเขาไม่รู้ เฉกเช่นเดียวกับผลกระทบของแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มุ่งยกระดับการพัฒนา โดยไปส่งผลกระทบทำให้ชาวไร่ชาวนาไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สูญเสียที่ดินทำไร่ทำนาที่ตกทอดมา หรือมีผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา ซึ่งก็เป็นความไม่เจตนา จึงถึงเวลาที่พวกเราต้องช่วยหาแนวทางในการ “แก้ไขในสิ่งที่ผิด” มุ่งมั่นตั้งใจเป็นข้าราชการที่ดีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยอมรับว่าประเทศไทยก็ยังมีสิ่งที่ผิดอยู่ จึงต้องร่วมกันขับเคลื่อนในการแก้ไขสิ่งที่ผิดนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

\"มท.\" เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เน้นบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชน

โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กระตุ้นปลุกเร้าและทำให้ “ทีมอำเภอ” ตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนที่ได้ผ่านการอบรมไปแล้วกว่า 432 อำเภอ เร่งบูรณาการคน บูรณาการงาน และไม่บ่ายเบี่ยงเกี่ยงว่ามีงานใหม่เข้ามา เพราะงานที่เรากำลังทำนี้ ทีมงานอำเภอที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีต้องผนวกกับเทคโนแครต

ซึ่งเป็นทีมงาน Extra Team รวมทั้งขยายผลจัดตั้งทีมเพิ่มขึ้นในหมู่บ้าน ทั้งการอาศัยผู้นำจากคุ้มต่าง ๆ สร้างให้เกิด Partnership ตามข้อที่ 17 ของ UN SDGs คือ การวางระบบให้เกิดความร่วมมือระหว่างคนที่มีกลุ่มบ้านเดียวกัน มาเป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตรในการขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ด้วยกัน อันมีนัยสำคัญว่า ชาวมหาดไทยจะบรรลุเป้าหมายการมี Geo – Social Map Partnership ร่วมกับเทคโนแครต คือ บุคลากรของกรมโยธาธิการและผังเมือง ท่านโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด วิศวกร สถาปนิก และนายช่าง เป็นต้น

\"มท.\" เดินหน้าขับเคลื่อนผังภูมิสังคม เน้นบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน-ชุมชน

ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอต้องออกแรงช่วยกันกับคนในพื้นที่ หัวหน้าช่างในพื้นที่ ช่างที่อยู่ในท้องถิ่นท้องที่ต่าง ๆ จึงจะเห็นได้ว่า จากเดิมเรามี 7 ภาคี ตอนนี้เพิ่มเป็น 8 ภาคีเครือข่าย เป็น extra ขึ้นมา อันจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด คือ ทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยฐานข้อมูลที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความสุขของพี่น้องประชาชนทุกคนอย่างยั่งยืน

logoline