svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ผบ.ทบ. เปิด"กำแพงแห่งความระลึกถึง" อุทิศแก่กำลังพลที่สละชีพปกป้องอธิปไตย

09 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กองทัพบก สร้างกำแพงแห่งความระลึกถึง (Memorial Wall) อุทิศให้กำลังพลที่เสียสละเลือดเนื้อในการรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน

9 มกราคม 2565 พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี 2566 โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร 40 รูป ณ บริเวณลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.5 กองทัพบก 

จากนั้นเวลา 07.19 น. ผู้บัญชาการทหารบก และกำลังพลของกองทัพบก ร่วมพิธีทำบุญกำแพงแห่งความระลึกถึง  (Memorial Wall) และพิธีรำลึกถึงเหล่าทหารและอาสาสมัครผู้สละชีพเพื่อชาติ บริเวณระหว่างอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบก เฉลิมพระเกียรติ กับอาคาร 1 โดยมีการวางพวงมาลาและไว้อาลัยแก่เหล่าทหารและอาสาสมัครผู้เสียสละ  มีกองทหารเกียรติยศ จากกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 แสดงการเคารพดวงวิญญาณเหล่าทหารฯ 

ผบ.ทบ. เปิด\"กำแพงแห่งความระลึกถึง\" อุทิศแก่กำลังพลที่สละชีพปกป้องอธิปไตย

“เหล่าทหารหาญได้สืบสานอุดมการณ์ด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า เข้าต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างองอาจกล้าหาญ เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตย แม้นว่าชีวิตและร่างกายจะดับสูญ เพียงแต่ขอให้อนุชนรุ่นหลังยังคงสามารถดำรงชีวิตบนผืนแผ่นดินมาตุภูมิได้อย่างภาคภูมิ จึงเป็นการสมควรที่จะจารึกนาม และวีรกรรมของทหารกล้าผู้มีคุณูปการนี้ไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยและบนกำแพงแห่งความระลึกถึง แห่งนี้ ปวงข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมสักการะดวงวิญญาณทหารหาญแห่งกองทัพบก ด้วยพวงมาลาและรำลึกในความเสียสละความกล้าหาญอย่างที่สุด ทั้งผู้ที่ถูกจารึกนาม และผู้ที่เสียสละอย่างผู้ที่ปิดทองหลังพระโดยไม่ได้จารึกนามไว้ ที่ได้มอบชีวิตอุทิศเพื่อแผ่นดินไทย ขอให้ดวงวิญญาณทหารกล้าแห่งกองทัพบก จงสถิตเสถียรในทิพยพิมานสถานอย่างสงบสุขนิรันดร์กาลเทอญ”

ผบ.ทบ. เปิด\"กำแพงแห่งความระลึกถึง\" อุทิศแก่กำลังพลที่สละชีพปกป้องอธิปไตย

 

 

สำหรับกำแพงแห่งความระลึกถึง (Memorial Wall) ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจารึกชื่อทหารบกที่สละชีพเพื่อชาติไว้ในกองทัพบก เพราะปกติแล้วจะมีแค่ที่อนุสรณ์สถานดอนเมือง ที่จารึกชื่อทหารทุกเหล่าทัพ โดยเป็นตามไอเดียของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ที่อนุมัติให้ก่อสร้าง เพื่อต่อยอดจากพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของกำแพงแห่งความระลึกถึงมาจากแนวความคิดเรื่องจักรนารายณ์  

โดยเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพบกเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเส้นโค้งของตัวจักร และใบจักรเปรียบเป็นป้ายรายนามกำลังพลของกองทัพบก ที่สละชีพปฏิบัติภารกิจนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งทหารประจำการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การป้องกันประเทศการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และการรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

ผบ.ทบ. เปิด\"กำแพงแห่งความระลึกถึง\" อุทิศแก่กำลังพลที่สละชีพปกป้องอธิปไตย

กำแพงแห่งความระลึกถึง จึงเป็นพื้นที่ที่นำเสนอการปฏิบัติภารกิจทางทหารของกองทัพบก และสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่กำลังพลกองทัพบกที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตในการรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ อีกทั้งกำแพงแห่งความระลึกถึง ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในวาระสำคัญต่างๆ เพื่อสดุดีกำลังพลกองทัพบกผู้สละชีพเพื่อชาติ เช่น พิธีทางศาสนาและพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันกองทัพบก เป็นต้น

ในขณะที่ด้านหลังของกำแพงแห่งความระลึกถึง ยังออกแบบเป็นสวนและน้ำพุโดยรอบ เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม สร้างบรรยากาศให้เกิดความร่มรื่นเหมาะสำหรับเป็นสถานที่สันทนาการ เพื่อพักผ่อนและออกกำลังกายของกำลังพลกองทัพบก

อย่างไรก็ตาม เป็นที่สังเกตว่า รายชื่อทหารที่เข้ารักษาความสงบ (กระชับพิ้นที่เสื้อแดง) ไม่ปรากฏชื่อของ “เสธ.แดง” พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล แม่ทัพคนเสื้อแดง

 

ผบ.ทบ. เปิด\"กำแพงแห่งความระลึกถึง\" อุทิศแก่กำลังพลที่สละชีพปกป้องอธิปไตย

 

ผบ.ทบ. เปิด\"กำแพงแห่งความระลึกถึง\" อุทิศแก่กำลังพลที่สละชีพปกป้องอธิปไตย
 

logoline