svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"เลือกตั้ง 66" เปิดไทม์ไลน์ หลังนายกฯเตรียมประกาศ"ยุบสภา"ต้นเดือนมี.ค.66

21 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทันทีที่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ใหัสัมภาษณ์ จะมีการ " ยุบสภา" ต้นเดือนมี.ค. พร้อมกับยอมรับว่า กำหนดการเลือกตั้ง น่าเป็นไปตามที่กกต.เคยกำหนด 7 พ.ค.66 ทำให้เห็นภาพ ไทมไลน์"เลือกตั้ง66" ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

"ผมได้แจ้งที่ประชุมครม.ไปแล้วว่ากำหนดการยุบสภา เป็นภายในเดือนมีนาคม ส่วนกำหนดวันเลือกตั้งในปัจจุบันก็เป็นไปตามที่กกต. ประกาศไว้ 7 พ.ค.66  ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถาม กำหนดยุบสภาประมาณต้นเดือนมี.ค.หรือไม่ นายกฯตอบว่า ก็ประมาณนั้นหล่ะ"

พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมครม. เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2566 

 

ไทม์ไลน์การเลือกตั้งมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ "พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านสื่อทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2566  จะประกาศ"ยุบสภา"ต้นเดือนมี.ค."

 

"การเลือกตั้ง 66" นับจากนี้เป็นการเลือกตั้งภายใต้กฎกติกาใหม่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข  ดังนั้นการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปี 2566 จึงมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มากพอสมควร

 

แตกต่างอย่างไรบ้าง!!!! 

 

"การเลือกตั้ง66" ได้มีการออกแบบกฎกติกาการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบเขต 400 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน แตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562  มีส.ส.ระบบเขต 350 คน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 150 คน 

 

\"เลือกตั้ง 66\" เปิดไทม์ไลน์ หลังนายกฯเตรียมประกาศ\"ยุบสภา\"ต้นเดือนมี.ค.66

 

แตกต่างในแง่ที่ว่า "การเลือกตั้ง 66" เป็นการกำหนดบัตรเลือกตั้งสองใบ เลือกเบอร์ที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ  ขณะที่การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เป็นการกาบัตรใบเดียวตอบโจทย์ทั้งหมด ในลักษณะ 3 in 1 เลือกส.ส.เขต ,ได้เลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ และ ว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองเสนอ  โดยครั้งนั้นคะแนนที่เลือกจะถูกนำไปคิดรวมเป็นคะแนนของพรรคให้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่เคยเรียกกันว่า "ส.ส.พึงมี"

 

แต่"เลือกตั้ง 66" ให้ล้างความคิดนี้ออกไป เพราะเราต้องลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งสองใบ ใบหนึ่งเลือกส.ส.เขต ส่วนใบที่สองเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ โดยคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับจากประชาชนทั้งประเทศ ก็จะนำไปคิดคำนวณเพื่อจัดสรรที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อตามสัดส่วนต่อไป ( ตามกันต่อ :แตกต่างในเชิงคำนวณ)

 

แตกต่างต่อไป  คือ"สูตรคำนวณส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ" อย่างที่กล่าวข้างต้น ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562  แบ่งเป็น ส.ส.เขต 350 คน ปาร์ตี้ลิสต์ 150 คน  ซึ่งวิธีคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์นั้น  นักเลือกตั้งยังจดจำได้ดีถึงวิธีการคำนวณส.ส.พึงมี มีการคิดคำนวณสลับซับซ้อนจนแผ่อานิสงส์ให้พรรคการเมืองขนาดเล็กคว้าที่นั่งส.ส.เข้าสภา ที่เรียกกันว่าคะแนนตกน้ำก็ยังนำมาคิด 

 

\"เลือกตั้ง 66\" เปิดไทม์ไลน์ หลังนายกฯเตรียมประกาศ\"ยุบสภา\"ต้นเดือนมี.ค.66

 

แต่สำหรับ"การเลือกตั้ง66"  แบ่งเป็นส.ส.เขต 400 คน  บัตรใบที่สองเป็นปาร์ตี้ลิสต์ 100 คน  โดยสูตรคำนวณที่จะนำมาใช้ในบัตรใบที่สอง "สูตรหารร้อย" ตามจำนวนที่นั่ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ที่มี 100 คน ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยเคยใช้มาแล้วในรัฐธรรมนูญ  2540  วิธีคิดกล่าวกันตามประสาการเมืองง่ายๆ คือ

 

คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน เท่ากับจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิหารด้วยจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน 

 

คราวนี้ จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พรรคได้  เท่ากับ คะแนนที่พรรคนั้นได้ หารด้วย"คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน"

 

"แตกต่างในทางผลลัพธ์"  เมื่อกติกาเลือกตั้งใหม่ กำหนดด้วยสูตรหาร 100   ผลที่ตามมาจะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ ได้เปรียบ จากฐานคะแนนนิยม สามารถคว้าเก้าอี้ในระบบบัญชีรายชื่อได้มากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากการเลือกตั้งปี 62 ที่พรรคการเมืองขนาดเล็ก มีส.ส.เข้าสภา พรรคละ 1-2 คน จากการคิดคำนวณส.ส.พึงมี  ฉะนั้นประเมินกันล่วงหน้าไว้ได้เลย ผลการเลือกตั้งในปี 2566  พรรคการเมืองขนาดเล็กแทบไม่มีส.ส.เข้าสภา จึงไม่แปลกที่พรรคการเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือพรรคตั้งใหม่ต้องปรับกลยุทธ์กันใหม่  

"ยุบสภา"ช่วงใดถึงได้เปรียบ

แม้เป็นที่ทราบกันดี อายุของสภามีวาระ 4 ปี ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 23 มีนาคม 2566  จะต้องมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งทั่วไป ทุกสายตาจึงจับจ้องไปที่ "พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจตัดสินใจในการออกพรฎ.ยุบสภา จะมีการกำหนดในช่วงใด จะประกาศยุบสภาก่อนสภาครบวาระ  หรือให้สภาครบวาระ  

 

ล่าสุดมีมุมมองจากฟากการเมืองและนักวิชาการแตกต่างกันออกไป ฝ่ายหนึ่งมองว่า พล.อ.ประยุทธ์  ต้องการอยู่ครบวาระแล้วประกาศยุบสภา เพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์การเมืองเป็นนายกฯอยู่ครบวาระสภา ขณะที่นักวิชาการ เช่น "ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล"  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ว่า การที่นายกฯลากยาวให้ครบวาระ จะมีปัญหาวุ่นวายมากในเชิงบริหาร เพราะไม่ใช่กรณีสภาที่มีส.ส.ลาออกจนไม่เหลือสภาพสภา ในส่วนของฝ่ายบริหารก็จะบริหารงานลำบากในช่วงเป็นรัฐบาลรักษาการระหว่างการเลือกตั้ง จึงเห็นว่า นายกฯน่าจะมีการยุบสภาในช่วงกลางม.ค.หรือ ก.พ.66 

 

ประเด็นของการ"ยุบสภา"ช่วงใดนั้นถือว่ามีความคาบเกี่ยวกับ คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. กล่าวคือ ผู้ที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.  ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง โดยรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดไว้ว่า
 
"มาตรา 97 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ...
 
(3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภาระยะเวลาเก้าสิบวันดังกล่าวให้ลดลงเหลือสามสิบวัน"
 
บทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อลงสมัคร ส.ส. มีอยู่ 2 เงื่อนไข ดังนี้
 
1) กรณีครบวาระสภาผู้แทนฯ ต้องเป็นสมาชิกพรรคนั้นเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง


2)  กรณียุบสภาฯ (วันดีคืนดี นายกฯอยากยุบสภาก่อนกำหนด)  ต้องเป็นสมาชิกพรรคนั้นเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

 

ฉะนั้น ความเคลื่อนไหวพรรคการเมืองนับเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2565 จนมาถึงปีใหม่ 2566 จึงเป็นไปด้วยความคึกคัก ไม่แปลกที่มีบรรดา ส.ส.ทยอยลาออกเพื่อไปสังกัดพรรคใหม่เพื่อให้อยู่ในระยะปลอดภัยตามคุณสมบัติรับสมัคร 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กรณีรัฐบาลอยู่ครบวาระ"  หากเป็นไปตามแผนงาน กกต. จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45  วันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุคือ วันที่ 7 พฤษภาคม 2566  วิธีนับระยะเวลาสังกัดพรรค ให้นับย้อนหลัง 90 วัน คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 (7 กุมภาพันธ์-7 พฤษภาคม 2566) เป็นเส้นตายสุดท้าย หากเกินกว่านี้ อาจหลุดจากคุณสมบัติการสมัครรับเลือกตั้ง  ฉะนั้น นักการเมืองที่คิดจะโยกย้ายค่ายถ่ายเทต้องคำนึงถึงกรอบเวลานี้ให้ดี

 

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมแผนการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งครบวาระ ในวันที่ 23 มีนาคม 2566 โดยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 ที่กำหนดให้มี การเลือกตั้งภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ เบื้องต้น กกต. กำหนดให้วันที่ 7 พฤษภาคม 66 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป

 

\"เลือกตั้ง 66\" เปิดไทม์ไลน์ หลังนายกฯเตรียมประกาศ\"ยุบสภา\"ต้นเดือนมี.ค.66

อัปเดตเส้นทางสู่สมรภูมิเลือกตั้ง 

เป็นทราบโดยทั่วกัน ปีนี้เป็นปีแห่งการเลือกตั้ง "เลือกตั้ง66"  คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จึงได้มีการตระเตรียมแผนการไว้ล่วงหน้า โดยวางโมเดลในกรณีรัฐสภาอยู่ครบวาระ 23 มีนาคม 2566 (ตาม อินโฟกราฟฟิคข้างต้น) 

 

หากอัปเดตขั้นตอนสู่เลือกตั้ง ณ ขณะนี้ (21ก.พ. 2566 ) อาจกล่าวได้ว่า 

1. พ.ร.ป.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. และพ.ร.ป.พรรคการเมือง ได้รับการโปรดเกล้าฯลงประกาศในราชกิจจาฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

 

2. กกต. ทยอยออกประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้ง  อาทิ  ระเบียบกกต. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2566  ระเบียบกกต. ว่าด้วย การรวบรวมพยานหลักฐานรับ"เลือกตั้ง" ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจาฯ เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา  ในขณะที่ ข้อมูลฐานราษฎร เพื่อใช้ในการแบ่งเขต โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการประกาศลงราชกิจจาฯไปก่อนหน้านี้ 

 

โดยระหว่างนี้ มีปมปัญหาจำนวนราษฎรที่ใช้แบ่งเขตต้องนับราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทยรวมเข้าไปด้วยหรือไม่ ซึ่งกกต.ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัย  โดยศาลรธน.กำหนดนัดแถลงด้วยวาจาและลงมติวันที่ 3 มี.ค. 

 

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการเลือกตั้งปี 2566 โดยคำนวณจากจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565 โดยจะมีจำนวน ส.ส.เขต ทั่วประเทศ 400 คน โดยจำนวน ส.ส.แต่ละจังหวัด ประกอบด้วย

 

จังหวัดที่มี ส.ส. 1 คน 4 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 2 คน 10 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 3 คน 19 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 4 คน 12 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 5 คน 7 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 6 คน 5 จังหวัด

 

จังหวัดที่มี ส.ส. 7 คน 4 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 8 คน 5 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 9 คน 4 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 10 คน 2 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 11 คน 2 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 16 คน 1 จังหวัด
จังหวัดที่มี ส.ส. 33 คน 1 จังหวัด

 

\"เลือกตั้ง 66\" เปิดไทม์ไลน์ หลังนายกฯเตรียมประกาศ\"ยุบสภา\"ต้นเดือนมี.ค.66

 

ทั้งนี้ จากจำนวน ส.ส.ดังกล่าวที่ กกต.ประกาศ จะส่งผลให้ภาคกลางมี ส.ส.รวม 122 คน จากเดิม 106 คน ภาคเหนือเพิ่มเป็น 39 คน จากเดิม 33 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ส.ส. 132 คน จาก 116 คน ภาคตะวันออกมี ส.ส. 29 คน จากเดิม 26 คน ภาคตะวันตกมี ส.ส. 20 คน จากเดิม 19 คน และภาคใต้มี ส.ส. 58 คน จากเดิม 50 คน

 

ส.ส.เพิ่มขึ้น 3 คน 1 จังหวัด

กรุงเทพมหานคร

 

ส.ส.เพิ่มขึ้น 2 คน มี 5 จังหวัด

นครราชสีมา
ชลบุรี
เชียงใหม่
บุรีรัมย์
นนทบุรี

ส.ส.เพิ่ม 1 คน 37 จังหวัด ประกอบด้วย

กระบี่
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
เชียงราย
ตรัง

ตาก
นครนายก
นครปฐม
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปทุมธานี

พระนครศรีอยุธยา
พังงา
เพชรบูรณ์
แพร่
ภูเก็ต
มหาสารคาม

แม่ฮ่องสอน
ร้อยเอ็ด
ระยอง
เลย
ศรีสะเกษ

สกลนคร
สงขลา
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สระบุรี
สุโขทัย

สุพรรณบุรี
สุราษฎร์ธานี
สุรินทร์
อ่างทอง
อุดรธานี
อุตรดิตถ์
อุบลราชธานี
บึงกาฬ

นอกจากนี้ ประเด็นการแบ่งเขตเลือกตั้งในรายพื้นที่ต่างๆ ก็ยังมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นจะใช้โมเดลแบบไหน โดยเปิดให้ตัวแทนพรรคการเมือง ประชาชน ร่วมแสดงความเห็น ซึ่งจะพิจารณาเสร็จสิ้น ในราวปลายเดือน ก.พ. 

 

เมื่อกฎกติกาตามข้อกฎหมายสมบูรณ์พร้อม "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจออกพระราชกฤษฎีกา"ยุบสภา"คืนอำนาจให้ประชาชน  ซึ่งก็เป็นไปตามที่ให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อวันที่ 21 ก.พ.66   

 

"ยุบสภาต้นเดือนมี.ค." 

 

logoline