svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

น่ารักไม่ไหว! "กางเกงพะยูนตรัง" พลังนุ่มนิ่ม มาใน 3 ช่วงวัย แหวกว่ายในท้องทะเล

07 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เรียกได้ว่าน่ารักไม่ไหว "กางเกงพะยูนตรัง" รับกระแส Soft Power ไทย มาใน 3 ช่วงวัย ทั้ง พะยูนเด็ก-วัยรุ่น-ผู้ใหญ่ แหวกว่ายอยู่ในท้องทะเล มีตัวอักษร "TRANG" อยู่ด้วย "Nation STORY" ชวนทำความรู้จัก "เจ้าหมูน้ำ" สำคัญต่อระบบนิเวศอย่างไร หากพบน้องเกยตื้น ช่วยแบบไหนถึงถูกวิธี

7 มีนาคม 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังหลายจังหวัดดึงเอาอัตลักษณ์ของตัวเอง มาทำกางเกง จนเป็นกระแสฮิต แบบกางเกงช้างที่กลายเป็นตัวแทนประเทศไทย ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

ที่ อ.กันตัง จ.ตรัง มีหนุ่มเจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ ได้ออกแบบและสั่งตัดกางเกง "พะยูนตรัง" เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นสินค้าตัวอย่าง ให้คนตรังและนักท่องเที่ยวได้ซื้อเพื่อเป็นสินค้าสำหรับสวมใส่ เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตรัง และเป็นของฝากอีกอย่างหนึ่งในอนาคต

โดยกางเกงพะยูนตรังผลิตจากผ้าไหมอิตาลีสีดำ พิมพ์ลายพะยูนสีขาว 3 ช่วงวัย ได้แก่ พะยูนวัยเด็ก พะยูนวัยรุ่น และพะยูนวัยผู้ใหญ่ แหวกว่ายอยู่ในท้องทะเลตรัง รายล้อมด้วยปลาเล็กปลาน้อย ปะการัง และหญ้าทะเล และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ คำว่า "TRANG" อยู่บนกางเกง ซึ่งมีความสวยงามน่าสวมใส่ เพราะเป็นผ้าที่มีความพริ้วไหว และระบายอากาศได้ดี

น่ารักไม่ไหว! \"กางเกงพะยูนตรัง\" พลังนุ่มนิ่ม มาใน 3 ช่วงวัย แหวกว่ายในท้องทะเล
นายสุทธิวัฒน์ อายุ 42 ปี เจ้าของไอเดียลายกางเกงพะยูนตรัง บอกว่า เขาเห็นหลายๆจังหวัดมีกางเกงที่มีสัญลักษณ์ของจังหวัดตัวเองออกมาขาย เช่น กางเกงช้าง กางเกงแมวโคราช กางเกงไดโนเสาร์ขอนแก่น ซึ่งจังหวัดตรังบ้านเขามีพะยูนฝูงใหญ่อาศัยอยู่ นึกถึงพะยูนก็ต้องนึกถึงตรัง จึงได้นำพะยูนเป็นลายบนกางเกงเพื่อสื่อความเป็นตรัง และรัฐบาลก็ส่งเสริมเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ 

"หลังจากที่ผมปล่อยภาพตัวอย่างกางเกงพะยูนตรังลงในเพจและเฟซบุ๊กส่วนตัว ก็มีประชาชนสอบถามและสั่งจองเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้มีร้านของฝากในจังหวัดตรังติดต่อขอรับไปขายแล้วเช่นกัน" สุทธิวัฒน์ บอกกับผู้สื่อข่าว

น่ารักไม่ไหว! \"กางเกงพะยูนตรัง\" พลังนุ่มนิ่ม มาใน 3 ช่วงวัย แหวกว่ายในท้องทะเล

นายสุทธิวัฒน์ บอกด้วยว่า ส่วนราคาขาย เขาขายกางเกงพะยูนตรัง ตัวละ 180 บาท ค้าส่งตัวละ 40 บาท ถือว่าเป็นราคาที่ถูกมาก เพราะอยากให้ทุกคนได้ซื้อสวมใส่กัน ซึ่งกางเกงพะยูนออกแบบเอง และสั่งให้โรงงานในกรุงเทพผลิตให้ สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก "ณ กันตัง by 99com" 

รู้จัก "พะยูน" หรือ "เจ้าหมูน้ำ" 

น่ารักไม่ไหว! \"กางเกงพะยูนตรัง\" พลังนุ่มนิ่ม มาใน 3 ช่วงวัย แหวกว่ายในท้องทะเล
จากข้อมูลในเว็บไซต์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ระบุว่า พะยูน เป็นสัตว์สงวนแห่งท้องทะเล มีรายละเอียดดังนี้

  • ชื่อเรียก : หมูน้ำ หมูดุด ดูหยง เงือก วัวทะเล และดูกอง
  • ขนาดแรกเกิด : 1-1.5 ม. / หนักประมาณ 20 กก.
  • ลำตัว : รูปกระสวยคล้ายโลมา , สีเทาอมชมพู หรือน้ำตาลเทา
  • หายใจ : ทุก 1-2 นาที
  • อาหาร : หญ้าทะเล

พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เชื่อว่าพะยูนเคยอาศัยหากินอยู่บนบก โดยมีบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของช้าง เมื่อประมาณ 55 ล้านปีมาแล้ว สายพันธุ์ของพะยูนได้มีวิวัฒนาการลงไปอยู่ในน้ำ และไม่กลับขึ้นมาอยู่บนบกอีกเลย เช่นเดียวกับพวกโลมาและปลาวาฬ

ตัวบ่งชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของ "หญ้าทะเล"
น่ารักไม่ไหว! \"กางเกงพะยูนตรัง\" พลังนุ่มนิ่ม มาใน 3 ช่วงวัย แหวกว่ายในท้องทะเล
ขณะที่ในเว็บไซต์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุถึงความสำคัญของเจ้าหมูน้ำ ว่า พะยูนกินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะ "หญ้าทะเล" ชนิดต่างๆ ตามแนวชายฝั่ง และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ไม่ห่างจากบริเวณที่มีแหล่งหญ้าทะเลหนาแน่น และกว้างใหญ่เพียงพอ จึงถือได้ว่าพะยูนเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศหญ้าทะเลได้เป็นอย่างดี 

อีกทั้ง หญ้าทะเล ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก เป็นทั้งออกซิเจน แหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย ที่วางไข่และหลบซ่อนศัตรู ช่วยลดมลพิษในทะเล ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยป้องกันการพังทลายของชายฝั่งได้ดี ในบริเวณที่มีหญ้าทะเลขึ้นอยู่ จึงจัดเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลไทยอีกด้วย 

ของเสียกลายเป็นปุ๋ยที่มีคุณค่า

การที่พะยูนกินหญ้าทะเลเป็นอาหาร จึงปล่อยของเสียออกมาเป็นปุ๋ยที่มีคุณค่า เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาขนาดใหญ่ สอดคล้องกับ นักวิจัยจาก James Cook University ในออสเตรเลีย ที่พบว่า เมล็ดหญ้าทะเลที่ผ่านระบบย่อยอาหารของสัตว์อย่าง พะยูนและเต่าทะเล งอกเร็วกว่าและมีอัตราการงอกที่สูงกว่าเมล็ดที่หลุดมาจากต้น

เปิดความเชื่อที่สร้างกันมา เกี่ยวกับพะยูน

ข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยังระบุถึงความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับพะยูน เช่น กระดูกพะยูน สามารถนำไปทำยาโด๊ป และรักษาโรคมะเร็ง ส่วนเขี้ยวพะยูน นำไปเป็นเครื่องรางของขลัง ความเชื่อเหล่านี้ถือเป็น ความเชื่อแบบผิดๆ ทำให้พะยูนยังเป็นที่ต้องการของตลาดมืด 

สิ่งที่จะช่วยแก้ไขได้ คือ การเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่เป็นจริงว่า กระดูกหรือเขี้ยวพะยูน ไม่สามารถนำไปรักษาโรคหรือของขลังแต่อย่างไรเลย เป็นเพียงความเชื่อที่สร้างขึ้นมา

รู้ไว้เผื่อได้ใช้ วิธีช่วยสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม หากพบเกยตื้น คุณช่วยได้ ดังนี้ 

  1. จัดตำแหน่งให้ตัวสัตว์ให้ตั้งตรง
  2. เข้าหาตัวสัตว์อย่างนุ่มนวล โดยเข้าหาสัตว์จากทางด้านข้าง
  3. การพยุงตัวสัตว์ เพื่อลดอาการบาดเจ็บจากการเกยตื้น 
    - ขุดแอ่งน้ำรอบตัวสัตว์ แล้วตักน้ำทะเลเติมเข้าไป
    - หรือ ใช้เบาะลมรองตัว เมื่อพื้นด้านล่างแข็ง
    - หรือ ประคองตัวสัตว์ไว้ในน้ำ (กรณีคลื่นลมสงบ)
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง และหมั่นราดน้ำให้ความชุมชื่นแก่ผิวหนัง
  5. ปกป้องครีบข้าง ดวงตา และรูหายใจ 
    - ระวังไม่ให้น้ำ หรือ สิ่งแปลกปลอมเข้ารูหายใจ
    - ระวังสิ่งแปลกปลอมทำอันตรายต่อดวงตา
    - รวบครีบข้างแนบชิดกับลำตัว
  6. ลดความเครียดที่เกิดกับสัตว์
  7. สร้างสิ่งกำบังป้องกันปัจจัยภายนอก เช่น พายุ แสงแดด และฝน

ขั้นตอนการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก เครดิต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ทั้งนี้ ทาง ทช. ได้แนะนำการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก โดยเฉพาะประเภทที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้ง โลมา วาฬ และพะยูน หากพบติดอวน เบ็ด หรือเกยตื้นจากการหลงทิศ หรือป่วย ถ้ายังสมบูรณ์แข็งแรงดีให้รีบปล่อยคืนสู่ทะเลตามวิธีการที่ถูกต้อง 

หากต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้ง ทช. หรือเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นเพื่อประสานหน่วยงานมาที่กรม ทช. ในแต่ละพื้นที่ต่อไป

ทำความรู้จัก "พะยูน" >> คลิกที่นี่

วิธีช่วยเหลือชีวิตสัตว์ทะเลเกยตื้น >> คลิกที่นี่

ชาวบ้านช่วย พะยูน เกยตื้นริมหาด พากลับสู่ทะเลปลอดภัย ที่ จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 66
อ้างอิงจาก : 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 
ศูนย์ข้อมูลกลางด้านทรัพยากรทางทะเล
คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 
https://www.komchadluek.net/quality-life/environment/558229
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000078954
เพจ Boontohhgraphy
https://www.abc.net.au/.../seagrass-grows.../100419004
https://www.nationtv.tv/news/foreign/378838311
วิกิพีเดีย

logoline