svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า พบภาพเขียนสีโบราณ บริเวณเพิงหินทราย น้ำตกคำเมย จ.ขอนแก่น

25 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ข่าวดี! เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ หินช้างสี จ.ขอนแก่น พบภาพเขียนสีโบราณ ขณะแวะพักใต้เพิงหินทราย บริเวณน้ำตกคำเมย หลังเสร็จภารกิจดับไฟป่า

25 กุมภาพันธ์ 2567 เฟซบุ๊ก "หน่วยพิทักษ์ หินช้างสี" โพสต์ภาพถ่ายเพิงหินพร้อมระบุข้อความว่า เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นพ.4 (หินช้างสี) เดินเท้าเข้าไปดับไฟป่าที่บริเวณน้ำตกคำเมย ซึ่งอยู่ห่างจากหน่วยฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร

หลังจากที่ดับไฟป่าสำเร็จ และได้หยุดพักใต้เพิงหินทราย จึงได้สังเกตพบร่องรอยภาพวาด และดูคล้ายกับภาพเขียนสีโบราณ เพราะลักษณะหรือรูปทรงแตกต่างจากร่องรอย หรือสีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังอยู่ห่างจากจุดที่สำรวจไปครั้งล่าสุด (แหล่งที่ 14 เพิงหินอ่างชาด) เพียง 700 เมตร เท่านั้น

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า พบภาพเขียนสีโบราณ บริเวณเพิงหินทราย น้ำตกคำเมย จ.ขอนแก่น

เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บรวบรวมภาพเบื้องต้น และแจ้งให้เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากร ที่ 8 (ขอนแก่น) ทราบ และดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อทำการสำรวจต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เว็บไซต์ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยแพร่ข้อมูลการสำรวจพบภาพเขียนสีโบราณ (หินช้างสี) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 บริเวณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ที่ นพ.4 (หินช้างสี) ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนโบราณอายุทางโบราณคดีประมาณราว 2,000 ปี ถึง 4,000 ปี ทั้งหมด 4 จุด คือ จุดที่ 1 บริเวณน้ำในโพรงหิน อยู่ตรงซ้ายมือ ห่างจากเส้นทางเดินประมาณ 3 เมตร จุดที่ 2 บริเวณนํ้าในโพรงหิน ภาพเขียนอยู่ฝั่งด้านขวาติดกับเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ถัดจากน้ำในโพรงหินประมาณ 5 เมตร

จุดที่ 3 และจุดที่ 4 อยู่บริเวณทางเดินศึกษาธรรมชาติผาเสียวโว้ย โดยเดินออกจากเส้นทางศึกษาธรรมชาติประมาณ 10 เมตร ห่างจากน้ำในโพรงหินประมาณ 500 เมตร ลักษณะเป็นภาพลายเส้น สีแดง-ดำ มีรูปลักษณ์ลักษณะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ควายป่า สุนัขจิ้งจอก รูปนก สัญลักษณ์การทำพิธีกรรม เช่น รูปคน รูปพระอาทิตย์ และภาพแสดงแผนที่ต่าง ๆ

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

พื้นที่ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติผ่านบริเวณภาพเขียนสีจุดที่ 1 และจุดที่ 2 ส่วนจุดที่ 3 และจุดที่ 4 ยังขาดเส้นทางที่เข้าถึงได้ง่าย จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

logoline