svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รู้จัก "ป๋าเทพ" กับดรามากรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน

23 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้จัก "ป๋าเทพ" เทพ โพธิ์งาม หลังโซเชียลดรามาอย่างหนัก กรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน รู้จักตัวตนของอดีตนักแสดงตลก ที่ชีวิตเล่นตลกด้วยตลอดเวลา

เป็นอีกประเด็นดรามาในโซเชียล ที่มีผู้คนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุน กรณีเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU Art&Culture Center ได้มีการโพสต์ระบุว่า   

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๖๗ มีรายชื่อผู้ได้รับรางวัลประกอบด้วย 

สาขาทัศนศิลป์ มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 3 ท่าน ได้แก่
1. นางสาวจินตนา เปี่ยมศิริ (จิตรกรรมร่วมสมัย)
2. นายพงษ์ชยุตน์ โพนะทา (หัตถกรรม)
3. นายภัฎ พลชัย (ประติมากรรม) 

สาขาวรรณศิลป์ มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 2 ท่าน ได้แก่
1. นายปรีดา ปัญญาจันทร์ (วรรณกรรมเยาวชน)
2. นายไชยา วรรณศรี (วรรณกรรมร่วมสมัย)

สาขาศิลปะการแสดง มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 10 ท่าน ได้แก่
1. นายบุญชื่น บุญเกิดรัมย์ (การแสดง)
2. นายบุญเสริม เพ็ญศรี (หมอลำกลอนทำนองอุบล)
3. นายสุเทพ โพธิ์งาม (นักแสดงตลก)
4. นางทองวัน ตรีสูน (หมอลำกลอนทำนองพุทไธสง)
5. นายศรชัย เมฆวิเชียร (นักร้องลูกทุ่ง)
6. นายบุญจัน ชูชีพ (หมอลำกลอนทำนองพุทไธสง)
7. นายเรืองยศ พิมพ์ทอง (เรียบเรียงเสียงประสาน)
8. นายธงชัย ประสงค์สันติ  (ผู้จัดละคร)
9. นายพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (นักร้องเพลงเพื่อชีวิต)
10. นางเพชราภรณ์ กาละพันธ์  (หมอลำกลอนประยุกต์)

โดยจะมีพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี พุทธศักราช 2567 ในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ้างอิงตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่  492/2567 ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี พ.ศ. 2567 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย 
ลิงก์ประกาศ : https://kku.world/4yaky

 

ภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยประเด็นที่ชาวเน็ตวิจารณ์อย่างหนักคือ การปรากฏชื่อของ นายสุเทพ โพธิ์งาม (นักแสดงตลก) หรือ ป๋าเทพ อดีตนักแสดงตลกชื่อดัง ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานในครั้ง

บางส่วนมีการตั้งคำถามว่า "ป๋าเทพ" เป็นคนอีสานตรงไหน เพราะมีการระบุว่า เกิดที่ปราจีนบุรี บางส่วนตั้งคำถามถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลที่จะมารับรางวัล รวมถึงสอบถามว่า "ป๋าเทพ" มีผลงานใดที่แสดงถึงการเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน และประเด็นที่หนักสุดคือเรื่องทางการเมือง
รู้จัก \"ป๋าเทพ\" กับดรามากรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต

รู้จัก "ป๋าเทพ" ศิลปินตลกที่ชีวิตมักเล่นตลกด้วย เจ้าของฉายา "ตลกสู้ชีวิต"  

ป๋าเทพ หรือ ชื่อจริง สุเทพ โพธิ์งาม ชื่อเล่น เทพ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่จังหวัด ปราจีนบุรี ไปเติบโตที่จังหวัด นราธิวาส แต่ในวิกิพีเดียระบุว่า ป๋าเทพ เกิดที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ไปเติบโตที่นราธิวาส 

จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านยะบะ (อุปการวิทยา) อำเภอ รือเสาะ จังหวัด นราธิวาส ก่อนที่จะย้ายมาอยู่อำเภอ สะเดา-หาดใหญ่ 

และได้แต่งงานกับ "จุ๋ม ภัสราวรรณ ทรงพีระพัฒน์" ก่อนที่ทั้งคู่จะตัดสินใจแยกทางกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีลูกด้วยกันทั้งหมด 2 คน ได้แก่ "ทอฟฟี่ นิชาภา โพธิ์งาม" และ "ไทค์ ธนพล โพธิ์งาม" หรือ "ภัทร โพธิ์งาม"
รู้จัก \"ป๋าเทพ\" กับดรามากรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน

สำหรับเส้นทางในอาชีพนักแสดงตลก

"ป๋าเทพ" เริ่มต้นเข้าสู่วงการบันเทิง ด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่หนังกลางแปลง ก่อนที่จะได้รับโอกาสให้เป็นนักพากย์การ์ตูน ต่อมา (พ.ศ. 2512) ป๋าเทพก็ได้ไปสมัครวงดนตรี "เพลิน พรมแดน" จนได้มาเจอกับนักแสดงตลกชื่อดัง "เด่น ดอกประดู่" จึงทำให้เจ้าตัวได้ออกมาเล่นตลกที่หน้าเวที

หลังจากนั้น (พ.ศ. 2558) ป๋าเทพก็ได้ออกมาเปิดคณะตลกร่วมกับเด่น โดยใช้ชื่อว่า "เด่น เด๋อ เทพ" 2 ปีต่อมา ป๋าเทพจึงตัดสินใจแยกตัวออกมาตั้งคณะตลกเองชื่อ "เทพเพชรธงจิ๋ม" ก่อนที่จะได้ "น้อย โพธิ์งาม" (น้องสาว), "แฉ่ง ช่อมะดัน" และ "หม่ำ จ๊กม๊ก" มาร่วมคณะจนถึงปี พ.ศ. 2538 เจ้าตัวจึงลาออกจากวงการตลก หันมารับงานหนัง-ละครเพียงอย่างเดียว 

"ป๋าเทพ" มีผลงานการแสดงละครและภาพยนต์จำนวนมาก และยังเป็นผู้กำกับ และเขียนบทภาพยนตร์อีกด้วย โดยผลงานทางด้านละคร อาทิ 

พ.ศ. 2526 เธอกับฉัน
พ.ศ. 2535 คนเยอะเรื่องแยะ และ ชีวิตเปื้อนฝุ่น
พ.ศ. 2536 นายทองย้อย
พ.ศ. 2538 เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง
พ.ศ. 2539 เสน่ห์บางกอก และ ระเบิดเถิดเทิง
พ.ศ. 2541 อย่าลืมฉัน
พ.ศ. 2543 ตามจับตามจีบ และ หลวงตา
พ.ศ. 2544 กองร้อย 501 ตอน แผ่นดินข้าใครอย่าแตะ และ นายฮ้อยทมิฬ
พ.ศ. 2545 รวมพลคนใช้, มรดกหกคะเมน, หัวใจไกลปืนเที่ยง และ พยัคฆ์ร้าย โอมเพี้ยง
พ.ศ. 2546 โฉมตรูครูเถื่อน
พ.ศ. 2547 อย่าบังคับข้าให้ใหญ่
พ.ศ. 2549 มนต์รักล็อตเตอรี่
พ.ศ. 2551 คมแฝก
พ.ศ. 2552 รุกฆาต และ สู้ยิบตา
พ.ศ. 2554 เพลงรักบ้านนา
พ.ศ. 2555 พ่อตาปืนโต
พ.ศ. 2556 โทน
พ.ศ. 2558 ลิเกหมัดสั่ง และ แม่ดอกรักเร่
พ.ศ. 2559 ส้มตำแฮมเบอร์เกอร์ และ ตี๋ใหญ่ ดับ ดาว โจร
พ.ศ. 2561 ตี๋ใหญ่ 2 ดับ เครื่อง ชน

ผลงานทางด้านภาพยนตร์

พ.ศ. 2520 เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง
พ.ศ. 2521 เท่งป๊ะต๊ะติ๊งโหน่ง, รักเธอเท่าช้าง, ใต้ฟ้าสีคราม และ กามเทพหัวเราะ
พ.ศ. 2522 ปล้น บ้า ๆ บวมส์ ๆ, โลกว๊ะโลกเหวย, โทนทุ่งกระทิง, สมิงบ้านไร่, อยู่กับก๋ง, กำนันโพธิ์, ยอดหญิงต๊ะติ๊งโหน่ง และ ลูกทาส
พ.ศ. 2523 คู่โจร, ไอ้ย่ามแดง, เป๋อจอมเปิ่น, พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ, ดอกแก้ว และ ตากล้องไทยถีบ
พ.ศ. 2524 แก่นกะลาสี, เด๋อด๋าเฮงระเบิด, ผึ้งแตกรัง, กูละเบื่อส์, ลุยเลอะ, อ้วนผอมจอมทะเล้น, เจ๊จ๋าเจ๊, ผู้ใหญ่อ้วน กำนันผอม, ยิ้มหน่อยจ้า, ฟ้าเพียงดิน, เฉยแหลก, มหานอกวัด, กะลาสีทีเด็ด และ เจ้าพ่อเซียงกง
พ.ศ. 2525 หนูอยากเป็นทหาร, แต่งกับงาน, นักฆ่าขนตางอน, อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง และ กุนซืออ้วน
พ.ศ. 2526 รจนายอดรัก, ดรุณี 9 ล้าน และ เสี่ยวอีหลี
พ.ศ. 2527 เด็กปั๊ม, เพชรตัดเพชร, ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น, สารวัตรต๊อก, มือปราบหนวดเหล็ก, น.ส. ลูกหว้า, 7 ทโมน และ หัวใจทะลุดิน
พ.ศ. 2528 ปล้นลอยฟ้า และ หอใหม่
พ.ศ. 2529 ร้อยป่า
พ.ศ. 2530 ความรักเหมือนยาขม
พ.ศ. 2535 สาวหอรอรัก และ ยุ่งดะมะด๊อง
พ.ศ. 2538 เกิดอีกทีต้องมีเธอ
พ.ศ. 2544 มือปืน/โลก/พระ/จัน
พ.ศ. 2545 ผีหัวขาด
พ.ศ. 2546 พันธุ์ร็อกหน้าย่น, ดึก ดำ ดึ๋ย และ มิสควีน (ฉันรักนาย ผู้ชายมีองค์)
พ.ศ. 2547 ซานตาคลอส โจรกระจอกสะเออะปล้น, เดอะโกร๋น ก๊วนกวนผี และ ขุนกระบี่ ผีระบาด
พ.ศ. 2548 มนต์รักลูกทุ่ง, ประชันโฉมกะเทยทุย, เจ้าสาวผัดไทย และ พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า
พ.ศ. 2549 ลูกตลกตกไม่ไกลต้น และ ไทยถีบ
พ.ศ. 2550 มะหมา 4 ขาครับ และ เมล์นรก หมวยยกล้อ
พ.ศ. 2551 เทวดาตกมันส์ และ หลวงพี่เท่ง 2 รุ่นฮาร่ำรวย
พ.ศ. 2553 ผีตุ๋มติ๋ม, โป๊ะแตก และ กะปิ ลิงจ๋อไม่หลอกจ้าว
พ.ศ. 2554 หมาแก่ อันตราย และ เปลี่ยนเป็น เปลี่ยนตาย
พ.ศ. 2556 The Rocket
พ.ศ. 2557 สีเรียงเซียนโต๊ด และ มันเปลี่ยวมาก
พ.ศ. 2562 บอดี้การ์ดหน้าหัก
พ.ศ. 2563 รักเลยร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2564 พี่นักร้องน้องนักเลง
รู้จัก \"ป๋าเทพ\" กับดรามากรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน  

ชีวิตตลกที่ไม่เคยตลก 

"ป๋าเทพ" นอกจากการเป็นนักแสดงตลกแล้ว ยังเคยประกอบธุรกิจหลายอย่าง จนเป็นหนึ่งชื่อเสียงของเจ้าตัว เพราะบ่อยครั้งที่ "ป๋าเทพ" ทำธุรกิจ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถ ร้านเสริมสวย บ้านจัดสรร ร้านหมูกระทะ ฯลฯ ก่อนจะผันตัวมาทำแบรนด์น้ำข้าวกล้อง ยี่ห้อ "โพธิ์งาม" แต่ก็ทำได้ไม่นาน เพราะมีปัญหาการขึ้นทะเบียน อย. จนต้องล้มเลิกไป

และนอกเหนือจากการทำหน้าที่พิธีกร หรือคอมเมนเตเตอร์รายการเพลงลูกทุ่ง "เทพ โพธิ์งาม" ยังมีกิจการ "ขนมเปี๊ยะขั้นเทพ" ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 หลังเจ้าตัวประกาศลาออกจากวงการบันเทิงในปี 2557 และมาใช้ชีวิตอยู่ที่ไร่ในหมู่บ้านไผ่สามเกาะ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยใช้การโปรโมทผ่านแฟนเพจ รวมถึงกลุ่มแฟนคลับพากันอุดหนุนอยู่เสมอ รวมถึงยังมีร้าน “ภักดีคาเฟ่” ที่ตั้งอยู่ที่ไร่ป๋าเทพด้วย
รู้จัก \"ป๋าเทพ\" กับดรามากรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน  

วิจารณ์การเมืองจึงตกเป็นเป้าทางการเมือง

"ป๋าเทพ" เริ่มตกเป็นเป้าถูกวิจารณ์ทางการเมือง จากการที่เจ้าตัวออกมาให้สัมภาษณ์ สนับสนุนรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และวิจารณ์คนรุ่นใหม่ นั่นทำให้เขากลายเป็นเป้าโจมตี ของผู้ที่เห็นต่าง จนลุกลามไปยังเรื่องธุรกิจ "ขนมเปี๊ยะขั้นเทพ" ที่มักมีการป่วนขณะที่เจ้าตัวขายของ อยู่เสมอ 

อย่างไรก็ตาม สำหรับบทบาทการวิจารณ์ทางการเมืองของ "ป๋าเทพ" นอกจากการชื่นชมนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ บางครั้ง "ป๋าเทพ" ก็ตำหนินโยบายของอดีตนายกฯ ผู้นี้ด้วยเช่นกัน เช่น ปัญหาของแพง รวมถึงออกมาให้คิดเห็นทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง เช่น กรณีกลุ่มคาร์ม็อบ นโยบายหาเสียงของนายชัชชาติ หรือเช่นกรณีล่าสุด ที่เจ้าตัวได้ออกมาพูดถึงการกลับประเทศไทยของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 66 ที่ผ่านมา ซึ่งทุกที่ "ป๋าเทพ" ออกมาให้ความเห็นทางการเมือง ก็มักจะถูกผู้ที่เห็นต่าง วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเสมอ 
รู้จัก \"ป๋าเทพ\" กับดรามากรณีได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน  

ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย
เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU Art&Culture Center

logoline