svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คิดอย่างไร สภ.ยะหา แจ้งเตือนวัยโจ๋ หากจับได้ว่าพลอดรัก จะต้องถูกจับแต่งงาน

19 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คิดอย่างไร สภ.ยะหา แจ้งเตือนหนุ่มสาววัยโจ๋ หากจับได้ว่าพลอดรัก จะต้องถูกจับแต่งงานหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย งานนี้ทำเอาชาวเน็ตเสียงแตก

เป็นเรื่องราวที่มีแชร์และถกเถียงในหมู่ชาวเน็ตอย่างมาก กรณีเพจเฟซบุ๊ก เสียงจากแผ่นดินแม่ ได้มีการโพสต์โดยอ้างว่า เป็นข่าวประชาสัมพันธ์จาก สภ.ยะหา จ.ยะลา ระบุว่า 

แต่งงาน 

“ชาย / หญิง ที่มิใช่สามีภรรยา มีพฤติกรรมจับคู่กัน กระทําการใด ๆ ลักษณะเชิงชู้สาวในที่สาธารณะ หรือในที่ลับตาคน 

หากพบเห็นหรือจับได้ สถานีตํารวจภูธรยะหา และคณะกรรมการมัสยิด จะดําเนินการ ตามมาตรการทางสังคม ยุติธรรมทางเลือก หรือ ฮูกมปากัด 4 ฝ่าย ดังนี้

1. นําส่งคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด เรียกผู้ปกครองเพื่อทําพิธีแต่งงาน ตามหลักศาสนาให้ถูกต้อง
2. ดําเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ในข้อหา “กระทําอนาจาร” หรือ “กระทําชําเรา” และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

สถานีตํารวจภูธรยะหา


ซึ่งภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าว ถูกเผยแพร่และแชร์ออกไป ชาวเน็ตจำนวนมาก ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย บางส่วนก็เห็นด้วย และอีกจำนวนมากที่มีการตั้งคำถาม โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่จะมารองรับ หรือใช่หน้าที่ตำรวจหรือไม่ อาทิ 
 

  • จับยานู้นนนนน
  • ขอชื่นชมครับ
  • กฎหมายข้อใหนคับ
  • กฏหมาย หรือ กฏศาสนา เอาให้ชัด
  • จากที่อ่านข้างต้น เฉพาะอิสลามรึป่าวคะ เพราะ.."จะมีการนำส่งคณะกรรมการกลางอิสลามประจำมัสยิดและเรียกผู้ปกครองให้ทำพิธีแต่งงานตามหลักศาสนาให้ถูกต้อง" ต้องยอมรับว่าปัจจุบันยังมีเด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวนัดเจอกันในที่สาธารณะหรือที่ลับตา และทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เกินงาม ซึ่งในอิสลามถือว่าไม่ถูกต้องค่ะ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญอย่างเคร่งครัด
  • อันนี้กฎศาสนา แค่ขอความร่วมมือจากตำรวจรึป่าว
  • แบบมาเลเซีย
  • แถวนั้นคงมีพฤติกรรมแบบนี้เยอะมาก แต่ว่ามีกฎหมายรองรับไหมนะ
  • ประเทศไทยครับ
  • ไม่ใช่รัฐอิสลาม โปรดใช้กฎหมายไทยครับ. เข้าใจด้วยสู..
  • จะเอามาศาสนา ใหญ่กว่ากฎหมายบ้านเมือง และรัฐธรรมนูญได้ยังไง
  • ชื่นชมครับ นี้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ใช้กฎหมายศาสนามาควบคุม ซึ่งใช้เฉพาะอิสลาม การท้องไม่มีพ่อ การทำอนาจารจะหมดไป ถ้าทุกส่วนเข้ามาช่วยเหลือ สอดส่อง เป็นหูเป็นตา โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว
  • เฉพาะศาสนา​อิสลาม​นะคะ​ ศาสนา​อื่นไม่เกี่ยวค่ะ
     

  ตัวอย่างความึคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความึคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความึคิดเห็นชาวเน็ต

หลักศาสนาอิสลาม “ฮูกมปากัต" คืออะไร บังคับใช้กับใคร

ความหมาย “ฮูกมปากัต” ฮูกม แปลว่ากฎระเบียบ ฮูกมปากัต คือ ความร่วมมือ ในด้านการบริการดูแลสังคม เพื่อให้เกิดความสันติสุขในพื้นที่ อ.ยะหา จ.ยะลา โดยครั้งแรกมีประชาชนร้องเรียนว่า บรรดาเด็ก ๆ หนุ่มสาว ๆ วัยรุ่นเกิด การกระทำผิดบางอย่าง ที่ทางผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ คนอื่น ๆ ไม่สบายใจ จึงได้มีดำริที่จะแก้ปัญหาร่วมกับคณะกรรมการมัสยิด เพื่อให้เกิดความสันติสุขในท้องที่

จึงได้มีการตั้งกฏ “ฮูกมปากัต” โดยมี 4 ฝ่าย เข้าร่วมทั้ง ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร เทศบาล คณะกรรมการมัสยิด และประชาชนที่สนใจ เพื่อแก้ปัญหา โดยจะเน้นเฉพาะประชาชน ที่เป็นอิสลามเท่านั้น ไม่ได้ใช้ทั่วไป ใช้เฉพาะเขตพื้นที่ ที่มัสยิดกลาง อ.ยะหา ดูแลเท่านั้น รวมทั้ง หมู่ที่ 2 บางส่วนที่อยู่ในมาตรการนี้
คิดอย่างไร สภ.ยะหา แจ้งเตือนวัยโจ๋ หากจับได้ว่าพลอดรัก จะต้องถูกจับแต่งงาน  

โดย “ฮูกมปากัต” เริ่มใช้เมื่อ 28 ธ.ค. 62 ตั้งแต่ใช้มา จะมีการจับมาไกล่เกลี่ย ทั้ง 2 ฝ่ายก่อน ครั้งแรกให้คำตักเตือน เรียกผู้ปกครอง ผู้ดูแล ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอีหม่าม เพื่อมารับทราบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เสียชื่อเสียง

อย่างไรก็ตาม ในสายตาของประชาชน ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม มักตั้งข้อสังเกตว่า “ฮูกมปากัต” เป็นการ “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” หรือไม่ จนถูกขนานนามว่า เป็นกฎ “ชู้สาวจับแต่งงาน” มีนักสิทธิมนุษยชนออกมาคัดค้านอ้างว่า เป็นการละเมิดสิทธิ์ฝ่ายหญิง เพราะการจับแต่งงานโดยที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอม อาจทำให้เกิดการหย่าร้าง และมีปัญหาสังคมตามมา ลูกเต้าไม่มีคนเลี้ยงดู

แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีกระแสสนับสนุนเช่นกัน ทั้งจากชาวบ้านทั่วไป ที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองของวัยรุ่น และกลุ่มพลังมวลชนในพื้นที่ มีการรวมตัวไปให้กำลังใจตำรวจถึงโรงพักมาแล้ว 
คิดอย่างไร สภ.ยะหา แจ้งเตือนวัยโจ๋ หากจับได้ว่าพลอดรัก จะต้องถูกจับแต่งงาน
คิดอย่างไร สภ.ยะหา แจ้งเตือนวัยโจ๋ หากจับได้ว่าพลอดรัก จะต้องถูกจับแต่งงาน  

รู้ไหมประเทศไหนที่ใช้กฎหมายอิสลามบ้าง 

การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยของสุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าการใช้กฎหมายอิสลามยังคงมีอยู่ แต่ในเวลาต่อมา ได้มีการปรับปรุงแนวทางการปกครองหัวเมืองเหล่านี้ใหม่ แต่ถึงกระนั่น รัฐบาลก็คงให้ใช้กฎหมายอิสลามอยู่เช่นเดิม

กระทั่งมีการยกเลิกในปี 2486 สมัย จอมพลแปลก (ป.) พิบูลสงคราม และนำกลับใช้ในสมัยของ นายกรัฐมนตรี พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามอีกครั้ง 

ในสามจังหวัดภาคใต้ มีการใช้ กฎหมายชะรีอะฮ์ หรือ กฎหมายอิสลาม โดยเฉพาะกฎหมายที่ว่าด้วยครอบครัวหรือมรดก (Personal Law) โดยในแต่ละจังหวัดจะมีดะโต๊ะยุติธรรม จังหวัดละ 2 คน ยะลามีเพิ่มมาอีก 1 คนในอำเภอเบตง ทำงานอยู่ที่ศาลจังหวัดและศาลเยาวชนและครอบครัว ถือเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการของกระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ สำหรับภาคใต้ในกรณีที่โจทย์และจำเลยเป็นมุสลิม ต้องใช้กฎหมายอิสลาม จะใช้กฎหมายแพ่งไม่ได้ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่ได้เป็นมุสลิม ก็ต้องใช้กฎหมายของแผ่นดิน โดยกฎหมายอิสลามจะใช้ในสี่จังหวัดเท่านั้น คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา

ส่วนในต่างประเทศ ประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ มักใช้ กฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) ว่าด้วยครอบครัวและมรดกเป็นด้านหลัก ส่วนกฎหมายอื่น ๆ ก็มักปฏิบัติตามแนวทางกฎหมายสากลโดยทั่วไป หรือกฎหมายที่มีจุดกำเนิดมาจากเจ้าอาณานิคมเดิม   

โดยสามารถแบ่งกลุ่มประเทศมุสลิม ตามระบบทางกฎหมาย ได้เป็น 3 ประเภทกว้างๆ คือ

  • กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลัก
  • กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลามผสมกับระบบกฎหมายอื่น
  • กลุ่มประเทศที่ไม่ใช้กฎหมายอิสลามเลย 

คิดอย่างไร สภ.ยะหา แจ้งเตือนวัยโจ๋ หากจับได้ว่าพลอดรัก จะต้องถูกจับแต่งงาน  

ประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลัก (อันครอบคลุมถึงกฎหมายครอบครัว กฎหมายอาญา และบางกรณีก็รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับความเชื่อส่วนบุคคล) อาทิ อียิปต์ มอริตาเนีย ซูดาน อัฟกานิสถาน อิหร่าน อิรัก มัลดีฟส์ ปากีสถาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย เยเมน และบางพื้นที่ของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไนจีเรีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 

กลุ่มที่ 2 คือประเทศมุสลิมที่ใช้กฎหมายแบบผสมผสาน อาทิ แอลจีเรีย คอโมโรส จิบูตี แกมเบีย ลิเบีย (กำลังอยู่ในการเปลี่ยนไปใช้ชะรีอะฮ์) โมร็อกโก โซมาเลีย บาห์เรน บังกลาเทศ กาซา จอร์แดน คูเวต เลบานอน มาเลเซีย โอมาน และซีเรีย 

นอกจากนี้ บางประเทศยังยินยอมให้ใช้ชะรีอะฮ์ในกฎหมายครอบครัวและมรดกสำหรับมุสลิมชนกลุ่มน้อย เช่น อินเดีย สิงคโปร์ อังกฤษ ศรีลังกา ไทย เป็นต้น 

ส่วนกลุ่มประเทศที่ไม่ใช้ชะรีอะฮ์เลย อาทิ บูร์กินาฟาโซ ชาด กินีบิสเซา มาลี ไนเจอร์ เซเนกัล ตูนิเซีย (กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง) อาเซอร์ไบจาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน ตุรกี แอลเบเนีย และโคโซโว

ทั้งนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะมีประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ที่พร้อมจะใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ในการปกครองประเทศ

ขอบคุณภาพและข้อมูล
https://thebuddh.com/?p=49386
มติชนออลไลน์.
คมชัดลึก
ศูนย์ข่าวภาคใต้อิศรา
เพจเฟซบุ๊ก 
เสียงจากแผ่นดินแม่

logoline