svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คิดยังไง คดีแก๊งลูก ตร. ฆาตกรรม "ป้าบัวผัน" สังคมประสานเสียงแก้อายุอาชญากร

15 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คิดยังไง คดีแก๊งลูกตำรวจ รุมฆาตกรรมอำพราง "ป้าบัวผัน" งานนี้สังคมประสานเสียง เห็นด้วยเร่งแก้กฎหมายลดอายุอาชญากร

เป็นข่าวที่สร้างความตกใจ ให้กับสังคมอีกครั้ง กรณีคดี "ป้าบัวผัน" สาวใหญ่ วัย 47 ปี ถูกฆาตกรรมทิ้งในสระน้ำ ข้างโรงเรียนที่ จ.สระแก้ว ซึ่งทีแรกตำรวจได้มีการจับกุมสามีผู้ตาย แต่สุดท้ายกลายเป็นเหตุการณ์โอละพ่อ  เมื่อตำรวจพบหลักฐานจากกล้องวงจรปิดว่า ฆาตกรตัวจริงเป็นกลุ่มวัยเยาวชนลูกตำรวจ และมีเหตุจูงใจแค่ต้องการแกล้งผู้เสียชีวิต ที่เป็นหญิงเมาสุรา ตามเพื่อน ๆ ก่อนกลายเป็นการฆาตกรรมอำพรางศพ

สิ่งที่ทำให้น่าตกใจคือ ผู้ที่ลงมือก่อเหตุครั้งนี้ เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุเพียง 13 - 16 ปีเท่านั้น แต่กลับก่อคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ จนทำให้ผู้คนในสังคม ต่างพากันถามหาโทษทางกฎหมาย จากพฤติกรรมโหดเหี้ยม เกินกว่าความเป็นเยาวชน ที่กลุ่มเยาวชนเหล่านี้สมควรรับ   
คิดยังไง คดีแก๊งลูก ตร. ฆาตกรรม \"ป้าบัวผัน\" สังคมประสานเสียงแก้อายุอาชญากร  

อย่างไรก็ตาม จากข้อกำหนดทางกฎหมายหลายฉบับ เกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของเยาวชน ทำให้เกิดเงื่อนไขในเรื่องของอายุเยาวชน ที่ทำให้ไม่ต้องรับโทษเท่าผู้ใหญ่ คำถามเรื่องการแก้ไขกฎหมาย ลดอายุอาชญากรรมเด็ก จึงถูกนำกลับมาพูดในสังคมอีกครั้ง 
คิดยังไง คดีแก๊งลูก ตร. ฆาตกรรม \"ป้าบัวผัน\" สังคมประสานเสียงแก้อายุอาชญากร
 

สำหรับเรื่องของการปรับแก้กฎหมาย ลดอายุอาชญากรรมเด็กนั้น ก่อนหน้านี้ "ผบ.ตร." พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ได้มีการพยายาม โดยหารือร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างจริงจัง ในการแก้ไขกฎหมาย ที่บังคับใช้กับอาชญากรเด็ก เนื่องจากที่ผ่านมา ได้เกิดคดีสะเทือนขวัญ ที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนอย่างต่อเนื่อง เช่น คดีกราดยิงกลางห้างดัง และคดีอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงมากขึ้น มีการเลียนแบบบ่อยขึ้น และที่สำคัญ ผู้ก่อเหตุก็มีอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ 

สิ่งที่น่าสนใจคือ มีการหยิบยกแบบอย่างของต่างประเทศมาศึกษา เพื่อปรับลดอายุของผู้กระทำผิด จากอายุ 15 ปี เหลือ 12 ปี ข้อเสนอดังกล่าวของ ผบ.ตร. จึงทำให้ผู้คนในสังคมจำนวนไม่น้อย เห็นว่า "เหมาะสม" และ "สมควร" ทำอย่างเร่งด่วน รวมถึงมีการเสนอให้ใช้วิธีการไม่ตัดเกณฑ์โทษตามอายุ แต่ให้มีการตัดสินเป็นเคส ๆ ไป กรณีไหนพฤติกรรมโหดเหี้ยมเกิน ก็รับโทษแบบผู้ใหญ่ 

ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ตจากเพจ Drama-addict ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ตจากเพจ Drama-addict
 

เปิดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน และการจับกุม 

การจับกุมเด็กและเยาวชน ที่กระทําความผิด   

เด็กและเยาวชนที่กระทําความผิดจะถูกจับกุม ในกรณีที่เป็นความผิด ซึ่งหน้า หรือพบโดยพฤติการณ์สงสัยว่าจะก่อเหตุร้ายหรือมีเหตุที่จะออกหมายจับแต่จําเป็นเร่งด่วนไม่อาจรอหมายได้ หรือเป็นการจับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลยที่หนี

โดยในการจับกุม ตํารวจต้องแจ้งว่าเขาต้องถูกจับ ต้องแจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิ์ให้ผู้ถูกจับทราบ และแสดงหมายจับ (ถ้ามี) จากนั้นจึงนําตัว ผู้ถูกจับไปส่งพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ถูกจับ เพื่อส่งแก่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบภายหลังการจับกุมโดยเร็ว เพ่อทำการสอบสวนสอบปากคำ ดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย และให้ ส่งตัวเด็กหรือเยาวชน ที่ถูกจับไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม ภายในเวลา 24 ชั่วโมง

คิดยังไง คดีแก๊งลูก ตร. ฆาตกรรม \"ป้าบัวผัน\" สังคมประสานเสียงแก้อายุอาชญากร  

สำหรับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน รวงถึงการรับผิดนั้น เบื้องต้นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 ฉบับ ประกอบด้วย

  • พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 
  • ประมวลกฎหมายอาญา 
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 


โดยตัวอย่างข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับคดีที่มีเยาวชนเป็นผู้ก่อเหตุ ของประมวลกฎหมายอาญา

1.เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี แม้กระทำผิดอาญา แต่กฎหมายไม่เอาโทษ โดย "ยกเว้นโทษ" ให้

2.เด็กอายุกว่า 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี แม้กระทำผิดอาญา แต่กฎหมายไม่เอาโทษ โดย "ยกเว้นโทษ" ให้ แต่จะมีวิธีการสำหรับฟื้นฟูเด็กที่กระทำผิด ที่เรียกว่า ‘วิธีการสำหรับเด็ก’ เช่น ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก

3.ผู้ที่อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี กระทำผิดอาญา กฎหมายให้พิจารณาจากเด็กนั้นว่า ควรลงโทษหรือไม่ หากเห็นว่าไม่ควรลงโทษก็อาจ "ยกเว้นโทษ" ให้ แต่จะมีวิธีการสำหรับฟื้นฟูเด็กกระทำผิดที่เรียกว่า "วิธีการสำหรับเด็ก" แต่ถ้าเห็นควรจะลงโทษ ศาลก็ต้องลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้ สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง

4.ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18 ปี กระทำผิดอาญา กฎหมายให้ศาลพิจารณาว่า จะลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือจะลดโทษให้ก็ได้ หากศาลเห็นสมควรจะลงโทษ ต้องลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง 

ส่วนความรับผิดทางแพ่ง ของผู้กระทำซึ่งเป็นเด็ก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังคงมีความผิด เพราะเป็นการก่อละเมิดต่อผู้อื่นด้วย โดยแม้กฎหมายจะ "ยกเว้นโทษ" ในทางอาญา แต่เด็กยังมีความรับผิดทางละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 429 ด้วย โดยเฉพาะครอบครัวพ่อแม่ ที่ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบการกระทำดังกล่าวด้วย เพื่อไม่ให้เกิดภาระกับสังคมในอนาคต   

เปิดขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน 

การดำเนินคดีอาญาสำหรับเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี) หรือเยาวชน (อายุ 15-18 ปี) เป็นไปตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าการสอบสวนให้พนักงานสอบสวน แยกกระทำเป็นส่วนสัด ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น   

และในกรณีที่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่า การถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะ ตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวน และห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร (มาตรา 133 ทวิ) เป็นต้น 

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 แม้เด็กจะกระทำความผิดอาญา แต่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กตามมาตรา 27 ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ”

ฉะนั้น การแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก จึงมีประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 79 ที่ลงโทษผู้ใดที่ฝ่าฝืนมาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมถึงการนำเสนอข่าว ควรดำเนินการตามที่สำนักงาน กสทช. ออกข้อกำหนด ไม่เสนอภาพข่าวแห่งความรุนแรง การเสนอภาพเด็กผู้กระทำความผิด ข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียน อาจขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อีกด้วย

สรุปได้ว่า คดีกลุ่มเยาวชนร่วมกันทำร้ายและฆาตกรรมอำพรางหญิงเมาสุราที่ จ.สระแก้ว ครั้งนี้ เป็นอีกคดี ที่มีผู้ก่อเหตุเป็นเยาชน และถือเป็นหนึ่งตัวอย่างสนับสนุน ในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการรับผิดของเยาวชน ดังนั้นจึงยังต้องติดตามต่อไปว่า บทสรุปของการแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป....

ข้อมูลจาก : กระทรวงยุติธรรมDrama-addict

logoline