svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เห็นด้วยไหม นักวิชาการมอง "เอกสารปรีดี" ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้

07 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เห็นด้วยไหม นักวิชาการมอง "เอกสารปรีดี" ฉบับปี 2024 ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้ ่หลายอย่างไม่ใช่เรื่องใหม่

เป็นประเด็นที่ยังมีชาวโซเชียลติดตามกันอยู่จำนวนมาก กรณีการเปิด #จดหมายปรีดี ที่เคยเป็นประเด็นร้อน ถึงขั้นติดแฮชแท็กติดเทรนด์ใน X (ทวิตเตอร์) เมื่อวันที่ 2 ม.ค. ที่ผ่านมา หลังจากมีผู้กลุ่มคนไทย อาทิ จรัล ดิษฐาอภิชัย, จรรยา ยิ้มประเสริฐ เดินทางไปที่หอคลังจดหมายเหตุ กรุงปารีส ฝรั่งเศส เพื่อเปิดจดหมายปรีดี เปิด "จดหมายปรีดี"
เห็นด้วยไหม นักวิชาการมอง \"เอกสารปรีดี\" ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้


ก่อนจะพบว่า เป็นจดหมายผิดซอง เป็นเอกสารเก่า ส่วนเอกสารที่หลายๆ คนตั้งตารอนั้น มีการนัดหมายที่จะเปิดเผยในช่วงเย็นวันที่ 5 ม.ค. 67 ซึ่งในรอบสอง คราวนี้ไม่ใช่เอกสาร แต่เป็นดิจิทัลไฟล์กว่า 134 หน้า ก่อนที่ต่อมาทางคณะผู้เปิดยอมรับอาจมีอยู่ถึง 100 ฉบับ กระจายอยู่ที่ต่าง ๆ ไม่ใช่ที่หอจดหมายเหตุปารีส
จดหมายปรีดีที่มีการเปิดรอบสองเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 67

 

ล่าสุด นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ลี้ภัยการเมืองในฝรั่งเศส ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Somsak Jeamteerasakul อ้างถึงข้อความของ นายดิน บัวแดง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ค้นพบและส่งข่าวดังกล่าวให้นายสมศักดิ์

ก่อนที่นายสมศักดิ์ จะโพสต์ข้อความเมื่อ 14 ม.ค. 2018 ว่า มีเอกสาร "ของ" หรือ "เกี่ยวกับ" ปรีดี พนมยงค์ ในหอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่เปิดให้ดู จนกว่าจะถึงปี 2024 โดยระบุว่า  
เห็นด้วยไหม นักวิชาการมอง \"เอกสารปรีดี\" ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้

ข้อสังเกตต่อเอกสารปรีดี

โดย ดิน บัวแดง Din Buadaeng

ต่อไปนี้จะเป็นข้อสังเกตสองประการของผม ต่อเอกสารชุดนี้ และปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น กับเอกสารชุดนี้ ประการแรก ประโยชน์ทางวิชาการของ "เอกสารปรีดี" ทั้งหมด สุดท้ายแล้ว น่าจะเป็นเรื่องชีวิตในจีนของปรีดี ในแง่นี้เอกสารปรีดี 2017 ให้รายละเอียดในเรื่องนี้มากกว่าเอกสารปรีดี 2024

เอกสารจดหมายเหตุเป็นเอกสารชั้นต้น มีข้อมูลที่เรียงต่อกันตามระยะเวลา (อาจเรียกว่าข้อมูลดิบ) ขั้นต่อไปคือ ต้องเอาข้อมูลมากลั่นกรองและอธิบายว่า มันมีความหมายอะไร โดยเทียบเคียงกับข้อมูลชุดอื่นๆ ว่าช่วยเติมเต็มสิ่งที่เราไม่รู้ หรืออธิบายสิ่งที่เราเคยรู้ได้ใหม่อย่างไร

เราจะรู้ว่าข้อมูลดิบนั้น สำคัญหรือไม่สำคัญ ก็เมื่อมีการอ่านในรูปแบบหลังนี้เท่านั้น อาจจะเรียกว่าการตีความ/วิพากษ์หลักฐานก็ได้

ความเห็นผมคือ เอกสารปรีดี 2024 มีความ original น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่มาถึงฝรั่งเศสแล้ว เช่น ประเด็นเรื่องฟ้องร้องสยามรัฐ เคยมีการเผยแพร่แล้วเป็นภาษาไทย (https://pridi.or.th/sites/default/files/pdf/2513-56.pdf) เรื่องที่ไปพูดที่อังกฤษ ก็มีการเผยแพร่นานแล้ว (https://pridi.or.th/th/content/2020/05/272) 
เห็นด้วยไหม นักวิชาการมอง \"เอกสารปรีดี\" ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ได้  

ประการที่สอง เอกสารจดหมายเหตุ ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใครจะอ่าน จะแปล ก็ย่อมทำได้ แต่มีข้อสังเกตว่าคนมักคิดว่า เอกสารเก่ามีความสำคัญในตัวมันเอง อีกทั้งในกรณีเอกสารปรีดีนี้ มีการปั่นเรื่องจดหมาย ทำให้ต้องมาอธิบายว่ามันมี "ความสำคัญอย่างยิ่งในทางการเมือง" (คุณจรรยากล่าวไว้)

สำหรับนักประวัติศาสตร์นั้น หลังจากตีความข้อมูลดิบแล้ว บางทีก็พบว่า เอกสารบางชิ้นในตัวมันเองมีความสำคัญจริง ๆ ควรได้รับการเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวแล้วไม่ได้เห็นว่า "เอกสารปรีดี 2024" มีความ original เป็นพิเศษแต่อย่างใด ทั้งในการนำไปเคลื่อนไหวทางการเมือง และในทางวิชาการ

ผมเป็นนักวิชาการ ได้อ่านเอกสารนี้เพราะได้ประโยชน์ จากการเผยแพร่เอกสารของกลุ่มของ อ.จรัล และคุณจรรยา อีกทั้งนับถือความพยายามของกลุ่มคนที่จะแปล ถ้าทำให้เนื้อหาของเอกสารเรื่องการลี้ภัยของปรีดี และเรื่องเอกสารชั้นต้นของหอจดหมายเหตุ เป็นที่สนใจมากขึ้นก็เป็นเรื่องดี

แต่ในเมื่อกลุ่มของจรรยา เคลื่อนไหวโดยใช้เอกสารชุดนี้ เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง ประโยชน์ทางการเมือง ของการแปลเอกสารวิชาการชุดนี้ทั้งชุดคืออะไรแน่ เพราะโดยเนื้อหาแล้วเอกสาร ไม่น่าจะเอามาใช้ในทางการเมืองได้ และในทางวิชาการก็ไม่ได้ original เท่าใดนัก

 

logoline