svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

19 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ“ซันปา” ฉบับที่ 10 (281/2566) โดยพายุนี้ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนืออย่างช้าๆ เข้าสู่ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย เตือนภาคใต้ ภาคตะวันออก รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยรายงานล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (19 ต.ค. 66) พายุโซนร้อน “ซันปา” มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 20.5องศาเหนือ ลองจิจูด 108.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนืออย่างช้าๆ เข้าสู่ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 23.00 น

(ลงชื่อ) ชมภารี ชมภูรัตน์
(นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

อัพเดทเส้นทางพายุโซนร้อน "ซันปา(SANBA)"  (19/10/66) : พายุนี้ ยังมีศูนย์กลางทางตอนใต้ของเกาะไหหลำ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ แต่มีแนวโน้มจะวกกลับและเคลื่อนตัวบริเวณอ่าวตังเกี๋ย พายุนี้ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่

ขอเตือนผู้ที่จะเดินทางไปประเทศเวียดนามตอนบน จีนตอนใต้ ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะ 1-2 วันนี้

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

หมายเหตุ : การประกาศเตือนพายุของกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นไปตามมาตรฐานระบบการปฏิบัติงาน (SSOP) หากมีพายุเกิดขึ้นในเขตความรับผิดชอบต้องออกประกาศแจ้งเตือน)

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง ุ19 - 28 ต.ค.66 อัพเดท 2023101812 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 

วันนี้ (19 ต.ค.66) มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) ยังแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวเริ่มพัดปกคลุม อากาศเริ่มเย็นลงในตอนเช้าฝนน้อยลงบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนยังเกิดขึ้นได้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล  ส่วนภาคใต้และในอ่าวไทย ยังมีฝน เนื่องจากร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนบน  

สำหรับพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "ซันปา (SANBA)" กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย  (ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย )  

แต่เตือนผู้ที่จะเดินทางไปประเทศจีนตอนใต้หรือเวียดนามตอนบน ต้องตรวจสอบสภาพก่อนออกเดินทางในระยะ 1-2 วันนี้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย 

ส่วนช่วง 20 - 28 ต.ค.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน มีกำลังอ่อนลงบ้าง ทำให้มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ (ในระดับกลางๆ ของชั้นบรรยากาศชั้นล่าง) พัดแทรกเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ความชื้นสูง ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว) ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีลมแรงบางวัน และมีฝนปนกับอากาศเย็น ระมัดระวังสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง

สำหรับภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง  (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

พยากรณ์ฝนสะสม 24 ชั่วโมงบริเวณกรุงเทพมหานครประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่ 07:00 น. วันนี้ถึง 07:00 น. วันพรุ่งนี้

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก  คาดหมายอากาศทั่วไป
ระหว่างวันที่ 19 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ในช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง

ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 25 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
อนึ่ง พายุโซนร้อน “ซันปา” (SANBA) บริเวณอ่าวตังเกี๋ย คาดว่าจะอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 20 – 21 ต.ค. 66 สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
ออกประกาศ 19 ตุลาคม 2566 12:00 น.

คาดหมายอากาศรายภาค
ระหว่างวันที่ 19 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19 และ 22 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ 
ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 และ 24 - 25 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 –  20 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19 และ 21 – 22 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ 
ในช่วงวันที่ 20 และ 23 - 25 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 20 – 25 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนัก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 66 ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 25 ต.ค. 66 ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 25 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนัก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

รายงานพยากรณ์อากาศวันพรุ่งนี้ 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนน้อย ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อน “ซันปา” บริเวณอ่าวตังเกี๋ยกำลังเคลื่อนตัวไปทางชายฝั่งตอนใต้ของประเทศจีน โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก  กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

ออกประกาศ 19 ตุลาคม 2566

พยากรณ์อากาศวันพรุ่งนี้ 
สำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก 
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร 
นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา : ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส 
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

กราฟิกแสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย

กราฟิกแสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย

ออกประกาศ 19 ตุลาคม 2566
ขอขอบคุณที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา 
กรมอุตุฯ ประกาศเตือน พายุซันปา ฉบับที่ 10 ภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนตกหนัก 

logoline