svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน "วัดสุทัศนเทพวราราม" เป็นพื้นที่โบราณสถาน

19 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมศิลปากร กำหนดเขตที่ดิน "วัดสุทัศนเทพวราราม" 28 ไร่ 76 ตารางวา เป็นพื้นที่โบราณสถาน

19 ตุลาคม 2566 มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน รายละเอียดระบุว่า

ตามที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ดังปรากฏตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2492 แต่มิได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานนั้น

กรมศิลปากรจึงประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ให้มีพื้นที่โบราณสถาน 28 ไร่ 76 ตารางวา รายละเอียดดังปรากฏตามแผนผังแนบท้ายประกาศ
ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน \"วัดสุทัศนเทพวราราม\" เป็นพื้นที่โบราณสถาน
ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน \"วัดสุทัศนเทพวราราม\" เป็นพื้นที่โบราณสถาน
 

สำหรับ วัดสุทัศนเทพวราราม (สุ-ทัด-เทบ-พะ-วะ-รา-ราม) นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาล ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวัด

โดยประวัติการสร้าง ในต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่พระนครชั้นใน ในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” มีพื้นที่ตั้งอยู่ในดงสะแก เป็นที่ลุ่ม

จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถมที่และสร้างเป็นวัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อน เพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง 
ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน \"วัดสุทัศนเทพวราราม\" เป็นพื้นที่โบราณสถาน

จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390

และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศน์เทพวราราม" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า "วัดสุทัศน์เทพธาราม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" , "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี" 
ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน \"วัดสุทัศนเทพวราราม\" เป็นพื้นที่โบราณสถาน

ภายใน วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้า พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนี เมื่อ พ.ศ.2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล คล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิ.ย. ของทุกปี 

ต่อมาในวันที่ 31 ส.ค. 66 กรมศิลปากรได้กำหนดเขตโบราณสถาน ของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ให้มีพื้นที่โบราณสถานจำนวน 28 ไร่ 76 ตารางวา
ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน \"วัดสุทัศนเทพวราราม\" เป็นพื้นที่โบราณสถาน
ราชกิจจาฯ ประกาศ กำหนดเขตที่ดิน \"วัดสุทัศนเทพวราราม\" เป็นพื้นที่โบราณสถาน

ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย
 

logoline