svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ราชกิจจาฯ ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

19 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับการบรรจุข้าราชการ พลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566  หลังเห็นชอบมติให้โรคจิต-โรคอารมณ์แปรปรวน สามารถรับราชการได้

17 ตุลาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566 

โดยเนื้อหาระบุไว้ว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกอบมติ

คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ จึงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ  ดังนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๖๖ 

ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต และได้รับการรับรองสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ในโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง โดยใช้แบบใบรับรองแพทย์แนบท้ายประกาศนี้

ข้อ ๔ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องยื่นผล การตรวจสุขภาพตามข้อ ๓ พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด

ข้อ ๕ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพตามข้อ ๓ ทั้งหมด

ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
โอภาส การย์กวินพงศ์
ประธานคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.

ราชกิจจาฯ ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

มาดูกันที่ตัวอย่างของ "ใบรับรองแพทย์แบบใหม่" 

สำหรับใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แทบท้ายประกาศฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สำหรับผู้ขอรับการตรวจสุขภาพ ระบุรายละเอียดดังนี้

  • ชื่อ-นามสกุล
  • ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
  • โทรศัพท์
  • อีเมล
  • เลขประจำตัวประชาชน

จากนั้นจะระบุว่า "ข้าพเจ้าขอหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อเข้ารับราชการ" ในตำแหน่ง กรม /กระทรวง รวมทั้งประวัติสุขภาพ ซึ่งมี 4 ข้อ  

  • โรคประจำตัว ไม่มี/มี (ระบุ)
  • อุบัติเหตุและการผ่าตัด ไม่มี/มี (ระบุ)
  • เคยเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ไม่มี/มี (ระบุ)
  • ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพที่สำคัญ (เว้นช่องว่างให้กรอก)

ราชกิจจาฯ ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ราชกิจจาฯ ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

สำหรับส่วนที่ 2 สำหรับแพทย์ผู้ตรวจ มีรายละเอียดดังนี้

  • สถานที่ตรวจ / วัน เดือน ปี ที่ตรวจ
  • ชื่อนามสกุลของแพทย์ที่ตรวจ
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เลขที่

ราชกิจจาฯ ประกาศ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

ก่อนหน้านี้ สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ  “กฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566” 4 โรคต้องห้ามรับราชการที่ประกอบด้วย

  • โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
  • โรคติดยาเสพติดให้โทษ
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ (ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ ของ ก.พ. กำหนด)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ย้อนอ่าน ครม.ไฟเขียวแก้กฎ ก.พ. “โรคจิต-อารมณ์ผิดปกติ” ลักษณะต้องห้ามรับราชการ

20 กันยายน 2565 ได้มีการยกเลิก “โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ” ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน เนื่องจาก "โรควัณโรค" มีแนวโน้มที่ลดลงและใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ ก็สามารถหายได้

ครม.เห็นชอบแก้กฎ ก.พ. “เพิ่มโรคจิตหรือโรคอารมณ์ผิดปกติ” ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง เป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะรับราชการพลเรือน

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอ ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรคฉบับนี้ เป็นการปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2553 ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน

การแก้ไขครั้งนี้ ได้ยกเลิก “โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ” ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน เนื่องจากโรควัณโรคมีแนวโน้มลดลงและใช้เวลารักษาประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้

พร้อมกันนี้ได้เพิ่ม “โรคจิต” (Psychosis) หรือ “โรคอารมณ์ผิดปกติ” (Mood Disorders) ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นลักษณะต้องห้ามด้วย

ส่วนโรคอื่นๆ ยังคงกำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามตามเดิม ได้แก่

1.โรคเท้าช้าง ในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

2.โรคติดยาเสพติดให้โทษ

3.โรคพิษสุราเรื้อรัง และ

4.โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง ที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

ทั้งนี้ มีผลนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ทำความรู้จักคัดกรองขอใบรับรองแพทย์ 5 โรค คือโรคอะไรบ้าง
การเข้าทำงานเป็นพนักงานหรือเข้าศึกษาในสถาบันหลายแห่ง จำเป็นอย่างยิ่งต้องผ่านการตรวจโรค หรือการตรวจร่างกายหลายอย่าง เพราะการมีสุขภาพที่ดีและไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่กำหนดไว้ 

ดังนั้น เมื่อเราผ่านการคัดเลือกแล้ว ทางต้นสังกัดจะให้เราไปตรวจร่างกายตามสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ หากผู้เข้ารับการตรวจมาพร้อมกับแบบฟอร์มที่มีรายการตรวจจากต้นสังกัดว่าต้องการผลตรวจอะไรบ้าง? ก็จะทำให้แพทย์ตรวจได้ตรงตามความต้องการ

“ใบรับรองแพทย์ 5 โรค” มาทำความรู้จักอีกสักครั้ง 5 โรคที่ว่านั้น ได้แก่โรคอะไรกันบ้าง สำหรับผู้ที่เข้ารับการตรวจอาจจะยังไม่ทราบ โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย 5 โรค ดังนี้

  • วัณโรคในระยะแพร่เชื้อ
  • โรคเท้าช้าง
  • โรคที่เกิดจากสารเสพติด
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • โรคอื่นๆ ที่เรื้อรัง ร้ายแรง หรือมีอาการแสดงอย่างชัดเจนจนเป็นอุปสรรคต่อทำงานหรือการเรียน

จากนั้น แพทย์ผู้ตรวจ จะต้องเขียนบรรยายการตรวจพบ ความเห็นว่า ควรส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ และสรุปความเห็นของแพทย์

ขอขอบคุณที่มา: เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา 

logoline