svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

06 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ดร.กฤษณพงค์" ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา ตั้งข้อสังเกต เหตุเด็ก14 ปี ก่อเหตุกราดยิงในสยามพารากอน กำลังหลอกตาทุกคนอยู่หรือไม่ เหตุเพราะได้เตรียมการมาอย่างดี "คนป่วยจิตเวช" อาจจะคิดซับซ้อนแบบนี้ไม่ได้ มาร่วมประเด็นข่าวนี้จากมุมมองนักอาชญาวิทยากันตรงนี้

สืบเนื่องจากเหตุสุดเศร้า สะเทือนใจผู้คนในสังคมวันนี้ "เด็กชาย14ปี" ก่อเหตุกราดยิงกลางห้างดัง "สยามพารากอน" เหตุสลดเมื่อ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา 

อีกความเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ทางด้าน รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า

"เด็กฉลาดที่จะอำพรางตัวเองว่าเป็นโรคจิตหรือไม่ครับ? #สยามพารากอน"

 

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

ชวนคอข่าวมาร่วมอีกมุมมองของนักอาชญาวิทยา ที่ให้สัมภาษณ์กับคมชัดลึกออนไลน์ สื่อดังในเครือเนชั่น 

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า "เคสนี้ เป็นเคสแรกๆ ที่ผู้ก่อเหตุที่เป็นเยาวชน ก่อเหตุในห้างสรรพสินค้า มีอาวุธปืนติดตัว มีกระสุนพร้อมใช้งาน ประเด็นต่อมาเลือกสถานที่ เลือกช่วงเวลา ถือว่ามีการเตรียมการ การไม่เตรียมการคือ เยาวชนทะเลาะวิวาทกัน แล้วมีเหตุให้บันดาลโทสะ แต่เคสนี้ เลือกเจาะจง ทั้งช่วงเวลา และสถานที่ หากมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ บ้านพัก คนรอบข้าง จะพบร่องรอยหลักฐานเชื่อมโยงมากขึ้น และ จะสะท้อนให้เห็นมากขึ้นว่าแรงจูงใจคืออะไร"

"ในต่างประเทศหรือในประเทศไทยเอง มีการบ่งบอก มีการฝึกซ้อม การใช้อาวุธ หรือการโพสต์ระบายข้อความคับแค้นใจ น้อยเนื้อต่ำใจ เป็นวิธีการสังเกต"

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

"ปืนที่เยาวชนวัย 14 ปีใช้ก่อเหตุ เป็นปืนกล็อก 19 โดยหลักจะเป็นปืนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยผลิตเอง ต้องตรวจสอบว่าเป็นของใคร ได้มาอย่างไร น่ากังวลตรงที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน และถ้าพบว่าเป็นปฎิบัติการตามลำพัง หรือที่เรียกว่า lone wofe หมาป่าผู้เดียวดาย ยิ่งน่ากังวล เพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละคนคิดอย่างไร จะมีแนวโน้มการใช้พฤติกรรมรุนแรงมากน้อยเพียงใด แล้วจะเลือกใช้สถานที่ วันเวลาใด ซึ่งหน่วยงานความมั่นคง หรือหน่วยข่าวกรอง ยากที่จะประเมิน"

ดร.กฤษณพงค์ เปิดเผยว่า

"ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเหตุกราดยิงมากที่สุดในโลก มีการศึกษาย้อนกลับไปถึง 40 ปี ผลที่ได้คือแรงจูงใจของคนที่ก่อเหตุค่อนข้างที่จะหลากหลาย ถูกเพื่อนบูลลี่ ได้รับความกดดันจากคนในครอบครัว หรือโกรธแค้นสังคม พบว่ามากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาทางจิตใจ ถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่ แต่สำหรับเด็ก 14 ปีคนนี้ ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิต เป็นคนประเมินอย่างละเอียด จึงได้ความชัดเจน ว่าป่วยทางจิตจริงหรือไม่" 

"คนร้ายรายนี้ มีการเตรียมการ ทั้งเสื้อผ้า อาวุธปืน เลือกเวลาช่วง ประมาณ 16.00 น. เลือกสถานที่คือสยามพารากอน ซึ่งทราบกันดีว่า ผู้คนจะเยอะมากในช่วงเวลานั้น และจะสร้างความตื่นตระหนกต่อผู้คนเป็นอย่างมาก และหลังก่อเหตุมีการส่งรูปภาพไปให้เพื่อนดู น่าคิดว่าผู้ร้ายรายนี้ต้องการอะไร ต้องการสร้างการยอมรับจากเพื่อนหรือไม่ หรือเป็นเพราะเพื่อนไม่ยอมรับหรือไม่"

"ในเรื่องการแต่งกายขณะที่ไปก่อเหตุ ผู้ก่อเหตุรายนี้ ได้แต่งกายคล้ายกับผู้ร้ายที่เคยก่อเหตุในลักษณะเดียวกัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์กฤษณพงค์ มองว่า มีแนวโน้มที่ผู้ร้ายรายนี้ จะมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ร้ายที่สหรัฐอเมริกา ใส่หมวกคล้ายกัน แต่งกายคล้ายกัน เรื่องนี้ถ้าไปสืบจากอุปกรณ์ไอทีของผู้ร้าย น่าจะเห็นความเชื่อมโยงไม่มากก็น้อย" 

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ?  ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ?  ในส่วนประเด็นของเกม ดร.กฤษณพงค์ มองว่า 

"ถ้าเล่นเกมส์ที่มีความรุนแรง เช่นหลายชั่วโมงต่อวัน หลายวันต่อสัปดาห์ จะมีผลในเรื่องการควบคุมอารมณ์ จะเป็นโกรธง่าย โมโหง่าย เพราะฉะนั้นครอบครัวก็มีส่วนสำคัญ ที่จะต้องดูแลบุตรหลานตัวเองให้ดีกว่าเดิม"

"เคสลักษณะนี้ เมืองไทยมีไม่มาก เยาวชนถือเป็นเคสแรก แต่ต่างประเทศเกิดถี่ขึ้น ดังนั้น ความน่ากังวลคือ เราไม่ทราบว่าเยาวชนคิดอะไร ทำไมมาก่อเหตุ ดังนั้น สถาบันครอบครัว ควรให้ความสำคัญมากขึ้น ผู้ปกครองน่าจะมีการสื่อสาร ให้ความรัก ความเข้าใจ ดูแลอย่างใกล้ชิด"

นิยามคำจำกัดความของ "Lone Wolf" แปลว่า "หมาป่าตัวเดียว" หรือใช้ว่า "ปฏิบัติการแบบหมาป่าตัวเดียว" เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะของความรุนแรงที่เกิดว่าเป็นปฏิบัติการแบบอิสระของผู้ก่อเหตุคนเดียว หรือมีลักษณะเป็น "lone actor"
"การใช้คำว่า ปฏิบัติการแบบหมาป่าเดียวดาย อาจจะต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ผู้ก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้มีลักษณะเดียวดาย 

อันทำให้การแปลเช่นนี้สื่อความหมายที่ผิดไปจากบริบทของการก่อเหตุ และการใช้คำคำนี้ ก็ไม่ได้มีนัยในทางจิตวิทยาว่า ผู้ก่อเหตุเป็นคน "เดียวดาย" (lonely)

คำแนะนำป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ

  • ไม่ควรเปิดเผยชื่อ ตัวตน หรือ ไม่ควรให้ค่าผู้ก่อเหตุ
  • ไม่ควรนำเสนอพฤติการณ์การก่อเหตุในขณะนั้น เพราะจะทำให้เด็ก จดจำในสมอง นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบได้
  • การนำเสนอข่าวควรเสนอไปในแนวทางให้ข้อคิด ดูสาเหตุ เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน ไม่ควรนำเสนอแนวดราม่า เพราะสมองจะถูกจดจำโดยอัตโนมัติ

สำหรับคดีสุดเศร้าสะเทือนใจคนทั้งโลกครั้งนี้ เหตุกราดยิงพารากอน ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาทั้งหมด 5 ข้อหาแก่ผู้ก่อเหตุ ประกอบไปด้วย 

  • ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน 
  • พยายามฆ่า
  • มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • พกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 
  • ยิงปืนในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต 

ทั้งนี้ได้คุมตัวผู้ก่อเหตุ "เด็ก 14" เข้าสถานพินิจเหตุกระทำตัวเป็นภัยร้ายแรง ขณะที่ครอบครัวยังไม่ได้เข้ายื่นประกันตัว

ดร.กฤษณพงค์ ตั้งข้อสังเกตุ เหตุกราดยิงพารากอน ป่วยจิตเวชจริงหรือแสร้งทำ? 

ขอขอบคุณที่มา : รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล / คมชัดลึกออนไลน์


 

logoline