svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

20 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“ดีอีเอส” เปิดรายชื่อแอปดูดเงิน แอปอันตราย มีจำนวน 230 แอป เตือนประชาชนคนไทย อย่าได้หลงเชื่อ อย่าโหลดเด็ดขาด อาจโดนดูดเงิน และข้อมูลส่วนตัวได้ รวบรวมมาให้ตรงนี้ เพื่อแจ้งเตือภัยอย่าได้หลงเชื่อมิจฉาชีพ

จากกรณีในขณะนี้ มี "แอปพลิเคชั่นปลอม" แพร่ระบาดของมัลแวร์ โดยออกอุบายหลอกลวงให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวน์โหลด ติดตั้ง หลอกดูดเงินออกไปจำนวนมากนั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

ล่าสุด ทางด้านนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส  เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งทาง ดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด

โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือ ควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้

โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวน 203 รายการ(ในตอนนี้) ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

อ่านเอกสารประกอบเพิ่มเติม : “ดีอีเอส” เปิดรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 200 แอป ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์


 

ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้ เพราะหากมีการโหลดเข้าไปในเครื่องก็จะมีโอกาสที่จะถูกดูดข้อมูลส่วนบุคคล หรือถูกรีโมทเข้ามาควบคุมมือถือของท่าน ซึ่งถ้ามีเกี่ยวกับการเงินก็อาจจะถูกโอนเงินออกไป ที่เรียกว่าใช้แอปดูดเงิน และถ้าพบแอปฯ เหล่านี้อยู่ในมือถือของท่านให้รีบลบออก ซึ่งขณะนี้ กระทรวงฯ ได้ประสานกับทาง Play Store หรือ App Store ทั้งหมดแล้วไม่ให้มีแอปฯ เหล่านี้ในระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนหลงกลแล้วโหลดเข้าไป

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการสร้าง SMS โดยใช้ชื่อเดียวกับผู้ส่ง (Sender Name) ที่เป็นธนาคาร  แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้รับ SMS เข้าใจผิดและหลงเชื่อว่ามาจากหน่วยงานจริง ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานส่วนใหญ่ได้ออกประกาศว่าจะไม่มีการส่งลิงก์ผ่าน SMS ให้กับผู้รับบริการ ดังนั้นจึงขอเตือนให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อคลิกลิงก์ที่มากับ SMS หรือเพิ่มเพื่อนจากไลน์ไอดี โดยให้สังเกตรูปแบบ เนื้อหาที่อาจเป็นสิ่งที่ดีเกินจริงหรือทำให้หวาดกลัว เช่น “คุณได้รับอนุมัติวงเงินกู้ 50,000 บาท คลิกลิงก์...” หรือ “โปรดยืนยันรหัสผ่าน มิฉะนั้นบัญชีของท่านจะถูกระงับการใช้งาน ติดต่อไลน์ไอดี...” โดยอาจจะตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่ถูกระบุว่าส่ง SMS มาอีกครั้ง

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

นายชัยวุฒิกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการสร้างเอสเอ็มเอส (SMS) โดยใช้ชื่อเดียวกับผู้ส่ง (Sender Name) ที่เป็นธนาคาร แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้รับเอสเอ็มเอสเข้าใจผิดหลงเชื่อว่ามาจากหน่วยงานจริง โดยทั่วไปหน่วยงานส่วนใหญ่ออกประกาศว่า ไม่มีการส่งลิงก์ผ่านเอสเอ็มเอสให้ผู้รับบริการ ดังนั้น ขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อคลิกลิงก์ที่มากับ เอสเอ็มเอสหรือเพิ่มเพื่อนจากไลน์ไอดี ให้สังเกตรูปแบบเนื้อหาที่อาจเป็นสิ่งที่ดีเกินจริงหรือทำให้หวาดกลัว เช่น “คุณได้รับอนุมัติวงเงินกู้ 50,000 บาท คลิกลิงก์...” หรือ “โปรดยืนยันรหัสผ่าน มิฉะนั้นบัญชีของท่านจะถูกระงับการใช้งาน ติดต่อไลน์ไอดี...” อาจตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่ระบุว่าส่งเอสเอ็มเอสมาอีกครั้ง


รมว.ดีอีเอสกล่าวต่อว่า สกมช.รวบรวมรายชื่อบริษัทที่ส่งเอสเอ็มเอสปลอมเหล่านี้เพื่อหยุดการทําธุรกรรมต่างๆ ดีอีเอสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้ผู้ให้บริการมือถือทุกค่าย และธุรกิจที่ทำเอสเอ็มเอสแล้ว หากทําสำเร็จจะไม่มีเอสเอ็มเอสปลอมอีก นอกจากนี้เรื่องการแอดไลน์ก็เช่นเดียวกัน บางทีส่งไลน์มาเป็นไลน์ปลอมให้เข้าไปแอด เห็นชื่อเห็นรูปอาจเป็นคนที่เรารู้จัก หรือเป็นบริษัท หน่วยงานที่เรารู้จัก เพราะฉะนั้นขอให้ระวังเช่นเดียวกัน


“อย่างไรก็ตาม หากจะติดต่อกับหน่วยงานใดก็ตามผ่านช่องทางออนไลน์ ควรติดต่อผ่านแอปพลิเคชันที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นแอปพลิเคชันจริง หรือไปที่เว็บไซต์ของเขาและต้องเป็นเว็บไซต์จริง วิธีการสังเกตคือ เป็นเว็บที่ลงท้ายด้วยดอททีเอช (.th) ทีเอชคือไทยแลนด์ เป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย อันนี้มีการตรวจสอบยืนยันตัวตนอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้ ดังนั้น ขอให้ประชาชนดูที่แอปพลิเคชันที่คุ้นเคยและใช้งานอยู่เป็นประจำตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและไม่ถูกหลอกให้สูญเงินด้วย” นายชัยวุฒิกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า 203 แอปพลิเคชันที่กระทรวงดีอีเอสประกาศเตือนมีรายชื่อแอป ดังต่อไปนี้ 
4K Pro Camera, 4K Wallpapers Auto Changer, Advanced SMS, aipic-Magic Photo Editor, All Good PDF Scanner, All Language Translate, All Photo Translator, Art Filters, Astro + Horoscope & Astrology, Astroline: The Daily Horoscope, Auto Sticker Maker Studio, Avatar Maker Character Creator, Baby Sticker-Track Milestones, Bass Booster Volume Power Amp, Battery Charging Ani mations Battery Wallpaper, Battery Charging Animations Bubble-Effects, Beat.ly Music Video Maker, Beat maker pro, Beauty Filter, Blood Pressure Checker, Blood Pressure Diary, Blue Scanner, Blur Image

Caller Theme, CallMe Phone Themes Call Skins, Camera Translator, Care Message, Cartoons Me, Cashe Cleaner, Chat Online, Chat SMS, Chat Text SMS, Classic Emoji Keyboard, Classic Game Messenger, Coco camera v1.1, Come Messages, Contact Background, Cool Keyboard, Cool Messages, Creative 3D Launcher, Creative Emoji Keyboard, Custom Themed Keyboard, Cut, Paste, Dazz Cam-D3D Photo Effect, Dazzle-Insta stories editor, Dazzling Keyboard, Design Maker, Desire Translate, Direct Messenger, Dizzi, DJ it!, Drink Water, Drums: Play Beats & Drum
 

 

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

 

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

อ่านเอกสารประกอบเพิ่มเติม : “ดีอีเอส” เปิดรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 200 แอป ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

"อย่าไปแอดไลน์ อย่าไปคุยกับคนเหล่านี้ เพราะว่าถ้าเขาพูดคุยเข้ามา ส่งข้อความมาที่เป็นของที่ดีเกินจริงได้ประโยชน์มากเกินควร เช่น อาจจะให้กู้เงินห้าหมื่นบาท ให้ขายสินค้าในราคาพิเศษถูกมากๆ หรือหลอกว่าจะมีรายได้พิเศษให้เรา ถ้าเราไปทํางานกับเขา ไปลงทุนกับเขา พวกนี้มันดีเกินจริง คิดไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพ ผ่านช่องทางไลน์ปลอม หรือ SMS ปลอม ก็อย่าไปยุ่ง อย่าไปกดลิงก์ อย่าไปให้ข้อมูลเด็ดขาด"  นายชัยวุฒิ กล่าว

ทั้งนี้ สกมช. ได้มีการรวบรวมรายชื่อบริษัทที่ทําการส่ง SMS ปลอมเหล่านี้ เพื่อหยุดการทําธุรกรรมต่างๆ ซึ่งกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะดำเนินการประสานงานกับ กสทช. เพื่อขอให้ผู้ให้บริการมือถือทุกค่าย และธุรกิจที่ทำ SMS แล้วปล่อยให้มีการปลอมชื่อออกมา ซึ่งหากทําสําเร็จก็จะไม่มี SMS ปลอมอีก นอกจากนี้ เรื่องการแอดไลน์ก็เช่นเดียวกัน บางทีส่งไลน์มาก็เป็นไลน์ปลอมให้เข้าไปแอด เห็นชื่อเห็นรูปอาจจะเป็นคนที่เรารู้จัก หรือเป็นบริษัท หน่วยงานที่เรารู้จัก เพราะฉะนั้นขอให้ระวังเช่นเดียวกัน

ความคืบหน้าล่าสุด 

ตำรวจปราบอาชญากรรมออนไลน์ แนะ 3 วิธีตรวจสอบมือถือแอนดรอยด์ ถูกติดตั้งแอป รีโมทดูดเงินหรือไม่?

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) ได้แนะนำวิธีตรวจสอบมือถือระบบแอนดรอยด์ (Android) แก่ประชาชนว่าถูกติดตั้งแอปพลิเคชั่นรีโมทดูดเงินหรือไม่ เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นผู้เสียหายถูกขโมยข้อมูลและเงินผ่านมือถือ จากการพลั้งเผลอติดตั้งแอปพลิเคชั่นที่แฝงมัลแวร์ลงมือถือโดยไม่รู้ตัว เป็นการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพควบคุมมือถือจากระยะไกลและสวมรอยทำธุรกรรมการเงิน โดยโอนเงินออกจากบัญชีแทนเจ้าของได้ 

ขั้นตอนการติดตั้ง มีดังนั้น

  1. ไปที่เมนูการตั้งค่า (รูปฟันเฟือง) เลือก > แอพ แล้วกดที่จุด 3 จุด มุมขวาบน เลือกเมนูย่อย > การเข้าถึงพิเศษ
  2. หากไม่สามารถเปิดดูเมนูดังกล่าวได้ โดยหน้าจอจะเด้งออกไปที่หน้าหลักทันที แสดงว่า มือถือเครื่องนั้นถูกฝัง แอปฯเรียบร้อยแล้ว
  3. สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทันที แล้วสำรองข้อมูลที่สำคัญ จากนั้นล้างเครื่อง โดยรีเซต (Reset) เครื่องกลับคืนค่าเริ่มต้นจากโรงงาน

เช็กรายชื่อแอปดูดเงินกว่า 203 แอปอันตราย ทั้ง iOS และ แอนดรอยด์

logoline