svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไขข้อสงสัย ผู้ใช้บริการ “ทรู-ดีแทค” กระทบหรือไม่ หลังควบรวมกิจการ

16 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เคลียร์ให้ชัด พร้อมไขข้อสงสัยชาวเน็ตที่ค้างคาใจ หลัง TRUE-DTAC ควบรวมกิจการ พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ทรู คอร์ปอเรชั่น" จะมีผลกระทบกับลูกค้าผู้ใช้บริการหรือไม่

สืบเนื่องจาก กรณี มติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู และ คณะกรรมการบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค มีมติร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนบริษัทใหม่โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู

ส่วนแบรนด์ ดีแทค และ แบรนด์ ทรู ยังคงชื่อไว้เหมือนเดิมตามเงื่อนไขที่ มติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดไว้ว่าเมื่อรวมกิจการแล้วต้องคงแบรนด์ไว้ 3 ปี

หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีกระแสดรามาตามมา ประเด็นร้อนๆ กับคำถามที่ชาวเน็ออกโรงทวงถาม เมื่อ ยักษ์จับมือยักษ์ ทรู กับดีแทค พร้อมจับมือ ควบรวมกิจการมีผลกระทบกับลูกค้าหรือไม่ อนาคตการให้บริการจะเป็นอย่างไร 

ไขข้อสงสัย ผู้ใช้บริการ “ทรู-ดีแทค” กระทบหรือไม่ หลังควบรวมกิจการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

สภาองค์กรของผู้บริโภคจี้"กสทช."ทบทวนมติ"ควบรวมทรู-ดีแทค" ส่อผิดกฎหมาย

อ่านตรงนี้มีคำตอบ พร้อมตอบดังๆ เลยว่า ผู้ใช้บริการ ดีแทค ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด สามารถใช้บริการได้เหมือนเดิม เพราะเมื่อควบรวมกับ ทรู แล้วจำนวนคลื่นความถี่ของ ดีแทค ไปรวมกับ ทรู มีจำนวนคลื่นมากกว่าเดิม

ขณะที่ แบรนด์ดีแทค จะยังคงอยู่ให้บริการลูกค้าต่อไป ควบคู่กับแบรนด์ของทรู

ไขข้อสงสัย ผู้ใช้บริการ “ทรู-ดีแทค” กระทบหรือไม่ หลังควบรวมกิจการ

นอกจากนี้ ดีแทค จะอาศัยจุดแข็งของทั้งสองบริษัทเข้ามาให้บริการลูกค้าได้แข็งแกร่งกว่าเดิม เช่น ลูกค้าดีแทคอาจเคยรู้สึกมีประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายไม่ดีในบางพื้นที่ หลังจากนี้ใช้สัญญาณผ่าน roaming ทำให้สัญญาณโดยรวมดีขึ้น  ลูกค้าทรูก็เช่นกัน  รวมไปถึง พวกสิทธิประโยชน์ต่างๆ สัญญาณWiFi 

หลังจากการควบรวม ทั้งแบรนด์ดีแทคและทรูจะยังคงแยกกันให้บริการลูกค้าของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผู้บริโภค และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป

ความน่าสนใจของประโยคนี้ จากแถลงการณ์ที่ทั้งสองค่ายส่งประกาศแก่สื่อมวลชนนั้น อาจจะเป็นการบอกโดยนัยว่า

เราจะยังเห็นแบรนด์ ดีแทค และ ทรู 5G อยู่ในตลาด เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า

เราจะยังเห็นแบรนด์ เอไอเอส - ทรู  - ดีแทค ในสื่อโฆษณาต่างๆ ในสื่อหลักและสื่อโซเชียล (แม้หลังบ้านจะรวมกันไปแล้ว) จากเอกสารประกาศยังบอกด้วยว่า ทั้งสองฝ่ายกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทใหม่ จะแบ่งกันประมาณร้อยละ 30 อย่างเท่าเทียม

แต่ความสนใจคือ ตัวแทนจากทรูและดีแทค ที่จะขึ้นนั่งเป็นบอร์ดบริหาร คือ นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายชารัด เมห์โรทรา ได้รับการเสนอชื่อเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ส่วนนายนกุล เซห์กัล และนางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) ในบริษัทใหม่ ก็ได้แต่คิดและสงสัยว่า ทำไมนายชารัด ถึงไม่ได้ขึ้นเป็นประธานแทน ทั้งที่ประวัติโชกโชนในการบริหารองค์กรระดับโลกมาก่อน แต่ก็เข้าใจได้ เพราะเงินใครใหญ่กว่าฝั่งนั้นก็ย่อมได้นั่งสูงกว่า

สิ่งที่หลายคนกังวลว่า หลังมีการควบรวมแล้ว ธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ย้อนไปเมื่อช่วงตุลาคม 2565 มีการหารือไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สื่อดัง Spring News ได้ทำการสรุปเงื่อนไขการประชุมหารือของทั้งสองค่ายกับทาง กสทช. ก่อนการประกาศควบรวมอย่างเป็นทางการนั้น พบว่า ลูกค้าจะไม่ต้องทำเรื่องย้ายค่าย หรือเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วง 3 ปี หลังจากควบรวม ตอนนี้สิ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงคือ ชื่อบริษัท

แพ็กเกจราคาที่ผู้บริโภคต้องลุ้น

อัตราค่าบริการ คือสิ่งที่ผู้บริโภคทุกคนกังวลว่าจะหวยออกมาในรูปแบบไหน เพราะเมื่อรวมกันแล้ว "ตัวเลือก" ในตลาดที่มีน้อยลง จะทำให้ราคาปรับสูงขึ้นหรือไม่

แม้ว่าทาง กสทช. จะกำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย โดยคิดค่าบริการลดลงเฉลี่ย 12% และต้องมีการคิดค่าบริการผ่านวิธีการเฉลี่ยราคาใหม่ ด้วยการถ่วงน้ำหนักจำนวนผู้ใช้บริการแต่ละแคมเปญ ซึ่งค่าบริการใหม่จะต้องเกิดขึ้นภายหลังการควบรวมใน 90 วัน 

เรื่องนี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนักวิเคราะห์ต่างก็มองว่า มีความไม่แน่นอน เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาที่ลดลง ค่ายมือถือไม่ต้องแข่งกันหั่นราคาลงมากเพื่อแย่งลูกค้าแบบในอดีต สะท้อนว่าผู้บริโภคอาจจะต้องจ่ายค่ามือถือแพงขึ้น และจากประสบการณ์ใช้งานเครือข่ายของทุกคนย่อมทราบดีว่า แพ็กเกจราคาค่าบริการปรับเพิ่มขึ้นทุกปี หากอ้างอิงจากราคาแพ็กเกจที่พ่วงมากับการซื้อมือถือใหม่ 

ซึ่งแพ็กเกจรายเดือน จะราคาถูกที่สุดเริ่มต้นที่ 299 - 2,199 บาท กันเลย ยังไม่รวมแพ็กเกจเสริมซื้อแต่อินเทอร์เน็ต หรือซื้อแพ็กพิเศษเพื่อใช้บริการเสริมบางอย่าง

ต่อไปผู้บริโภคจะใช้มุก "ย้ายค่าย" เพื่อขอแพ็กเกจพิเศษไม่ได้แล้ว เนื่องจากตัวเลือกมีเหลือเพียงแค่ 2 ราย จะย้ายไปค่ายไหนก็ต้องยอมรับสภาพในเรื่องแพ็กเกจ ราคาที่อาจจะไม่ดึงดูดแบบรายบุคคลเช่นเดิม

ส่วนเรื่องของคุณภาพสัญญาณนั้น อาจจะเป็นข้อได้เปรียบของผู้บริโภค เพราะดีแทคและทรูต่างก็มีความแข็งแรงในเขตพื้นที่ของตัวเอง (ทรูแข็งแรงในพื้นที่กรุงเทพ ส่วนดีแทคก็แข็งแรงในพื้นที่ต่างจังหวัด) อาจจะช่วยเสริมเรื่องการใช้งานเครือข่ายให้ดีขึ้น 

เพราะตอนนี้ ทรู มีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 80% ของประชากรส่วน ดีแทค ก็มีสัญญาณครอบคลุมทั้งประเทศ และเมื่อรวมกันจะมีจุดไวไฟเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 หมื่นแห่ง

ปัญหาใหญ่ที่ทั้งสองค่ายต้องเร่งปรับปรุง คือเรื่องของศูนย์บริการ จำนวนคอลล์เซ็นเตอร์และพนักงานในศูนย์บริการที่ผู้บริโภคยังรู้สึกว่า "ไม่น่ารัก" เท่าอีกค่าย

ทางทีมบริหารอาจจะต้องเร่งพัฒนาพนักงานให้มีใจรักบริการ เทรนนิ่งเรื่องคุณภาพ คำพูด และความใส่ใจของพนักงานที่มีต่อลูกค้า ทั้งระบบคอลล์เซ็นเตอร์ที่ลูกค้าโทรเข้าไปหรือลูกค้าโทรหา ก็ต้องปรับจูน "ทัศนคติ" ให้ลูกค้ารัก มากกว่า "เรียกแขก" ให้ลูกค้าร้องเรียน เพื่อสร้างภาพจำที่ดีให้ผู้บริโภคอยากใช้เครือข่ายของตนเองให้เยอะขึ้น

ไขข้อสงสัย ผู้ใช้บริการ “ทรู-ดีแทค” กระทบหรือไม่ หลังควบรวมกิจการ

จากการประกาศของมติที่ประชุมบอร์ดของ ทรู และ ดีแทค เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การประกาศชื่อบริษัทใหม่ที่ทั้ง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะต้องเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท และกลับเข้าไปจดบริษัทใหม่

โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ เทเลนอร์ 30% และซีพี 30% เท่ากัน เพียงแต่ชื่อที่เข้าไปจดทะเบียนการค้าใหม่ คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู เป็นเพียงมติของบอร์ดทั้งสองบริษัทยังไม่เป็นมติสิ้นสุด ซึ่งจะเกิดขึ้นใน การประชุมผู้ถือหุ้นร่วมในวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2566

หากพิจารณาจากจำนวนลูกค้า 3 ค่ายมือถือรายใหญ่ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565 พบว่า

การควบรวมทรูและดีแทคครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่ที่ตั้งขึ้น ก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ที่สุดของไทยมีลูกค้า รวมกัน 54.7 ล้านราย แบ่งเป็นระบบเติมเงิน 34.9 ล้านราย และระบบรายเดือน 17.7 ล้านราย

เปิดยอดลูกค้าของ 3 ค่ายมือถือ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565 

เอไอเอส  มีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์มือถือรวมที่ 45.7 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นลูกค้าระบบเติมเงิน 33.3 ล้านเลขหมาย และระบบรายเดือน 12.4 ล้านเลขหมาย

ทรู  จำนวนลูกค้า 33.6 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นระบบเติมเงิน 22 ล้านราย และ ระบบรายเดือน 11.6 ล้านราย

ดีแทค จำนวนลูกค้า  21.1 ล้านราย แบ่งเป็นระบบเติมเงิน 14.9 ล้านเลขหมาย และ ระบบรายเดือน 6.1 ล้านเลขหมาย

ไขข้อสงสัย ผู้ใช้บริการ “ทรู-ดีแทค” กระทบหรือไม่ หลังควบรวมกิจการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

นักวิชาการ ชี้ ข้อสังเกตุประเด็นร้อน "ควบรวมทรู-ดีแทค" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประธาน TDRI ชี้ 'มติอัปยศ' ให้ควบรวมทรู-ดีแทค

logoline