svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

14 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก้าวย่างครั้งใหม่บนเส้นทางธุรกิจโทรคมนาคม หลังควบรวม "ทรู คอร์ป " บริษัทในร่มเงาของ"เจ้าสัว ซีพี" เพื่อปูสู่ความแข็งแกร่งทางธุรกิจ

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

14  มกราคม 2566 ความคืบหน้า การควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TURE) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) มูลค่ากว่า แสนล้านบาท โดยหลังจากมติบอร์ดของทั้ง 2 บริษัทไฟเขียวควบรวมกิจการ โดยคาดว่าการควบรวมกิจการแล้วเสร็จในไตรมาสแรก ของปีนี้

หลังจาก "ดีแทค-ทรู" ควบรวมกิจการแล้วเสร็จ ทั้ง 2 บริษัทก็จะเพิกถอนบริษัทฯ ออก  ตลาดหลักทรัพย์​ และจะยื่นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ในชื่อ "บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) อีกครั้ง!!

สำหรับแบรนด์ทรู และดีแทค ถือเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ดังนั้น หลังควบรวม ทั้งแบรนด์ดีแทค และ ทรู จะยังคงแยกกันเดินในการให้บริการลูกค้าของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภค และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาด

แต่สุดท้ายแบรนด์ดีแทค จะยังอยู่ต่อไปหรือไม่ ก็ต้องรอดูนโยบายของผู้บริหาร แต่อย่างน้อยภายใน 3 ปีนี้ แบรนด์ดีแทค จะยังคงอยู่ เนื่องจากเป็น 1 ในเงื่อนไขของ กสทช.ในการควบรวมกิจการ 

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

ย้อนรอยแจ้งเกิด “ดีแทค”หากยังจำกันได้ธุรกิจมือถือในอดีตจะคู่แข่งขันสองราย คือ ดีแทค และ เอไอเอส ที่ต่างอัดแคมเปญ เพื่อช่วงชิงการเป็นเจ้าตลาดมือถือ แต่ ดีแทค ก็รั้งเบอร์ 2 มาตลอด จนกระทั่ง ทรู ก้าวเข้ามาสู่สนามมือถือ และกลายเป็นผู้เล่น ชิงอันดับ 2 จาก ดีแทค จนถึงทุกวันนี้

กระแสข่าวการขายหุ้นบริษัท ดีแทค มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส รวมถึงมีกระแสข่าวจะขายหุ้นให้กับบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ด้วยแต่สุดท้าย ดีแทค ตัดสินใจให้บริษัทเทเลนอร์ กรุ๊ป เข้ามาถือหุ้นใหญ่

“ดีแทค” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดย นายบุญชัย เบญจรงคกุล ร่วมกับ นายภูษณ ปรีย์มาโนชน จัดตั้งบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ DTAC ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายระบบ WiFi โดย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทและถือหุ้นทั้งหมด

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

ดีแทค เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมด้วยเทคโนโลยี 4G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz และ คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz บนความร่วมมือกับ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) หรือ ทีโอที

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

ในขณะที่การให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 3G คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (ซึ่งถูกเปลี่ยนมาจากคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564) และให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 2G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz

นอกจากนี้ ดีแทค ยังให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 5G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ในพื้นที่สําคัญของประเทศด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

บอร์ดทรูและดีแทคมีมติจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมพิจารณาการควบรวมบริษัท

ดีแทคแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ โดยทุกฝ่ายยังคงดำเนินการควบรวมกิจการ

ในปี 2564 DTAC มีลูกค้าอยู่ประมาณ 19.6 ล้านเลขหมายทั่วประเทศไทย โดยเป็นลูกค้าในระบบรายเดือนประมาณ 6.2 ล้านเลขหมาย และลูกค้าในระบบเติมเงินประมาณ 13.4 ล้านเลขหมาย

ในปี พ.ศ. 2561 บริษัทดีแทค ไตรเน็ต จํากัด หรือ ดีแทค ไตรเน็ต ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DTAC และ บริษัท เทเลแอสเสท จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ ดีแทค ไตรเน็ต ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ได้เข้าทําข้อตกลง กับ ทีโอที ในการให้บริการไร้สายแบบโรมมิ่งบนคลื่นความถี่ย่าน 2300  MHz เพื่อให้บริการ 4G ควบคู่ไปกับการให้บริการด้วยคลื่นความถีย่าน 2100 MHz

โดยข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวกับจะสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2568 และ ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz จาก กสทช. เมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าว จะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2570

นอกจากนี้ ดีแทค ไตรเน็ต ได้เข้าร่วม และเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz  ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz เมื่อปี พ.ศ. 2561 ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2576

ในเดือนมิถุนายน 2562 ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งจัดสรรโดย กสทช. โดยต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว ซึ่งจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2578

นอกจากนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ดีแทค ไตรเน็ต ยังได้เข้าร่วมและเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งจัดขึ้นโดย กสทช. และได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ดังกล่าวในเดือนเดียวกัน ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ 2578

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

บอร์ดทรูและดีแทคมีมติจัดประชุมผู้ถือหุ้นร่วมพิจารณาการควบรวมบริษัท

ดีแทคแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ โดยทุกฝ่ายยังคงดำเนินการควบรวมกิจการ

สำหรับ "ดีแทค" ต้องยอมรับมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงค่อนข้างบ่อยในตลอดระยะเวลา 22 ปีภายใต้การบริหารของกลุ่มเทเลนอร์ (Telenor) 

ซิคเว่ เบรคเก้ (Sigve Brekke)

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

"ซิคเว่" รับตำแหน่งซีอีโอร่วมกับ "วิชัย เบญจรงคกุล" ในช่วงปี 2002 – 2008 ซึ่งช่วงดังกล่าวถือว่าเป็นช่วงที่ตกต่ำสุดขีดของ ดีแทค เลยก็ว่าได้

การเข้ามาของ "ซิคเว่" ในช่วงนั้นเป็นเหมือนกับฮีโร่ ที่มากอบกู้สถานการณ์ให้กับ ดีแทค โดย "ซิคเว่" เข้ามาบริหารใช้เวลาเพียง 6 เดือนสามารถฟื้นดีแทคจนเป็นเบอร์ 2 ของตลาด หลังจากนั้น "ซิคเว่" ก็ออกเพื่อกลับไปบริหาร เทเลนอร์

จนในปี 2014 "ซิคเว่" กลับมารักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ดีแทค อีกครั้ง ก่อนส่งต่อให้กับ ‘ลาร์ส นอร์ลิ่ง’ ปัจจุบัน ซิคเว่ ดำรงตำแหน่งประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป

ทอเร่ จอห์นเซ่น (Tore Johnsen)

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

สำหรับ ทอเร่ ดีแทค ได้เลือกเปิดตัวในวันที่ 8 เดือน 8 ปี 2008 โดย ทอเร่ เป็นผู้ที่พยายามผลักดันการร่วมประมูล 3G พร้อมดันให้ ดีแทค มีผลประกอบการดีที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีรายได้รวม 7.24 หมื่นล้านบาท เติบโต 10% จากปีก่อนหน้า จนกระทั่งหมดวาระในปี 2011 ทอเร่ได้รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Grameenphone Ltd. บริษัทย่อยของกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศบังกลาเทศ

จอน เอ็ดดี้ อับดุลลา (Jon Eddy Abdullah)

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

เข้ามารับตำแหน่งซีอีโอเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2011 โดยก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เทเลนอร์ ปากีสถาน โดยมีประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกว่า 18 ปี

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ จอน เข้ามาดูตลาดไทย เป็นช่วงที่ไทยกำลังประมูลคลื่น 2100 MHz หรือช่วงที่กำลังจะมี 3G นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงที่เบอร์ 3 อย่างทรู เร่งทำตลาดโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคามาสู้ แม้จะผ่านมาได้ แต่ในวันที่ 2 กันยายน 2014 จอนได้ประกาศลาออกอย่างเป็นทางการ

ลาร์ส นอร์ลิ่ง

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

หลังจากที่ จอน เอ็ดดี้ อับดุลลา ลาออก ซิคเว่ เบรคเก้ ก็ได้มาดูแลตลาดไทยชั่วคราวเป็นเวลา 6 เดือน จนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015 "ดีแทค" ประกาศแต่งตั้ง ลาร์ส นอร์ลิ่ง เป็นซีอีโอคนใหม่ โดยในช่วง 3 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ดีแทค พลาดท่าเสียตำแหน่งเบอร์ 2 ให้กับ ทรู ในที่สุด

โดยในปี 2016 "ทรูมูฟ เอช" มีลูกค้า 24.53 ล้านเลขหมาย ส่วน ดีแทค มีลูกค้า 24.5 ล้านเลขหมาย และในปี 2560 ทรูมูฟ เอช มีลูกค้าเพิ่มเป็น 27.2 ล้านเลขหมาย ทิ้งห่างดีแทคไปอีก จนในที่สุดลาร์สได้ประกาศลาออก พร้อมให้เหตุผลว่า “เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ในการทำงาน”

อเล็กซานดรา ไรช์ (Alexandra Reich)

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

CEO หญิงแกร่งคนแรกของ ดีแทค ที่เข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 1 กันยายน 2018 โดยก่อนหน้านี้ "อเล็กซานดรา" เคยดำรงตำแหน่งซีอีโอ เทเลนอร์ ฮังการี และเป็นหัวหน้ากลุ่มเทเลนอร์ ในยุโรปกลาง

อเล็กซานดรา ได้เข้ามาดูแล ดีแทคในช่วงที่ตกเป็นเบอร์ 3 รวมถึง เป็นช่วงที่ 5G กำลังมา โดยทาง กสทช.ได้ประกาศประมูลคลื่น 2600 MHz เพื่อใช้สำหรับ 5G ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ แต่ยังไม่ทันจะถึงเดือนกุมภาพันธ์ "อเล็กซานดรา" ก็ประกาศลาออก โดยทำหน้าที่จนถึงสิ้นเดือนมกราคมนี้ ปิดตำนานวลี “สัญญาว่าจะไม่หยุด” ไว้เพียง 1 ปีกับ 4 เดือนเท่านั้น

ชารัด เมห์โรทรา (Sharad Mehrotra)

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

CEO คนต่อไปของ ดีแทค ที่จะรับตำแหน่งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ คือ  ชารัด ซึ่งได้ร่วมงาน กับ เทเลนอร์ ตั้งแต่ปี 2008 โดยรับตำแหน่งสำคัญในระดับบริหารในหลายประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์อินเดีย และปัจจุบัน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของเทเลนอร์ เมียนมา

นอกจากนี้ ชารัด ยังเคยดูแลสายงานด้านการกระจายสินค้าในตลาดทั่วเอเชียและพำนักอยู่ในประเทศไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

ทำความรู้จัก ตัวตน ‘ชารัด เมห์โรทรา’ เชื่อในเทคโนโลยี โลกดิจิทัล และวัฒนธรรมบริหารผ่าน ‘คน’
 

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

แบรนด์ดีแทค หลังควบรวม จะไม่ใช่แค่แบรนด์มือถืออีกต่อไป!!

 

เพื่อลูกค้าได้บริการหลากหลาย สิทธิประโยชน์มากกว่าเดิม พร้อมประสบการณ์ใหม่

บริการใหม่เพิ่มเติม ทั้ง บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล

เพิ่มสัญญาณ 5G ยกระดับประสบการณ์ใหม่ พร้อม WiFi ให้ลูกค้า

ผู้ถือหุ้นหลักเทเลนอร์ ซีพี ย้ำสัดส่วนเท่าเทียม 30%

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

เมื่อควบรวมสู่บริษัทใหม่เสร็จแล้ว แบรนด์ ดีแทค ยังคงให้บริการต่อไปลูกค้าใช้งานได้ปกติเหมือนเดิม และได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมากมาย โดยบ้านหลังใหม่ จะให้บริการหลากหลาย ทั้งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าสนใจมากกว่าเดิม พร้อมทั้งเน้นการตอบโจทย์การให้บริการที่ตรงกับความต้องการลูกค้าในราคาที่เข้าถึงได้

สัญญาณมือถือ 5G และ WiFi เพื่อลูกค้าดูหนัง แช็ต โซเชียล ประสบการณ์ใหม่กว่าเดิม

แบรนด์ดีแทค ในบ้านใหม่จะเพิ่มสัญญาณ 5G และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่ใช้งาน (coverage) และเพิ่มความจุรองรับการใช้งาน (capacity) และเพิ่มจุดใช้งาน WiFi สามารถเชื่อมต่อการใช้งานในอาคาร ศูนย์การค้า พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ
 

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

แบรนด์ "ดีแทค" คงเดิม เพิ่มเติมความแข็งแกร่งจากควบรวม

บริษัทใหม่-จะเพิ่มความแข็งแกร่งจากการดำเนินธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพิ่มศักยภาพการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการนำเทคโนโลยีล้ำหน้าระดับโลกมาสู่เครือข่ายคุณภาพและนวัตกรรมด้านดิจิทัลต่างๆ พร้อมทั้งผลักดันวาระการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทย

 

เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มเทเลนอร์ ทั้งสองฝ่ายกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นประมาณร้อยละ 30 อย่างเท่าเทียมในบริษัทใหม่ โดยเชื่อมั่นว่าการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคจะสร้างประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยสู่ความล้ำหน้า

 

นอกจากนี้  "ดีแทค" ในบ้านหลังใหม่ ยังยึดมั่นในมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการสูงสุด ซึ่งรวมถึงการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์อย่างยุติธรรมและโปร่งใสต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจอย่างต่อเนื่องในบริการคุณภาพสูงจากดีแทค 

ขอขอบคุณที่มา : ดีแทค

ย้อนเส้นทาง 34 ปี “ดีแทค” ก่อนลงเอยควบรวมธุรกิจ "ทรู" ร่มเงา "เจ้าสัว ซีพี"

"ดีแทค" ไม่ใช่แค่มือถืออีกต่อไป ลุยเดินหน้าเพื่อลูกค้าหลังประกาศความพร้อมควบรวมกิจการ เสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ มาพร้อมกับบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

logoline