svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

10 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หมอธีระ" โพสต์ให้ความรู้ สำหรับผู้ที่ติด "โควิด-19" แนะนำควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการดีขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง และการแพร่เชื้อ ย้ำอีกครั้ง คนที่เคยติดเชื้อแล้วก็ควรป้องกันตัว เพราะติดเชื้อซ้ำได้

ติด "โควิด-19" ควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการดีขึ้น ลดความเสี่ยงแพร่เชื้อ ตรวจซ้ำแล้วได้ผลลบค่อยออกมาใช้ชีวิต และป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์

 

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย
อีกความคิดเห็นทางวิชาการที่น่าสนใจ

โพสต์ล่าสุดของ "คุณหมอธีระ" หรือ "รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า 

10 ธันวาคม 2565 ทั่วโลกติดเพิ่ม 363,739 คน ตายเพิ่ม 866 คน รวมแล้วติดไป 652,794,226 คน เสียชีวิตรวม 6,656,157 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.31 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.82

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

...อัปเดตการระบาดในอเมริกา

ล่าสุดพบว่า Omicron สายพันธุ์ย่อย BQ.1.x ครองการระบาดถึงเกือบ 70% (BQ.1.1 36.8%, BQ.1 31.1%) ส่วน BA.5 เหลือเพียง 11.5% ในขณะที่สายพันธุ์ย่อยอื่นๆ รวมถึง XBB นั้นยังมีสัดส่วนน้อยมาก

ด้วยลักษณะการระบาดของ BQ.1.1 ในอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะกระจายไปที่อื่นๆทั่วโลก จากการเดินทางระหว่างประเทศ รวมถึงในไทย 

ถ้าจะประเมินเงื่อนเวลาที่เหลื่อมกันนั้น หากดูจากสายพันธุ์ก่อนๆ ที่เคยมีมาย่อมตกอยู่ในช่วง 1.5-2.5 เดือน แต่ความช้าเร็วนั้นจะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องพฤติกรรมป้องกันตัวของประชาชน นโยบายการควบคุมป้องกันโรค ความครอบคลุมของวัคซีนและเวลาที่ฉีดเข็มกระตุ้น รวมถึงปัจจัยแวดล้อมในสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร กิจกรรมเสี่ยงที่มี สถานที่เสี่ยง การระบายอากาศ

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

...การระบาดในจีน

ข่าวจาก Financial Times ชี้ให้เห็นว่า การระบาดของโควิด-19 ในจีนนั้นมีมาก แม้จะเห็นนโยบายผ่อนคลายลง แต่การปรับเปลี่ยนนโยบายนั้นอาจเป็นผลมาจากการระบาดที่เพิ่มเร็วเกินกว่าระบบสุขภาพจะรองรับได้ โดยสังเกตจากความแออัดในสถานพยาบาล และการขาดแคลนเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น ยาลดไข้ เป็นต้น

คงต้องเอาใจช่วยประเทศจีนให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้โดยเร็ว

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

...สำหรับไทยเรานั้น 

จำเป็นต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวสม่ำเสมอ

ควรไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น หากฉีดเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือนแล้ว 

เลี่ยงการกินดื่มคลุกคลีใกล้ชิดกับคนอื่นนอกบ้าน ไม่แชร์ของกินของใช้กัน

เลือกใช้บริการร้านอาหารกินดื่ม ที่ไม่แออัด ระบายอากาศดี และพนักงานใส่หน้ากากป้องกันตัว ถ้าไม่ใส่ ควรเลี่ยงไปใช้บริการที่อื่น

ไปทำงาน เรียน หรือท่องเที่ยว ควรใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง เป็นกิจวัตร จะช่วยลดความเสี่ยงแพร่เชื้อติดเชื้อลงไปได้มาก

หากไม่สบาย ตรวจ ATK เป็นบวก แปลว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วันจนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจซ้ำแล้วได้ผลลบ จึงค่อยออกมาใช้ชีวิตโดยป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์

หากไม่สบาย (อาทิ ไอ เจ็บคอ ไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ) แต่ตรวจครั้งแรกได้ผลลบ อย่าเพิ่งวางใจ เพราะอาจเป็นผลลบปลอม ควรตรวจซ้ำทุกวันจนครบ 3 วัน

ความใส่ใจสุขภาพ เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เรามีสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน


ย้อนอ่านโพสต์คำเตือนดีๆ จากใจหมอธีระ

เตือนภาวะ Long COVID กับผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด

ทีมงานจาก Department of Cardiology, Kaiser Permanente San Francisco Medical Center สหรัฐอเมริกา ทบทวนข้อมูลวิชาการแพทย์จนถึงปัจจุบัน เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Current Atherosclerosis Reports (เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา)

สรุปให้เห็นว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่ช่วงที่ติดเชื้อ และมีโอกาสส่งผลกระทบต่อเนื่องไประยะยาวในลักษณะของ Long COVID

ภาวะผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เกิดได้มากมายหลายอย่าง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว (เป็นได้ทั้งด้านซ้ายและขวา) ลิ่มเลือดอุดตัน (ในปอด หรือในหลอดเลือดดำ) โรคหลอดเลือดสมอง

นอกจากนี้ยังพบว่าจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการต้องมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยเรื่องหัวใจล้มเหลว เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน

ด้วยข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบัน ยืนยันอีกครั้งว่า โควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา และไม่กระจอก

Long COVID is real การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ

โควิด...ติด...ไม่จบแค่หายและตาย

แต่ปัญหาระยะยาวคือ Long COVID ที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิต

บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน และเป็นภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

อย่าหลงไปกับคำลวงด้วยกิเลส จะโยนหน้ากากทิ้ง จะทำให้ประจำถิ่น

ดี๊ด๊าโดยไม่ป้องกันตัว สุดท้ายคนที่รับกรรม ตกกับดัก และได้รับผลกระทบคือตัวคนที่หลงเชื่อ

ติดเชื้อ และเผชิญกับ Long COVID ด้วยตัวเอง โดยไม่มีใครมารับผิดชอบ

แม้คนที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ก็ควรป้องกันตัวเช่นกัน เพราะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้

..

ใส่หน้ากากนะครับ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง และสถานที่เสี่ยง

นี่คือหัวใจสำคัญที่จะประคับประคองให้เราพอจะใช้ชีวิต ศึกษาเล่าเรียน ทำมาหากิน ไปได้อย่างปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์สังคมที่ยังมีความเสี่ยงระดับสูง

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

ใครติด "โควิด" ต้องอ่าน แพทย์ดังแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามนี้ เพื่อความปลอดภัย

อ้างอิง : Tobler DL et al. Long-Term Cardiovascular Effects of COVID-19: Emerging Data Relevant to the Cardiovascular Clinician. Curr Atheroscler Rep. 4 May 2022.

ที่มา Thira Woratanarat

logoline