svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โควิดวันนี้ ผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษารพ. 716 คน ทั่วโลกเสียชีวิตทะลุ 6.5 ล้านราย

03 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด ยอดผู้ป่วยใหม่ 1,942 คน ล่าสุดมีผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวในรพ. 716 คน ยอดเสียชีวิต 23 ราย ขณะยอดเสียชีวิตจากโควิดทั่วโลกสะสมรวม 6,500,331 ราย

3 กันยายน 2565 โควิดวันนี้ สถานการณ์แพร่ระบาดของประเทศไทย ยังพบอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ประจำวันที่ 3 กันยายน 2565 มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,942 ราย จำแนกเป็น

 

  • ผู้ป่วยในประเทศ 1,941 ราย
  • ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 1 ราย
  • ผู้ป่วยสะสม 2,433,476 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
  • เสียชีวิต 23 ราย
  • เสียชีวิตสะสม 10,677 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)

COVID-19

  • หายป่วยกลับบ้าน 1,643 ราย
  • หายป่วยสะสม 2,439,319 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
  • ผู้ป่วยกำลังรักษา 16,723 ราย
  • จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 716 ราย

 

  หมายเหตุ   เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โควิดวันนี้ โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม เมื่อรวมกับผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษา

โควิดวันนี้ ผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษารพ. 716 คน ทั่วโลกเสียชีวิตทะลุ 6.5 ล้านราย

สถานการณ์โควิดวันนี้ทั่วโลก วันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา 06:00 น. เว็บไซต์ Worldometers รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 พบว่า.. 

 

  • ผู้ป่วยยืนยัน 609,188,781 ราย
  • กลับบ้านแล้ว 585,533,737 ราย 
  • ยังรักษาใน รพ. 17,154,713 ราย
  • เสียชีวิต 6,500,331 ราย

worldometers รายงานสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก

กทม. เตรียมความพร้อมโควิดสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การติดตามสถานการณ์ทั้งหมด รวมถึงการเตรียมในเดือน ก.ย. – ต.ค. 65 ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสถานะโรคโควิด-19 จาก “โรคติดต่ออันตราย” ไปสู่ “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” ในวันที่ 1 ต.ค. 65

 

ในช่วงเดือน ก.ย. นี้ จะเป็นช่วงที่ กทม. เตรียมพร้อมขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ อาทิ การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ การเฝ้าระวัง แผนการเปลี่ยนผ่านและแผนรองรับการระบาด ซึ่งหลังจากเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อาจมีการผ่อนคลายมาตรการ ทำให้อาจจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น รวมทั้งข้อปฏิบัติที่ต้องสื่อสารกับสาธารณะอย่างชัดเจน ว่าเมื่อเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล (Universal Prevention : UP) และมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) ยังต้องถือปฏิบัติอยู่โดยเคร่งครัด

 

ทั้งนี้ โรงพยาบาล และศูนย์บริการสาธารณสุข จะได้เร่งในการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ภาวะฟื้นฟู ในส่วนของการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ของกรุงเทพมหานคร ยังเปิดให้บริการทุกจุด โดยสามารถ Walk in และรับบริการผ่านการนัดหมาย

 

สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง หรือผู้ที่เดินทางยากลำบาก สามารถติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ซึ่งจะมีทีมเชิงรุกเข้าไปให้บริการวัคซีน ปัจจุบันตัวเลขผู้ฉีดวัคซีน ในกลุ่ม 608 เข็มกระตุ้นอยู่ที่ 69% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของประเทศ

โควิดวันนี้ ผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษารพ. 716 คน ทั่วโลกเสียชีวิตทะลุ 6.5 ล้านราย

logoline