svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศูนย์จีโนม แจงที่มา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เตือนกลุ่มเสี่ยงและอาการที่พบ

26 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ศูนย์จีโนมฯ" ออกโรงแจง โรคไข้หวัดมะเขือเทศ หลังพบระบาดในอินเดีย มีผู้ป่วยแล้ว 82 ราย คาดเกิดจากไวรัส "คอกซากี A16" เตือนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย เชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส การสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก

รายงานข่าวล่าสุดทางด้าน ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Center for Medical Genomics”  เผยแพร่ข้อความเรื่อง “ไข้หวัดมะเขือเทศ” ที่กำลังระบาดในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย โรคนี้เกิดจากไวรัสชนิดใหม่ใช่หรือไม่?  

โดยมีใจความทางวิชาการที่น่าสนใจ ระบุว่า

..

ศูนย์จีโนม แจงที่มา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เตือนกลุ่มเสี่ยงและอาการที่พบ

“ไข้หวัดมะเขือเทศ” ที่กำลังระบาดในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย เกิดจากไวรัสตัวใหม่ใช่หรือไม่?

จากการถอดรหัสพันธุกรรมจากตัวอย่างสวอบตุ่มแผลจากผู้ป่วยสองรายพบว่าเป็นไวรัส “คอกซากี A16 (Coxsackie A16)” ที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า และปาก (Hand, foot and mouth disease) มิใช่ไวรัสตัวใหม่แต่ประการใด

จากเหตุที่มีรายงานข่าวผ่านสื่อต่างๆ ไปทั่วโลก กรณีกระทรวงสาธารณสุขอินเดียได้ออกมายืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อ “ไข้หวัดมะเขือเทศ” ในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงขณะนี้พบแล้วถึง 82 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ พบการระบาดมากที่สุดในรัฐเกรละ (ซึ่งเป็นรัฐที่พบไวรัสโควิด-19 และ ไวรัสฝีดาษลิงระบาดมาก เช่นกัน) รองลงมาเป็น รัฐทมิฬนาฑู รัฐโอริสสา และรัฐหรยาณา

ที่มีชื่อเรียกขานในท้องถิ่นว่า “ไข้หวัด มะเขือเทศ” เนื่องจาก หากติดเชื้อ ผู้ป่วยซึ่งเป็นเด็กเล็กจะมีผื่นแดงคล้ายมะเขือเทศ สร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกาย โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายเป็นพิเศษ เนื่องจาก เชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น การสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก

ศูนย์จีโนม แจงที่มา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เตือนกลุ่มเสี่ยงและอาการที่พบ

แต่ปรากฏว่ามีเด็กหญิงอายุ 13 เดือนและพี่ชายอายุ 5 ขวบจากอังกฤษ บิดา มารดาได้พากลับไปเยี่ยมญาติที่อินเดีย เกิดมีผื่นขึ้นที่มือและขา เหมือนไข้หวัดมะเขือเทศ ใน 1 สัปดาห์หลังกลับจากรัฐเกรละ ประเทศอินเดียในเดือนพฤษภาคม 2022 จากการเยือนอินเดียเป็นเวลา 1 เดือน ครอบครัวนี้ได้รับทราบจากสื่อท้องถิ่นในรัฐเกรละรายงานเกี่ยวกับอาการป่วยลึกลับในเด็ก ซึ่งถูกขนานนามว่า "ไข้หวัดมะเขือเทศ" พ่อแม่เด็กแจ้งว่าลูกของเขาได้เล่นกับเด็กอีกคนหนึ่งที่เพิ่งหายจาก “ไข้หวัดมะเขือเทศ” หนึ่งสัปดาห์ก่อนจะเดินทางกลับอังกฤษ

หลังจากกลับมาอังกฤษเด็กทั้งสองก็ป่วย มีอาการไข้ออกผื่น ลักษณะเดียวกับไข้หวัดมะเขือเทศ ดร. จูเลียน ถัง จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ในสหราชอาณาจักรและเพื่อนร่วมงานได้ทำการสวอปตุ่มน้ำ และลำคอไปตรวจ “PCR” พบว่าไม่ใช่ไวรัสฝีดาษลิง แต่เป็นไวรัสในกลุ่มของ "เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)" ที่ก่อให้เกิด “โรคมือ เท้า ปาก” และจากการถอดรหัสพันธุกรรมพบว่าเป็นไวรัส “คอกซากี A16” โดยมีรหัสพันธุกรรมคล้ายกับคอกซากี A16 สายพันธุ์ที่ระบาดในจีน มิใช่ไวรัสชนิดใหม่ หรือสายพันธุ์ใหม่แต่ประการใด โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารการแพทย์ The Pediatric Infectious Disease Journal: August 19, 2022 - Volume - Issue - 10.1097/INF.0000000000003668

สรุปได้ว่า โรคอุบัติใหม่ที่เรียกว่า “ไข้หวัดมะเขือเทศ” ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กจำนวนหนึ่งในเมืองเกรละ ประเทศอินเดีย จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมจากตุ่มแผลและลำคอจากเด็กเล็กสองคนพบว่าเป็นโรคมือ เท้า และปาก อันเกิดจากไวรัส "คอกซากี A16" ที่ระบาดในเด็ก มีอาการไม่รุนแรง โดยอาจเป็นไปได้ด้วยว่าบางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสชิคุนกุนยาและไวรัสไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะ

ศูนย์จีโนม แจงที่มา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เตือนกลุ่มเสี่ยงและอาการที่พบ

"สำหรับชุดตรวจกรอง PCR ในประเทศไทย" ต่อไวรัสที่ก่อโรคมือ เท้า และปาก มีให้บริการอยู่แล้วใน รพ. ภาครัฐ และเอกชน หลาบแห่ง เนื่องจากโรคไข้ออกผื่นเกิดขึ้นเป็นประจำในเด็กเล็ก

 

หมายเหตุโรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) เกิดจากเชื้ออาร์เอนเอไวรัสขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 7411bp ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ที่ติดต่อในคน (Human Enterovirus species A/HEV-A) โดยเฉพาะ คอกซากี A 16 (coxsakievirus A16) และ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจาก HEV-A ชนิดอื่นๆอีกได้ เช่น คอกซากี A2-8, 10, 12, 14 คอกซากี B และ เอ็กโคไวรัส (echovirus) บางชนิด

 

พบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน อากาศเย็น และชื้น ทำให้มีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7-10 วันได้

ศูนย์จีโนม แจงที่มา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เตือนกลุ่มเสี่ยงและอาการที่พบ

ที่มาhttps://journals.lww.com/.../Kerala_Tomato_Flu___A...

ขออขบคุณ Center for Medical Genomics

logoline