svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"ชวน"ย้ำทหารอุปสรรคการเมือง เชื่อรัฐประหารเกิดยาก ปชช.ไม่เอาด้วย

26 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ชวน"ย้ำทหารยังเป็นอุปสรรคการเมือง มองโอกาสเกิดรัฐประหารอีกคงยาก เพราะประชาชนไม่เอาด้วย มองคนอยากเป็นนักการเมืองมีทั้งอยากทำงานบ้านเมือง และมีทั้งหาประโยชน์ เชื่อบ้านเมืองดีไม่ใช่ทำให้ทุกคนดีแต่เป็นการส่งเสริมคนดี

26 กุมภาพันธ์ 2566 "นายชวน หลีกภัย" ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยผ่านรายการ"เนชั่นสุดสัปดาห์กับ 3 บก." ถึงเหตุผลที่คนอยากเป็นนักการเมือง ว่า รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ส.ส.เป็นอะไรได้ทุกอย่าง อย่างนักธุรกิจถ้าเข้ามาก็สามารถดูแลผลประโยชน์ของตัวเองได้ นี่จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้คนหันมาสนใจการเมืองมากขึ้น ซึ่งความสนใจนี้บางคนสนใจที่จะทำงานบ้านเมืองบางคนสนใจเพื่อมาดูแลธุรกิจหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง

 

แต่ทั้งนี้ก็มองในเชิงบวกว่าคนที่สนใจทำงานบ้านเมืองมีมากกว่า แต่ในส่วนที่มากกว่าก็ไม่ได้มีเสียงอะไร ไม่มีกำลังจ่าย ซึ่งส.ส.ดีๆมีเยอะแต่คนเหล่านี้ก็ไม่มีบทบาทอะไรต้องอาศัยใบบุญพึ่งเงินเขา แต่อย่างไรก็ตามบ้านเมืองก็เปลี่ยนเยอะ ตนทำการเมืองมา 54 ปีก็เปลี่ยนไปเยอะ ชนิดว่าคนรุ่นใหม่อาจจะนึกไม่ถึงว่าในอดีตเป็นยังไง

 

สำหรับ 2554 ปีที่ผ่านมาในการทำงานการเมือง มองว่า ธนกิจการเมือง เข้ามาอยู่ในสภาเยอะสุดในประวัติศาสตร์หรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เข้าใจว่าช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการเมืองในช่วงต้น คือ ทหาร เป็นเงื่อนไข 

 

ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

"เพราะในช่วงที่ผมเป็นผู้แทน ก็เกิดการยึดอำนาจตัวเองจากจอมพล ถนอม กิตติขจร โดยใช้วิธีการให้เงินส.ส.คนละ 350,000 บาทเพื่อไปพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง ทำเป็นราชการลับส่งเงินแบบลับที่สุด ซึ่งตนเป็นคนอภิปรายว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้องทำไมต้องลับที่สุด แอบทำเพื่อเอาเงินไปให้พรรคพวกตนเองอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ผมเป็นหนึ่ง คนที่ไม่เห็นด้วยแต่เขาไม่ฟังปีต่อมาส.ส.ที่เข้ามาก็ไม่เอา 350,000 บาทขอ 1 ล้าน แต่จอมพลถนอมก็ไม่ยอม สุดท้ายก็ยึดอำนาจจัดการพรรคพวกตัวเอง" นายชวนกล่าว 

การเมืองสมัยนั้น มีทหารเป็นตัวปัญหาแต่พัฒนามาเรื่อยๆเราก็เรียนรู้บทเรียนมาจนคิดว่าความตื่นตัวของประชาชนมีมากขึ้น "เพราะว่าในปี 2512 แม้สภาจะมีอายุเพียง 2 ปี 9 เดือนแต่มีการถ่ายทอดวิทยุคนที่ฟังวิทยุ ทำให้มีคนตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น เพราะฉะนั้นการยึดอำนาจปี 2514 ไม่ได้ราบรื่นอยู่ด้วยความที่ถูกประท้วง ถูกวิจารณ์ ต่อมาได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2517 ซึ่งตนมองว่าเป็นกฎหมายที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะว่าการเสนอนโยบายของรัฐบาลต้องได้รับความเห็นชอบซึ่งนั่นเป็นเหตุให้รัฐบาลสมัยนั้นล้ม แต่ในสมัยนี้แค่แจ้งให้ทราบ"นายชวนกล่าว 

\"ชวน\"ย้ำทหารอุปสรรคการเมือง เชื่อรัฐประหารเกิดยาก ปชช.ไม่เอาด้วย

เมื่อถามว่าในฐานะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมัยนี้มีการซื้อเสียงโหวต บางโหวตต้องเป็น 5-7ล้านจริงหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เคยมีเรื่องทำนองนี้ในอดีตแต่ก่อนหน้านั้นเขาไม่ได้กินกล้วยเขาเรียกแจกซองขาว เพราะสภาชุดก่อนมีซองขาวกันในห้องน้ำ จึงมีการเขียนกฎหมายภายหลังให้ส.ส.มีสังกัดพรรค ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็น มีทั้งบวกและลบ ส.ส.มาจากหลากหลายอาชีพและเป็นระดับดร.กันเยอะ ซึ่งมีความรู้กันมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันผลลบก็ตามมา ที่มาของบุคคลเหล่านี้ก็มาจากการโกง ระบบเงินเพราะฉะนั้นอย่าไปเชื่อถ้าใครบอกจะปฏิรูปการเมือง เพราะพี่น้องประชาชนต้องติดตามคนของเขาเอง เมื่อได้คนที่มีความรู้มากขึ้นแน่นอน ที่สุดคือภาพรวมของประชาธิปไตย แต่ นอกจากที่มาแล้วพฤติกรรมที่สวนทางคือ การหาผลประโยชน์ จากตำแหน่งการเมืองมากขึ้นโดยลำดับ เพราะช่วงหลังส.ส.ต้องเป็นกรรมาธิการ ในกรรมาธิการเองก็ไม่ใช่ขาวสะอาดบางครั้งมีคนมาร้องเรียนว่ามีการเรียกเงิน ตนก็ได้กำชับกรรมาธิการทุกคณะ 

"เพราะฉะนั้นในขณะนี้ใช่ว่าสภาจะปลอดโปร่ง สิ่งเหล่านี้มีมาตลอดทุกสมัย พูดง่ายๆคือคนชั่วอยู่ที่ไหนก็ชั่ว เพราะฉะนั้นต้องยึดว่าบ้านเมืองมีทั้งคนดีและไม่ดีไม่มีใครสามารถเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองเป็นปกติเรียบร้อยคือไม่ใช่ทำให้ทุกคนดีแต่เป็นการส่งเสริมคนดี ทั้งในอดีตปัจจุบันและในอนาคต"นายชวนกล่าว 

\"ชวน\"ย้ำทหารอุปสรรคการเมือง เชื่อรัฐประหารเกิดยาก ปชช.ไม่เอาด้วย

 

ส่วนตอนนี้ทหารยังคงเป็นอุปสรรคทางการเมืองหรือไม่นั้น ตนคิดว่า ควรไม่ฟังได้แล้ว เงื่อนไขทหารแต่เดิมคือคอรัปชั่น ในสมัยตนเป็นรัฐบาลตนก็ได้กำชับว่าอย่าไปรบกับทหารอย่าไปสร้าง และอย่าไปทำเรื่องคอรัปชั่นให้ทหารนำมาเป็นเงื่อนไขเรา ทหารก็จะไม่มีอะไรมาต่อรองเราได้ ส่วนช่วงหลังมานี้ ตั้งแต่ปี 2549 ที่ใช้รัฐธรรมนูญปี 40  "รัฐธรรมนูญที่ดีไม่พอต้องคนดีด้วย ถ้ารัฐธรรมนูญดีคนไม่ดีมีปัญหา และเกิดวิกฤตในที่สุด ถ้าคนดีรัฐธรรมนูญไม่ดีก็ยังถูไถไปได้" ซึ่งในการยึดอำนาจปี 2549 มีเหตุผล 4 ข้อคือ มีการทุจริตคอรัปชั่นมีความแตกแยกสามัคคีแทรกแซงองค์กรอิสระ มีพฤกติกรรมหมิ่นสถาบันฯ ส่วนการทำรัฐประหารปี 57 ก็อย่างที่ทราบกันดีว่ามีการชุมนุมจากหลายกลุ่มทางการเมือง เกิดความแตกแยกขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นมีความพยายามที่จะแก้กฎหมาย 

หลังจากนี้โอกาสรัฐประหารหรือยึดอำนาจจะมีเกิดขึ้นอีกหรือไม่นั้น ตนบอกได้เพียงว่าไม่เพียงพอที่จะอ้างและประชาชนก็ไม่รับ "ทำอย่างไรที่จะให้กระบวนการ ประชาธิปไตย ไปรอด ที่สำคัญคือเราไม่มีเลือกตั้งมา 5 ปี 5 ปีนี้เสียโอกาสไปเยอะ แต่เมื่อเรา มาต่อ 4 ปี ความต่อเนื่อง 4 ปีก็ขาดตอนไม่ได้มาจากพื้นฐาน 5 ปีที่ได้เรียนรู้มาก่อนกลายเป็นว่าเรียนในประสบการณ์เดิม ที่นับหนึ่งมาก็ต้องนับใหม่ ไม่เกิดความต่อเนื่อง ตนจึงพยายามย้ำในสภาว่า สภาขอให้ทำหน้าที่ในสภาต่อเนื่อง

logoline