svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ยังไร้คนยื่นประกัน 'มือกราดยิง' เครียดลดลง รอผลแพทย์ประเมินสภาพจิตใจ

08 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

'ทวี สอดส่อง' เป็นประธานงานฌาปนกิจ 'ตะวัน' เหยื่อกราดยิงพารากอน ชี้แก้กฏหมายเด็กมี 2 ทาง ระบุ ปล่อยตัวหรือไม่เป็นอำนาจศาล ด้าน รองอธิบดีกรมพินิจฯ เผยผู้ก่อเหตุเครียดลดลง นอนหลับดีขึ้น รอผลแพทย์ประเมินสภาพจิตใจ ยังไม่มีการยื่นประกันตัว

วันที่ 8 ตุลาคม 2566 บรรยายางานฌาปนกิจศพของ น.ส.ตะวัน หรือ โมมิน ผู้เสียชีวิตจากเหตุกราดยิงในห้างสยามพารากอน ซึ่งมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาเป็นประธานในพิธีทอดผ้า พร้อมกับ น.ส.ศิริประกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ยังไร้คนยื่นประกัน \'มือกราดยิง\' เครียดลดลง รอผลแพทย์ประเมินสภาพจิตใจ น.ส.เกษร นายจ้างของ น.ส.ตะวัน กล่าวว่า ตนและครอบครัวต้องขอขอบคุณหน่วยงานรัฐทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้สื่อข่าวทุกสำนัก ที่ให้ความช่วยเหลือจนทำให้งานทั้งหมดผ่านไปด้วยความราบรื่น ส่วนเรื่องการจัดเก็บกระดูกของน้องตะวันนั้น ทางคุณแม่มอบหมายให้ทางบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการต่อไปทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทฯจะทำตามจุดประสงค์ที่คุณแม่ต้องการต่อไป

ยังไร้คนยื่นประกัน \'มือกราดยิง\' เครียดลดลง รอผลแพทย์ประเมินสภาพจิตใจ ยังไร้คนยื่นประกัน \'มือกราดยิง\' เครียดลดลง รอผลแพทย์ประเมินสภาพจิตใจ ด้านนางปารณีย์ หรือ นางดา เจ้าของบริษัทผู้เป็นนายจ้างอีกราย เปิดเผยว่า ในส่วนของคดีความ ตอนนี้ได้แต่งตั้งทนายความให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา สำหรับข่าวที่ออกมาว่าอาจจะมีการพิจารณาจะปล่อยตัวเด็กอายุ 14 ปี ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองนั้น ตนมองว่าถ้าเป็นเรื่องจริง จะส่งผลกระทบด้านจิตใจของพนักงานและครอบครัวตนเช่นกัน เพราะจะเกิดความกังวลตามใจมา 

อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เป็นเด็กนั้น ขอให้เป็นไปตามกฏหมายที่กำหนดไว้ ตอนนี้ตนทำหน้าที่ของนายจ้าง ซึ่งได้ดูแลในเรื่องการจัดงานศพ และดูแลเรื่องแม่ของตะวันเท่าที่จะทำได้แล้ว ในเรื่องคดีความสุดท้ายแล้วก็เป็นอำนาจการตัดสินใจของแม่ตะวันว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะหลังจากนี้จะให้ทนายได้พูดคุยรายละเอียดกับทางคุณแม่ตะวันอีกครั้ง ว่าต้องการอย่างไร ซึ่งขณะนี้ คุณแม่เองยังไม่มีความพร้อมอะไรมากนัก เพราะยังอยู่ในความเศร้าโศกเสียใจ 

ขณะที่ น.ส.ศิริประกาย กล่าวว่า เรื่องการปล่อยตัวเด็กที่ก่อเหตุนั้น เป็นเรื่องของทางศาลเยาวชนและครอบครัว ว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ ในส่วนของกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีหน้าที่ประมวลในส่วนของตัวเด็กกับทางครอบครัว และสภาพแวดล้อมทั้งหมด เพื่อรายงานต่อศาล ส่วนสภาพจิตใจของเด็กผู้ก่อเหตุในตอนนี้อยู่ในระยะของการสังเกตการณ์ของสถาบันกัลยา เบื้องต้นพบว่าตัวเด็กมีความเครียดลดลง สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น ด้านสภาพจิตใจต้องรอผลการประเมินของแพทย์ก่อน ระหว่างนี้กรมพินิจฯยังมีหน้าที่ในการดูแลเด็กอยู่ ทั้งนี้ เรื่องที่จะให้เด็กออกจากสถานพินิจหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาล และทางผู้ปกครอง ปัจจุบัน ยังไม่มีการยื่นประกันตัวเด็กแต่อย่างใด สำหรับ การควบคุมตัวในกรณีปกติ เด็กสามารถอยู่ในความดูแลของสถานพินิจได้ 90 วัน ถ้าหลังศาลตัดสิน และมีคำสั่งออกมาแล้ว เด็กสามารถอยู่ในสถานพินิจได้ถึง 24 ปี ต้องดูจากคำสั่งศาลเป็นหลัก 

นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทวี ได้กล่าวถึงกระแสสังคมที่ให้มีการแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับเด็กว่า มีทางแก้ได้ 2 ทาง คือ โดยรัฐบาล และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รวมตัวกัน 20 คนขึ้นไป เพื่อขอแก้กฏหมาย แต่กฏหมายเกี่ยวกับเด็กเป็นเรื่องสากลที่ประเทศไทยใช้เหมือนประเทศในสหประชาชาติ กรณีประเทศไทยเป็นกฏหมายเด็กและเยางชน เด็กคืออายุไม่เกิน 15 ปี เยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี เด็กกระทำความผิดก็คือการผิดกฏหมาย แต่ในขบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับเด็ก หลังศาลตัดสินแล้ว เด็กสามารถส่งฝึกและพัฒนานิสัยให้กลับคืนสู่สังคม ซึ่งสามารถอยู่ในสถานพินิจได้ถึงอายุ 24 ปี 

ส่วนผู้ร่วมกระทำหากพบว่ามี ก็จะถูกดำเนินคดีด้วย โดยดูจากอายุ ถ้าอายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้กระทำผิดจะถูกส่งเข้าในส่วนของราชทัณฑ์  อย่างไรก็ตาม การแก้กฏหมายเมื่อใช้ไปสักระยะก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป โดยต้องมีหลายภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วม ไม่อยากให้แค่เรื่องเดียวไปสรุปในเรื่องที่ใหญ่กว่า ทางรัฐบาลก็ต้องฟังทางสังคม สำหรับเรื่องนี้ทางรัฐบาลได้มีการดูแล และเยียวยาครอบครัวผู้เสียหาย รวมถึงมีการดำเนินการที่ตรงไปตรงมา ด้านคดีพนักงานสอบสวนเร่งในการทำสำนวนอยู่ และเรื่องการจะปล่อยตัวเด็กหรือไม่เป็นเรื่องของศาลพิจารณา 

logoline