svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

นัก กม. ชี้ ส่งเด็กต่างด้าว 126 คน กลับเมียนมา เสี่ยงถูกวิจารณ์ในเวทีนานาชาติ

14 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ใช่แค่เรื่องในประเทศ นัก กม.ชี้ ส่งเด็ก 126 คน กลับเมียนมา เสี่ยงถูกวิจารณ์ใน "เวทีนานาชาติ" ขณะที่หนูน้อย ขอโอกาสกลับมาเรียนต่อในไทย แต่ยังไร้หน่วยงานรัฐเหลียวแล

14 กรกฎาคม 2566 ความคืบหน้ากรณี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ พม. และกระทรวงศึกษาธิการ  ผลักดัน เด็กนักเรียนต่างด้าว 126 คน ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กลับประเทศเมียนมา เนื่องจากเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยได้ผลักดันกลับ ผ่านทางด่าน อ.แม่สาย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ซึ่งกรณีนี้ นักกฎหมายมองว่า หน่วยงานของรัฐทำผิด และแสดงความเป็นห่วง โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของเด็ก ๆ ขณะที่ นางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” อดีต ส.ว.เชียงราย และกรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) แนะผู้ใหญ่ในประเทศเปิดใจกว้างในเรื่องนี้
นัก กม. ชี้ ส่งเด็กต่างด้าว 126 คน กลับเมียนมา เสี่ยงถูกวิจารณ์ในเวทีนานาชาติ

ล่าสุด ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เมียนมาไม่ใช้ดินแดนที่ปลอดภัย และไม่มีโรงเรียนดี ๆ ใคร ๆ ก็รู้ รวมทั้งไม่ใช่ตลาดแรงงานที่ดี จึงเห็นข่าวจำนวนมาก ที่เล่าเรื่องผู้ลี้ภัยจากเมียนมา หรือนักเรียนที่ข้ามแดนมาเรียนจากฝั่งเมียนมา หรือแรงงานที่ข้ามชาติจากเมียนมา เข้ามาทำงานในประเทศไทย 

ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวว่า หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยประโยชน์สูงสุดของเด็ก เป็นเรื่องแรกที่ถามกันเสียงดังว่า  การอพยพเด็กออกจากโรงเรียนที่อ่างทอง ไปรอการส่งกลับที่ชายแดนไทยเมียนมาที่เชียงราย เป็นความคิดที่ถูกต้องต่อหลักกฎหมายนี้จริงหรือไม่  กรมกิจการเด็กและเยาวชนของรัฐไทย รอตอบคำถามในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้เลยว่า การไม่มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ที่จังหวัดอ่างทองหรืออย่างใด   

“เราเคยเห็นเด็กไร้สัญชาติ จากเมียนมาจำนวนมากมาย ที่จบการศึกษาที่อ่างทอง แล้วก็มาเรียนที่ธรรมศาสตร์ แล้วก็กลับไปพัฒนาเมียนมา ในยุคของนางอองซาน ซูจี  และก็ต้องกลับมาประเทศไทย เนื่องมาจากการรัฐประหารในเมียนมา พอฝุ่นหายกระจาย ก็พบว่า เด็ก ๆ จากอ่างทองส่วนหนึ่ง เป็นเด็กไร้สัญชาติในเชียงรายเอง  ตอนนี้ก็ทราบแล้วว่า มาจากโรงเรียนไหนบ้าง ก็ควรจะรีบรับเด็กไปเรียนต่อ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้แก่เด็ก ควรที่ NGO ด้านเด็ก จะต้องรวมตัวกัน เพื่อส่องตะเกียงเจ้าพายุ ไปที่เด็กที่เสียโอกาสทางการศึกษา ในประเทศนี้ การทำอะไรเงียบ ๆ ไม่น่าจะมีความสำเร็จ ในการคุ้มครองเด็กด้อยโอกาส กฎหมายคุ้มครองเด็ก ในระดับพระราชบัญญัติ และในระดับอนุสัญญา ก็เข้มแข็งมาก ที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐไทย ที่ทำลายโอกาสทางการศึกษาของเด็ก ๆ ในครั้งนี้ 

นัก กม. ชี้ ส่งเด็กต่างด้าว 126 คน กลับเมียนมา เสี่ยงถูกวิจารณ์ในเวทีนานาชาติ

ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวว่า อีกเรื่องคือ หลักกฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องตลาดแรงงานที่เสรีและเป็นธรรม ซึ่งรัฐบาลไทยตั้งแต่ ยุคที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ก็คิดออกว่า การเปิดตลาดแรงงานไร้ฝีมือ ที่ขาดแคลน ให้คนจากเมียนมา เป็นความคิดที่ถูกต้อง

ซึ่ง สภาความมั่นคงแห่งชาติ ก็คิดออกตั้งแต่ปี 35 ว่า ถ้าจะจับคนจากเมียนมา ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายในแต่ละวัน คงไม่มีห้องกักเพียงพอ ดังนั้นการเอาพวกผู้ใหญ่ มาขึ้นทะเบียนแรงงาน เพื่อทำงานในตลาดงานไร้ฝีมือ ที่ยากลำบาก ส่วนเด็ก ๆ ก็ให้เรียนตามมาตรฐาน การศึกษาแบบสากล จึงเป็นเหตุให้มีทายาทรุ่นสอง จากเมียนมา มาทำงานกึ่งไร้ฝีมือ หรือมีฝีมือจำนวนมาก ในนิคมอุตสาหกรรมชายทะเล ความขาดแคลนแรงงานของไทย จึงพอแก้ไขในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา   
 

“ใคร ๆ ก็รู้ว่า แรงงานจากเมียนมา จำเป็นต่อเศรษฐกิจไทย ที่มีแต่ผู้สูงวัยมากขึ้นทุกวัน และคนหนุ่มสาวทิ้งไปอาศัยในต่างประเทศ  ระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานไร้ฝีมือ ที่สร้างออกมาอย่างดีในปี 47 จนถึงปัจจุบัน ทำให้กระทรวงแรงงานของไทย เข้าใจการจัดการคนเมียนมา ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายให้เป็นถูก จึงสงสัยมากว่า ระบบราชการอีกส่วนที่อ่างทอง หรือที่ ดย. ลืมประสบการณ์ในส่วนนี้ไปได้อย่างไร สงสัยจริง ๆ"  


รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์กล่าวว่า เรื่องที่คาใจคนสอนกฎหมายมากคือ มีความตกลงในเสาหลักอาเซียน ทางสังคมและวัฒนธรรม ในเรื่องการพัฒนาเด็กอาเซียน ดังนั้น ก่อนจะอพยพเด็กจากอ่างทอง  คณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่อ่างทอง มีโอกาสคิดถึงพันธกรณี ตาม กฎบัตรอาเซียน นี้หรือไม่ แล้วมาที่เชียงราย ได้มีการประชุมคณะกรรมการ คุ้มครองเด็กจังหวัดเชียงราย หรือไม่

“มีหลายคำถาม ทางกฎหมายคุ้มครองเด็กที่ควรตอบ ทั้งในระดับโลกและอาเซียน ขอเตือนว่า ถ้าคนทำงานคุ้มครองเด็ก ในระดับจังหวัดและระดับชาติ ลืมไปว่า กฎหมายดังกล่าวมีอยู่ ก็เตรียมตัวรับผิดชอบ ในทางระหว่างประเทศได้เลย การรีบผลักเด็กออกไป ให้พ้นหูพ้นตา ไม่ใช่ผลงานที่ดี แก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน อย่างที่ทำกันในช่วงปี 53 เป็นต้นมา จะดีกว่า จึงควรกลับไปทบทวน" 
นัก กม. ชี้ ส่งเด็กต่างด้าว 126 คน กลับเมียนมา เสี่ยงถูกวิจารณ์ในเวทีนานาชาติ  

พบนักเรียนกว่า 50 คนได้รหัส G แล้ว แต่ถูกใช้ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองบังคับ  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เด็กนักเรียน 126 คน ที่ถูกนำมาพักไว้ที่บ้านเด็กต่าง ๆ 5 แห่ง ในจังหวัดเชียงราย ได้ถูกส่งกลับประเทศเมียนมา ทางด่านแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เกือบหมดแล้ว ที่เหลือถูกนำมาพักอยู่ที่ บ้านเด็กและครอบครัว ใน อ.แม่จัน

อย่างไรก็ตาม มีเด็กบางส่วน ต้องการที่จะเดินทางกลับเข้ามาเรียน ในโรงเรียนฝั่งไทยอีก แต่ยังไม่มีหน่วยงานของรัฐบาลไทย ให้ความช่วยเหลือ ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ที่มีฐานะยากจน และต้องการที่มาอยู่โรงเรียนประจำ ที่มีที่พักด้วย เพราะไม่สะดวกที่จะเดินทาง ข้ามแดนไปเช้า - เย็นกลับ

จากการตรวจสอบพบว่า ในจำนวนเด็ก 126 คน มี 54 คน เคยเรียนในโรงเรียนฝั่งประเทศไทย ก่อนที่จะย้ายไปโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 โดยเด็กเหล่านี้ ได้รหัส G แล้ว นั่นหมายความว่า รัฐบาลไทยเคยจัดเงินอุดหนุนให้ตามระเบียบ มีการลงทะเบียนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้แล้วตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ แต่เมื่อเกิดเรื่องขึ้น และมีการอ้างความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ทำให้เด็ก ๆ ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทำให้เห็นถึงความสับสน ในการใช้กฏหมายแต่ละฉบับ

เด็กนักเรียนรายหนึ่ง อายุ 11 ปี อยู่ชั้น ป.2  ซึ่งเป็น 1 ในจำนวน 126 คน กล่าวว่า ตนถูกส่งกลับไปที่ท่าขี้เหล็ก ได้ราว 1 สัปดาห์แล้ว แต่อยากกลับไปเรียนที่ฝั่งไทยอีก โดยอาจจะไปเรียน ที่โรงเรียนแห่งเดียวกับพี่ชาย ตนอยากเรียนให้จบสูง ๆ รู้สึกเสียใจมาก ที่ออกจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 เพราะอยู่ที่นั่นสนุก และคิดถึงเพื่อน ๆ และผู้อำนวยการโรงเรียนที่ใจดี
นัก กม. ชี้ ส่งเด็กต่างด้าว 126 คน กลับเมียนมา เสี่ยงถูกวิจารณ์ในเวทีนานาชาติ

logoline