svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ยุบสภา 24 ธ.ค.-นับผิดหรือพร้อมเลือกตั้งจริง?

02 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การเมืองเวลานี้ยังคงต้องจับตาถึงความเป็นไปได้ต่อกระแสข่าวการยุบสภาก่อน วันที่ 24 ธ.ค. หลังผู้นำฝ่ายค้านออกมาเปิดประเด็น ขณะที่ "บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม" ต่างก็ออกมาผสานเสียงปฏิเสธเรื่องนี้

โดย "รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก" คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะอดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้วิเคราะห์ต่อกระแสข่าวดังกล่าว โดยเฉพาะจำนวนของฝ่ายรัฐบาลที่มีน้อยกว่าฝ่ายค้าน จนนำไปสู่การยุบสภานั้น เท่าที่จำได้ไม่มี แต่ถ้าจะมีเพียงการเทคะแนนเสียงจากรัฐบาลไปฝ่ายค้าน เช่น สมัยรัฐบาล "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช" ในการเทคะแนนเสียงประมาณ 17-18 เสียง ในศึกซักฟอก  

 

รศ.ดร.เจษฎ์ ขยายความต่อว่า หากคาดการณ์กันว่าจะยุบสภา แล้วมีส.ส.รัฐบาล 30-50 เสียงย้ายไปฝ่ายค้าน คำถามคือแล้วส.ส.รัฐบาล จะไม่อยู่ร่วมกับฝ่ายทำไม กำลังได้จริงหรือไม่ หรือเข้าภาวะเลือกตั้ง ซึ่งก็ต้องยอมรับอาจจะไม่จริงในเรื่องสรรพกำลังรัฐบาลจะสมบูรณ์ไปทุกอย่างกว่าฝ่ายค้าน แต่อย่างน้อยการได้อยู่ศูนย์กลางอำนาจก็ยังเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะหากไปแล้วเสมอตัวก็ไม่เท่าไหร่ แต่หากไปแล้วติดลบเท่ากับซวย

 

ส่วนเรื่องยุบสภา 24 ธ.ค.นั้น ไม่รู้ว่าฝ่ายค้านเล่นเกมหรือนับผิด เพราะตามความเป็นจริงให้นับถึงวันเลือกตั้ง แต่ที่นับ 24 มี.ค. ไม่ทราบว่าจะเป็นการขุดบ่อปลาหรือไม่ หรือเอามาเป็นตัวต่อรอง หรือทำให้ประชาชนคิดไปในแนวทางเดียวกัน ว่ารัฐบาลอยู่นานไม่มีอะไร ก็ยุบๆไปแล้วกัน 

"จริงๆ ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะหากยุบสภาเลือกตั้ง 45-60 วัน สังกัดพรรคภายใน 30 วัน ดังนั้น ฝ่ายค้านจะดิ้นรนเพื่ออะไร เพราะหากอยู่ครบสบายมากกว่ายุบสภา แต่คำถามคืออยากไปสนามเลือกตั้งเร็วจริงหรือ กระสุนดินดำและไม่ดำจริง เขียวถึงเทา มีพร้อมแล้วหรือยัง มั่นใจว่าจะลงไปจัดการได้หรือไม่ ถึงเร่งให้ยุบสภา" รศ.ดร.เจษฎ์ ระบุ

 

อย่างไรก็ตาม สมมุติว่า พล.อ.ประยุทธ์ อยู่เลยวันที่ 7 ก.พ. คือ อยู่ครบสมัย ไม่ไปสังกัดพรรคการเมือง ก็ลง ส.ส.ไม่ได้ แต่เรื่องนี้คิดได้ 2 แบบ คิดยุบสภา คือ อยู่ แต่ถ้าอยู่ครบ คือ ไม่เล่น ซึ่งนายกฯยังมีไพ่ในมือที่จะเล่น โดยพรรคร่วมรัฐบาลได้ประโยชน์มากกว่า ทำให้ฝ่ายค้านต้องเขี่ย แต่ถ้ากระสุนถึงก็เล่นได้ 

การที่รัฐบาลจะไปอยู่ฝ่ายค้าน มี 2 ปัจจัย คือ  

 

ประการแรก มองซ้ายมองขวาแล้วเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ หมดสมัยนิติบัญญัติ หมดประชุมเอเปค เปิดอภิปรายทั่วไป ก็ไม่มีอะไร เป็นเพียงส.ส.ธรรมดา อยู่แล้วไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้น ก็แสดงความจริงใจไปเพื่อไทยหรือก้าวไกล แต่ถ้าลาออก ขาดการเป็นส.ส.ก็หมดสิทธิ์โหวต อยู่เป็นหอกข้างแคร่ แต่โหวตให้ฝ่ายค้าน หรือไม่ก็ลุ้นให้ขับออกจากพรรคอย่างกรณี "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" ส.ส.พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย 

 

ประการที่สอง คิดว่าจะต้องลงไปทำพื้นที่มากขึ้นและเร็วขึ้น เพราะพล.อ.ประยุทธ์ อยู่ครบสมัย ยกตัวอย่าง กรณี "นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าฯ กทม. ช่วงลงหาเสียงได้ทำมาถึง 2 ปี ถือเป็นการคิดเร็ว เพราะเล่นการเมืองส่วนกลางไม่ได้อะไร ไปทำการเมืองท้องถิ่นตั้งแต่แรกๆ เนิ่นๆ หาเสียง 3 เดือน กับ 1 ปี มีโอกาสชิงคะแนนเสียง 

 

สำหรับเรื่องกฎเหล็ก 180วัน แน่นอนว่าบังคับพรรคการเมือง ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล แต่เนื่องจากว่ากฎหมายบังคับให้สังกัดพรรค ดังนั้น คนน้อยมาก ยกเว้นรัฐมนตรีอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ และ อ.วิษณุ ที่เหลือติดกรอบ 180 วัน หาก "บิ๊กตู่" ไปสังกัดพรรคการเมืองหาเสียง ส่วนอ.วิษณุ คงไม่ แต่ไม่สังกัดพรรค ก็ไม่มีนัยะสำคัญ ซึ่ง 90% ติดกรอบ 

 

"แต่ถ้าใช้เป็น ทำนอกรีต ไม่อยากติด ก็ไม่ใช่เงินหาเสียงหรืออามิจสินจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นเงิน หรือสัญญาว่าจะให้ ชูนโยบายไปว่าดีอย่างไร เช่น ญี่ปุ่น หรือยุโรป ทำกัน แต่ถ้าไม่ทำแบบนี้ก็เหมือนการขับรถพอเห็นสัญญาณไฟเหลือง ต้องเตรียมหยุด แต่ดันขับฝ่า แล้วก็แดง ไปจอดรถคากลางทางถนน ทำรถติด ก็ผิด ดังนั้น คนกระทบกับเรื่องนี้ ก็พวกคิดไม่อยู่ในกรอบ" อดีตที่ปรึกษา กรธ. ระบุ

logoline