svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

‘นริศร ทองธิราช’ อดีตส.ส.พท. คุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา เสียบบัตรแทนกัน

22 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลฎีกานักการเมือง จำคุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา 'นริศร ทองธิราช' อดีตส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย คดีเสียบบัตรแทนกัน ปี56 ชี้พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าเคยทำผิดมาก่อน แต่ไม่มีเหตุรอการลงโทษแก่จำเลยได้

22 กันยายน 2565 เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.36/2562ที่ อัยการสูงสุด โจทก์ ยื่นฟ้อง นายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสียบบัตรเเทนกัน

จากกรณี อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พรป.ปปช.123/1 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นั้น

‘นริศร ทองธิราช’ อดีตส.ส.พท. คุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา เสียบบัตรแทนกัน

โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 เวลากลางวัน มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาวาระที่สอง เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติม เวลา 17.33 น. จําเลยนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นบัตรจริงของจำเลยและของสมาชิกรัฐสภารายอื่นหลายใบเสียบเข้าไปในเครื่องออกเสียงลงคะแนนและกดปุ่มเพื่อแสดงตนและลงมติ ต่อมาวันที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 16.43 น. จำเลยนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นบัตรจริงของจำเลยและของสมาชิกรัฐสภารายอื่นจำนวนหลายใบเสียบเข้าไปในเครื่องออกเสียงลงคะแนนและกดปุ่มเพื่อแสดงตนและลงคะแนน

ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 นับโทษจำเลยต่อจากโทษ จําคุกในคดีอาญาหมายเลข ที่ อม.8/2565 ของศาลนี้ จําเลยให้การปฏิเสธ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่า โจทก์มีอำนาจยื่นฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ไม่มีประเด็นเรื่องความรับผิดทางอาญา การที่บุคคลใดจะต้องรับโทษอย่างไรหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเป็นคดีอาญาต่อไป คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมมี อำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้ชี้มูลความผิดไปโดยอาศัยเหตุที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังที่จำเลยต่อสู้

แม้รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐสภามีอำนาจ หน้าที่ในการเสนอญัตติและพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ในส่วนการกระทำของสมาชิก รัฐสภาในฐานะเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติใดที่อาจมีความรับผิดทางอาญาก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาล คณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้เร่งรีบรวบรัดโดยมุ่งจะเอาผิดดังที่จําเลยอ้าง บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุวันเดือนปีที่เกิดเหตุโดยละเอียดแล้ว จำเลยมิได้แถลงต่อศาลว่าไม่เข้าใจคําฟ้องและฟ้องของโจทก์บรรยายชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง

‘นริศร ทองธิราช’ อดีตส.ส.พท. คุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา เสียบบัตรแทนกัน

ปัญหาข้อต่อไปว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จำเลยเบิกความรับว่าบุคคลที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์คือจําเลย อันเจือสมกับคำเบิกความของนางสาว ร. ศาลส่งคลิปวีดิทัศน์ไปตรวจพิสูจน์แล้วไม่พบร่องรอยการตัดต่อ ฟังได้ว่า จำเลยนำบัตรหลายใบเสียบเข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏภาพใน คลิปวีดิทัศน์ทั้ง 3 คลิปจริง


ปัญหาต่อไปว่า การที่จำเลยนำบัตรหลายใบใส่เข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นการลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นหรือไม่ พยานโจทก์หลายปากเบิกความว่า บัตรในคลิปวีดิทัศน์เป็นบัตรจริง และมีจำนวนมากกว่า 1 ใบ เหตุที่ทราบว่าเป็นบัตรจริงเนื่องจากเป็นบัตรที่มีรูป การกระทำของจำเลยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนอันส่งผลให้ปรากฏผลการลงคะแนนหลายครั้งสำหรับบัตรแต่ละใบได้
จึงฟังว่าจำเลยลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่น เมื่อไม่มีการออกบัตรใหม่แทนบัตรใบเดิมจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จําเลยจะมีบัตรจริงหลายใบดังที่อ้าง บัตรเดิมไม่สามารถลงคะแนนได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จำเลยจะต้องนําบัตรที่ถูกยกเลิกแล้วมาใช้บัตรจริงและบัตรสำรองจะแสดงผลการลงคะแนนเพียงครั้งเดียวจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องใส่ทั้งบัตรจริงและบัตรสำรองลงในเครื่องอ่านบัตรภาพตามคลิปวีดิทัศน์ปรากฏว่ามีสัญญาณไฟกะพริบทุกครั้งที่ใช้บัตรแต่ละใบ แสดงว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ลงคะแนนทั้งสิ้น พยานหลักฐานฟังได้ว่า จำเลยลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นจริง
ปัญหาต่อไปว่า การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นเหตุการณ์ตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ตรงกับข้อความรายงานการประชุมรัฐสภาซึ่งได้บันทึกถ้อยคำของ ผู้เข้าร่วมประชุมไว้แบบแทบทุกถ้อยคำย่อมนำมาเปรียบเทียบกับเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ได้

ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นเหตุการณ์ตามฟ้อง แม้ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 แต่ก็หาได้มีผลเป็นการลบล้างว่าไม่มีการกระทำของจำเลยอันมิ ชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้น หรือมีผลกลับกลายเป็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด การกระทําของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำต่างวันเวลากัน ความผิดในแต่ละคราวอาศัยเจตนาในการกระทําความผิดแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิด 2 กรรม พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 123/1 เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุก กรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91

องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากให้ ลงโทษจําคุกกระทงละ 1 ปี คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 8 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 16 เดือน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดใด ๆ มา ก่อนก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษแก่จําเลยได้ ส่วนที่โจทก์มีค่าขอให้นับโทษจําเลยต่อจากโทษของ จําเลยในคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2565ของศาลนี้ นั้น เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคำพิพากษา คำขอให้ยก
...

‘นริศร ทองธิราช’ อดีตส.ส.พท. คุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา เสียบบัตรแทนกัน ‘นริศร ทองธิราช’ อดีตส.ส.พท. คุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา เสียบบัตรแทนกัน
ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 ที่ศาลฎีกา (สนามหลวง) ฝ่ายพนักงานอัยการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย กรณีเสียบบัตรแทนกันในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. โดยมิชอบ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123

รายงานข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช. แจ้งว่า คดีนี้ในส่วนของถอดถอนสิ้นสุดลงไปแล้ว ได้ส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดำเนินการหมดแล้ว ส่วนคดีดังกล่าวเป็นเพียงสำนวนเดียวในคดีอาญาจากอีกหลายสำนวนที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช. และมี 2 สำนวนที่ถูกส่งให้กับ อสส. แล้ว แต่มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการและ ป.ป.ช. ได้แก่ คดีกล่าวหานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีไม่ตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญว่าสมาชิกดำเนินการถูกระเบียบหรือไม่ และนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย กรณีสลับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปลายปี 2559 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญา และถอดถอนนายนริศร นายสมศักดิ์ และนายอุดมเดช โดยกรณีนายนริศร พบพฤติการณ์ปรากฏจากคลิปวีดีโอว่า นายนริศร มีการเสียบบัตรแสดงตนในเครื่องคนอื่น และดึงออกมาเสียบใหม่ โดยเป็นการโหวตในมาตรา 9 และมาตรา 10 ของการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งที่สมาชิกรัฐสภามีเสียงเดียว เสียบบัตรแทนกันไม่ได้ ดังนั้นการกระทำของนายนริศร จึงเข้าข่ายมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123 และ 123/1 รวมถึงจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ทั้งที่ไม่ได้มีตำแหน่งเช่นที่ว่า แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ทำให้การลงคะแนนเสียงถูกบิดเบือน

ส่วนนายอุดมเดช มีความผิดฐานสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1 โดยจะส่งสำนวนและความเห็นแก่อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงส่งสำนวนและความเห็นให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาถอดถอนต่อไป

นอกจากนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังตรวจสอบพบพฤติการณ์ของนายสมศักดิ์ ในฐานะประธานรัฐสภา ที่ไม่ตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก่อนจะนำเข้าสู่วาระการประชุม ทั้งที่มีหน้าที่พิจารณาเอกสารให้ครบถ้วน และยิ่งการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ต้องตรวจดูว่าร่างดังกล่าวสมาชิกรัฐสภาลงนามครบหรือไม่ มีการทำถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ อีกทั้งภายหลังรับหลักการแล้ว ไม่ชัดเจนในคำสั่งการแปรญัตติ มีการสรุปวันแปรญัตติภายใน 15 วัน ซึ่งตามปกติควรนับตั้งแต่วันที่มีการโหวต แต่นายสมศักดิ์นับเวลาตั้งแต่วันที่รับหลักการ ส่งผลให้เหลือเวลาแปรญัตติแค่ 1 วัน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้วว่า กระทำไปโดยมิชอบ ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงชี้มูลความผิดทางอาญาแก่นายสมศักดิ์ด้วย ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1

ทั้งนี้ นายอุดมเดช นายนริศร และนายสมศักดิ์ เคยถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถอดถอนจากตำแหน่งไปแล้ว

พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน ก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษได้

logoline