svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กระทรวงทรัพย์ฯมอบรางวัลเชิดชูเกียรติท้องถิ่นยกเมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม

01 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงทรัพย์ฯ จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติองค์กรปกครองท้องถิ่น"เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน"ระดับพื้นที่ปี 63 และระดับประเทศปี 64 ด้าน"วราวุธ"เชื่อใครได้รางวัลไปแล้ว จะรักษามาตรฐานตัวเอง

1 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดพิธีมอบรางวัลเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ เผยแพร่ผลงานและนวัตกรรมการพัฒนาเมืองของเทศบาลที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเมืองและเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

 

กระทรวงทรัพย์ฯมอบรางวัลเชิดชูเกียรติท้องถิ่นยกเมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

โดยมอบรางวัลแก่เทศบาลที่ผ่านการประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนระดับพื้นที่ ประจำปี 2563 จำนวน 90 แห่ง รางวัลน่าอยู่อย่างยั่งยืนและเทศบาลรางวัลเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนระดับประเทศ ประจำปี 2564 จำนวน 5 รางวัล (47 แห่ง) โดยมี นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ทั้งนี้ เทศบาลที่ได้รับรางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมระดับประเทศ ประจำปี 2563 และ 2564 จำนวน 12 แห่ง จะได้เข้ารับพระราชทานถ้วยรางวัลจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อไป

โดย นายพลากร กล่าวว่า สถานการณ์ของประเทศไทยได้สะท้อนถึงปัญหาด้านโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชับซ้อนมากขึ้น การปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่พอเพียง รวมทั้งประเทศสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่มุ่งไปสู่ความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคม อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

กระทรวงทรัพย์ฯมอบรางวัลเชิดชูเกียรติท้องถิ่นยกเมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

อีกทั้ง การพัฒนาเมืองไปสู่ความน่าอยู่อย่างยั่งยืน เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม ต้องมีความสมดุลในทุกมิติ ต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และต้องได้รับความร่วมมือของภาคีทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญเพื่อทำให้ชุมชนกับท้องถิ่นเป็นหนึ่งเดียวกัน อันจะเป็นรากฐานสำคัญ ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีความสามารถพร้อมรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันในอนาคต ดังนั้น เทศบาลทุกแห่งที่ผ่านเข้าสู่การประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนระดับประเทศ ถือได้ว่าท้องถิ่นของท่านเป็นเมืองแนวหน้า มีการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของประเทศ ร่วมกับประชาคมโลก เป็นแบบอย่างที่ดีแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ

"ขอแสดงความยินดีและชื่นชมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ให้การสนับสนุนและพัฒนาท้องถิ่นของตนเองให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม จนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในวันนี้ ผมเชื่อมั่นว่าท่านทั้งหลายล้วนมีความมุ่งมั่นและปรารถณาดีที่จะร่วมกันพัฒนาเมืองของตน โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นสำคัญ สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ แต่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อสิ่งที่มีคุณค่าถึงรุ่นลูก รุ่นหลานต่อไปในอนาคต" นายพลากร กล่าว

 

ด้าน นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนเมืองสู่ความยั่งยืน เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งกระทรวงทรัพย์ฯ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการผลักดันนโยบายการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งในส่วนกลาง และระดับพื้นที่

 

กระทรวงทรัพย์ฯมอบรางวัลเชิดชูเกียรติท้องถิ่นยกเมืองรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ทั้งนี้ เพื่อดำเนินงานเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมอย่างบูรณาการและสมดุลในทุกมิติ บนพื้นฐานของหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืนตามบริบทของพื้นที่ โดยพัฒนาเกณฑ์ชี้วัดเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน 4 องค์ประกอบ 34 ตัวซี้วัด ได้แก่ "เมืองอยู่ดี คนมีสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และเมืองแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดี" เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาเมือง และเป็นเครื่องมือให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดทิศทางและ นโยบายการบริหารจัดการเมืองให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเมืองให้น่าอยู่ ปลอดภัย การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง การจัดการขยะ น้ำ และคุณภาพอากาศที่ดี และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมือง

 

"รางวัลที่ชุมชน เทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับ ล้วนแต่มีมาตรฐาน บางปีอาจได้รับรางวัล บางปีอาจไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่ามาตรฐานลด เพราะคณะกรรมการอาจพิจารณาให้หน่วยที่ดีกว่า มีโอกาสรับรางวัลบ้าง แต่เชื่อว่าใครที่ได้รับรางวัลไปแล้วก็จะรักษามาตรฐานที่มีอยู่" นายวราวุธ ระบุ

logoline