svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

ไม่อยากให้ชีวิตชักหน้าไม่ถึงหลัง บริหารจัดการเงินแบบนี้ ไม่เป็นหนี้แน่!

07 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากประเด็นข่าวเรื่องเงินๆทองๆของตลกชื่อดัง "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม" กับการใช้เงินชักหน้าไม่ถึงหลังทำให้เป็นหนี้! ทางผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินได้ออกมาแนะพร้อม เผยมุมมองแนวคิด แก้ปัญหาหนี้ และ เงินกู้ หากทำตามนี้รับรองไม่เป็นหนี้แน่!

จากกรณีที่ "แม่ปูนา" เจ้าของแบรนด์ "ปูนาฟ้าใส" ขึ้นป้ายทวงหนี้ตลกชื่อดัง "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม" กลางห้างดัง เป็นยอดเงิน 284,400 บาท พร้อมบอกเงินจำนวนนี้ต้องใช้ต่อลมหายใจของอีก 4 ชีวิต ต่อมาทางตลกชื่อดัง จั๊กกะบุ๋ม เดินทางไปลงบันทึกประจำวัน และยืนยันไม่หนี เพียงแต่ยังไม่ทราบยอดหนี้ที่แท้จริง กลายเป็นเรื่องราวดราม่าที่หลายคนให้ความสนใจกับปมหนี้สินจนทั้งคู่ต้องไปออกรายการดังและกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ ล่าสุด "จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม" ขอขมาลาบวชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ไม่อยากให้ชีวิตชักหน้าไม่ถึงหลัง บริหารจัดการเงินแบบนี้ ไม่เป็นหนี้แน่!

 

 


จากประเด็นข่าวเรื่องของ เงินกู้ และหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในวันนี้ จนกลายเป็นเรื่องบานปลาย กลายเป็นปัญหาสังคมที่หลายคนมีความวิตกกังวล อย่างหนัก หากไม่แก้ไข ก็จะยิ่งกลายเป็นปัญหาสังคมที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ  คุณพชรกฤษฏิ์ ชื่นชม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และการลงทุน เปิดมุมมองถึงประเด็นข่าว การกู้หนี้ ยืมสิน และไม่ยอมจ่าย ที่เป็นข่าวใหญ่ ข่าวดังล่าสุด ว่า วงจรหนี้สิน ที่เกิดขึ้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ทั้ง หนี้นอกระบบ และ หนี้ในระบบ  แต่ไม่ว่าจะเป็นหนี้แบบใด ก็ไม่มีใครอยากกู้เงิน หากไม่จำเป็น ดังนั้น การที่จะจบวงจรกู้เงินมาเพื่อไปใช้หนี้ได้นั้น ก็ต้องเริ่มจากการหยุดสร้างภาระหนี้สินขึ้นก่อน

 

ไม่อยากให้ชีวิตชักหน้าไม่ถึงหลัง บริหารจัดการเงินแบบนี้ ไม่เป็นหนี้แน่!

 

“การรู้จักใช้จ่าย รู้จักการบริหารรายได้ และรายจ่ายให้สอดรับกับยุคสมัยที่มีสิ่งเร้า จนทำให้เกิดการใช้จ่ายเกินกำลังที่มี ทว่า บางครั้ง การกู้เงินเพื่อมาเสริมสภาพคล่องในธุรกิจ หรือค้าขาย ก็เรียกว่า มีความจำเป็น แต่ก็ต้องมีการวางแผนให้ดีด้วยเช่นกัน เมื่อกู้เงินมาแล้ว สิ่งแรกที่ต้องตระหนักคือ เมื่อมีหนี้ย่อมมีดอกเบี้ย และดอกเบี้ยก็จะโตตามเวลา ยิ่งใช้เวลามากเท่าไหร่ดอกเบี้ยยิ่งโตขึ้น จนบางครั้งโตเกินเงินต้นก็ว่าได้ การวางแผนทำธุรกิจ และใช้หนี้ให้ดี เป็นจุดเริ่มต้นง่ายๆ ที่จะทำให้เราไม่ต้องก้าวขาเข้าสู่วงจรหนี้”  

 

คุณพชรกฤษฏิ์ ชื่นชม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และการลงทุน

 


สำหรับวิธีการ บริหารการเงินเพื่อไม่ให้เป็นหนี้ ต้องเริ่มรู้จักการทำบันทึกรายรับรายจ่าย “พอพูดแบบนี้อาจดูยุ่งยากและต้องใช้ความจดบันทึกอยู่เสมอ แต่เชื่อเถอะว่า เราจะได้พบความจริงกับคำถามที่ว่า หาเงินได้เยอะก็จริง แต่ทำไมเงินหายไปหมด  ดังนั้น การจดบันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จะทำให้เรารู้ว่า มีการใช้จ่ายอะไรไปบ้างในแต่ละวัน ถือเป็นการเตือนสติ และทำให้เกิดการวางแผนใช้จ่ายของเรา”  


เช่นเดียวกับ การเก็บออมให้เป็น “การแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาไว้เป็น เงินเก็บสำรอง ถือเป็นสิ่งจำเป็น อย่างน้อยก็ทำให้เราพอมีเงินเก็บ ไว้ใช้ยามจำเป็นในสำหรับอนาคต” คุณพชรกฤษฏิ์ ยังบอกด้วยว่า การหาหลักประกันความเสี่ยง ก็เรียกว่า เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการเงินของเราได้แป็นอย่างดี “ชีวิตไม่มีความแน่นอน เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย หรือสถาณการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุต่อครอบครัวหรือคนที่เรารักได้ ...การทำประกันความเสี่ยง จะเป็นการป้องกันการสูญเสียเงินออม ที่เราเก็บมาตลอดชีวิต”

 

 

ไม่อยากให้ชีวิตชักหน้าไม่ถึงหลัง บริหารจัดการเงินแบบนี้ ไม่เป็นหนี้แน่!

 

สำหรับคำถามที่หลายคนสงสัยว่า การกู้หนี้นอกระบบและในระบบแบบไหนดีกว่ากัน? “ผมมองว่า ไม่มีอะไรถูกผิดแน่นอน เพราะการกู้หนี้นอกระบบ หรือ ในระบบ ต่างก็มีข้อดีข้อเสีย แต่สิ่งที่ผมอยากบอกก็คือ หนี้นอกระบบ เป็นหนี้ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง กู้ง่าย ได้เงินเร็วทันใจ ไม่ต้องตรวจสอบอะไร ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก ขณะที่ ดอกเบี้ย ก็ไม่มีอัตราชัดเจน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้ให้กู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดอกเบี้ยอัตราสูง และมักจะมีการเก็บดอกเบี้ยทั้งรายวันและรายเดือน”  


ส่วนหนี้ในระบบ แม้จะเป็นอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครอง และมีการแจ้งอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ชัดเจน และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้กู้ก็ต้องมีเครดิตทางการเงินที่ดี รวมถึงต้องมีเอกสารประกอบการกู้ยืมตามที่สถาบันการเงินกำหนด และยังต้องใช้ระยะเวลาในการอนุมัติสินเชื่อที่นาน 
“เพียงข้อดีข้อเสียไม่มีกี่ข้อนี้ ก็ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะตัดสินใจกับทางเลือกที่ง่ายกว่า บ้างอาจไม่มีทางเลือกเพราะเงื่อนไขในระบบที่เราไม่ผ่านบ้าง หรือ บ้างอาจใจร้อนรีบใช้ แต่ทุกการตัดสินใจนั้นย่อมมีผลที่ตามมาเสมอ หากเราได้ศึกษาให้ดีเสียก่อนจะเป็นหนี้ วางแผนชีวิตให้ปลอมภัย หนี้นอกระบบ อาจไม่ใช่ทางเลือกแต่แรกด้วยซ้ำ เมื่อเรารู้ว่ามันคือทางตันของชีวิต เพราะอย่างนั้นวางแผนเครดิตของตัวเองให้ดีและวางแผนการบริหารหนี้สินที่มีให้ได้หนี้ในระบบจะเป็นทางเลือกให้เราได้”

 

ไม่อยากให้ชีวิตชักหน้าไม่ถึงหลัง บริหารจัดการเงินแบบนี้ ไม่เป็นหนี้แน่!

 

ส่วนใครที่เป็นหนี้นอกระบบ แล้วต้องการปิดหนี้ คุณพชรกฤษฏิ์ แนะนำว่า ก่อนอื่นจะต้องรู้ก่อนว่าตัวของเราเป็นหนี้อยู่เท่าไรกับใครบ้าง “จากนั้น รวมหนี้ทั้งหมด เพื่อวางแผนใช้หนี้ได้อย่างถูกต้อง ด้วยการคุยกับเจ้าหนี้ หากรู้สึกว่า เริ่มจะชำระหนี้ไม่ไหว โดยอาจจะขอยืดระยะเวลาชำระหนี้กับทางเจ้าหนี้ออกไป เพื่อหาเงินมาปิด ด้วยการขอให้คงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม หรือขอลดดอกเบี้ยบางส่วนลงมาเมื่อพร้อมปิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การคุยกับเจ้าหนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่เรามีกับเจ้าหนี้ แต่อยากบอกตามตรงว่า เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับฟังลูกหนี้สักเท่าไร และ สุดท้ายควรหาเงินก้อนมาโปะ ด้วยการดูว่า เรามีสินทรัพย์ หรือ ทรัพย์สินมีค่าอะไรบ้าง เช่น เครื่องประดับ กระเป๋า หรือ รองเท้าแบรนด์เนม นาฬิกา”  


หากยังคงต้องการใช้เงิน ก็ให้ดูว่า สามารถกู้หนี้ในระบบจากที่ใดได้บ้าง โดยแนวทางที่มักเลือกใช้กัน คือ ขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคล แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลจะสูงพอสมควร แต่ก็ยังถือว่าถูกกว่าดอกเบี้ยของเงินกู้นอกระบบแน่นอน และการเป็นหนี้ในระบบ ก็ปลอดภัยกว่าเป็นหนี้นอกระบบ นอกจากนี้ ยังอาจใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน หากเรายังพอมีบ้าน หรือที่ดิน อาจจะลองใช้วิธีกู้เงินแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่ามากและช่วยให้มีเวลาในการใช้หนี้ ที่สำคัญคือช่วยให้เราปิดหนี้นอกระบบได้นั้นเอง”  


เมื่อได้เงินก้อนมาแล้ว ให้วางแผนการใช้หนี้ และนำไปปลดหนี้ทันที หากปิดไม่ได้ทั้งหมดก็ช่วยลดภาระหนี้สิน และภาระดอกเบี้ยที่สูงให้เบาลงได้บ้างก็ยังดี “ให้จำไว้ว่า หากมีหนี้นอกระบบหลายก้อน ให้เลือกชำระหนี้ ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงสุดก่อน ที่เหลือค่อย ๆ ทยอยชำระ ตามอัตราดอกเบี้ยลดหลั่นกันไป และควรเลือกปิดหนี้ทีละก้อน อย่ากระจายเงินใส่หลายๆ ก้อน เพราะจะไม่ช่วยให้ภาระดอกเบี้ยที่เราต้องแบกในแต่ละเดือนลดลงเลย”  


สำหรับหลักการออมเงินในสภาพเศรษฐกิจยุคปัจุบัน คุณพชรกฤษฏิ์ กล่าวว่า เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร อาจไม่ใช่ปัญหาในการออมเงิน แต่สำคัญที่ว่า ตัวของเราจะมีวินัยในการออมเงินหรือไม่ อย่างไรมากกว่า “สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลายๆคนไม่ประสบความสำเร็จในการออมเงิน คือการไม่มีวินัยในการออม ดังนั้นต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการออมเงินเสียก่อน หากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก็มีวิธีที่จะช่วยสร้างวิธีเก็บเงินได้มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง คือใช้วิธีฝากเงินแบบประจำ ที่ต้องฝากเงินจำนวนเท่ากันทุก ๆ เดือน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเสมือนการบังคับการออมเงินของตัวเอง สำหรับคนที่ไม่มีวินัยในการออม”  
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การหยุดความต้องการในตัวเอง “ในยุคที่คำว่า “ของมันต้องมี” มาแรง ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลาย ๆ คนเอาเงินออม มาใช้ซื้อของเหล่านี้ไปไม่น้อย ซึ่งหากเรากำจัดความต้องการในจุดนี้ไปได้ จะทำให้มีเงินเหลือเพื่อมาออมเพิ่มขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว" คุณพชรกฤษฎิ์ ย้ำในช่วงท้าย 

 

 

คุณพชรกฤษฏิ์ ชื่นชม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และการลงทุน

logoline