svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ก.เกษตรฯ ยัน ไม่ได้ขาย แบรนด์ "นมวัวแเดง" ให้ต่างชาติ

25 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก.เกษตรฯ ยืนยัน ไม่มีการขายแบรนด์ นมวัวแดง ให้ต่างชาติ แต่มีโครงการ ให้สิทธิ์จำหน่าย “นมผงเลี้ยงทารก” ภายใต้แบรนด์วัวแดงได้ โดยมีเงื่อนไขต้องแบ่งสัดส่วน ผลประโยชน์ และ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่าง การตรวจสอบ ของ สำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวภายหลังการประชุมหารือในประเด็น การอนุญาตให้เอกชนใช้เครื่องหมายการค้า “ไทย-เดนมาร์ค” หรือ นมวัวแดง หลังมีข่าวลือว่า องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จะขาย แบรนด์ไทย-เดนมาร์ก ให้ต่างประเทศ เพื่อผลิต และ จำหน่ายนมผง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ ของการก่อตั้ง อ.ส.ค. ที่เกิดขึ้นเพื่อเกษตรกรชาวไทย

โดยทาง อ.ส.ค. ได้ชี้แจงว่า โครงการดังกล่าว เป็นการอนุญาตให้เอกชน ใช้เครื่องหมายการค้า เฉพาะ “นมผงเลี้ยงทารก” เท่านั้น  ไม่ใช่การขายแบรนด์ ตามที่มีการพูดถึง โดยมีเงื่อนไข ในเรื่องของการแบ่งปันผลกำไร และ การถ่ายทอดเทคโนโลยีนมผง สำหรับ เลี้ยงทารก ซึ่งเป็นนมสูตร 2 สำหรับทารกหลังหย่านมอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี เพราะปัจจุบัน ในประเทศไทยไม่มีโรงงานใดมีศักยภาพที่จะผลิตได้ 

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังอยู่ระหว่าง การตรวจสอบรายละเอียด โดยสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ดังนั้น ระหว่างนี้จึงให้ อ.ส.ค. และ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ไปหารือทำความเข้าใจกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่กระทบ ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ในประเทศไทย               

นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการ อ.ส.ค. กล่าวว่า โครงการนี้มีมาตั้งแต่ ปี 2564 และ เคยนำชี้แจงต่อที่ประชุมบอร์ด อ.ส.ค.  แล้ว โดยการผลิตนมผง สำหรับทารก เป็นกลุ่มอาหารควบคุมเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย ไม่มีโรงงานผลิต หาก อ.ส.ค.จะลงทุนตั้งโรงงาน ต้องใช้งบประมาณ มูลค่ากว่า 2,400 ล้านบาท เนื่องจาก ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และ ต้องมีห้องแลปวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้น โอกาสการแข่งขัน ทางการตลาด กับ เอกชน ผู้ผลิตนมผงเลี้ยงทารก รายใหญ่ก็เป็นไปได้ยาก เพราะ ตลาดนมผงทารกในขณะนี้ เป็นแบรนด์จากต่างประเทศทั้งหมด

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ได้มีการหารือ ร่วมกับ กงสุลไทย ประจำออสเตรเลีย ที่จะนำนมผง มาจำหน่าย ในไทย ภายใต้แบรนด์วัวแดง โดยมีเงื่อนไขแบ่งปันผลประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทต่อปี และ อาจเพิ่มขึ้นตามยอดรายได้สุทธิ นอกจากนั้นยังมีเงื่อนไขว่า จะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตนมผงทารก ตั้งแต่การเลี้ยง โคนม ในระบบปิด ให้ได้น้ำนมดิบ คุณภาพดี เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง  การพัฒนาคน

รวมถึงผู้ที่ได้รับอนุญาติให้ใช้สิทธิ์ จะต้องเป็นผู้ทำการตลาดเอง และ หากไม่สามารถ ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ อ.ส.ค.ก็มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญา โดยที่ อ.ส.ค. ไม่ต้องมีการลงทุนใด ๆ  และ ไม่กระทบ ต่อ เกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม ในประเทศ อย่างแน่นอนเพราะกลุ่มผู้บริโภคแตกต่างกัน เนื่องจาก คุณภาพน้ำนม ที่เกษตรกรไทยผลิตนั้น ยังไม่สามารถ ใช้ผลิตนมผง สำหรับทารกได้ในตอนนี้  

ปัจจุบัน น้ำนมดิบ ในประเทศมีปริมาณ 2,500 ตันต่อวัน จากเดิมที่ผลิตได้ 3,300 ตันต่อวัน ลดลงเนื่องจาก ต้นทุนวัตถุดิบหลัก ที่นำเข้ามา ในการผลิต อาหารสัตว์ ราคาสูงขึ้น ผลจากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยงวัวนมเป็นจำนวนมาก ทำให้เอกชน กว้านซื้อน้ำนมดิบ หน้าศูนย์ ส่งผลราคาน้ำนมดิบ เพิ่มขึ้นเป็น 24 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจโคนม รวมทั้ง อ.ส.ค. ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น

               

logoline