svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เปิด 3 แนวทางหนุนเที่ยว ‘เมืองรอง’ ให้เติบโตยั่งยืน

05 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“ดีแทค ผนึก ภาครัฐฯ วิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจาก Mobility data ชี้ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวไทยขาดสมดุล หนุนใช้ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเมืองรองสร้างท่องเที่ยวไทยให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน”

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ชารัด เมห์โรทรา ระบุ โครงการวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจาก Mobility data เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชนในการนำร่องใช้ Mobility data เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยโจทย์ของการวิจัยในครั้งนี้ มุ่งเน้นที่ ‘การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว’ หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี

เปิด 3 แนวทางหนุนเที่ยว ‘เมืองรอง’ ให้เติบโตยั่งยืน

ดีแทคเชื่อว่า Mobility data จะช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้าใจรูปแบบการเดินทางและการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวได้อย่างบูรณาการ เติมเต็มและเพิ่มประสิทธิภาพของการวางแผนและการจัดทำนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวตั้งแต่ในระดับประเทศจนถึงท้องถิ่น  

เปิด 3 แนวทางหนุนเที่ยว ‘เมืองรอง’ ให้เติบโตยั่งยืน

นอกจากนี้ ข้อมูลชุดนี้ยังจะช่วยเปลี่ยนโลกให้ดีและน่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยการนำเอาข้อมูล Mobility data ไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม ภายใต้หลักจริยธรรมและการปกป้องความเป็นส่วนตัวอย่างเคร่งครัด ท่ามกลางความท้าทายของโลกที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมโรคระบาด การย้ายถิ่นฐานแบบบังคับ ภาวะโลกร้อน การรับมือกับภัยธรรมชาติ เป็นต้น

เปิด 3 แนวทางหนุนเที่ยว ‘เมืองรอง’ ให้เติบโตยั่งยืน

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ระบุ แม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่เพียงในบางจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก  การระบาดของโรคโควิด 19 ยังสร้างผลกระทบต่อภาคการค้าการบริการและการท่องเที่ยวในประเทศเป็นอย่างมาก 

ในขณะเดียวกัน ความต้องการเดินทางท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศกำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้นจากการลดลงของโรคระบาด  จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างสมดุลระหว่างการกระจายนักท่องเที่ยวและผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจไปสู่จังหวัดที่เป็นเมืองรองด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนสามารถกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นและชุมชนได้มากยิ่งขึ้น

 

จากการวิเคราะห์ Mobility data สามารถสรุป 3 แนวทางเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองได้โดย 1. การส่งเสริม Micro tourism หรือการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับในระยะการเดินทางประมาณ 150 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดินทางราว 1-2 ชั่วโมง เพื่อมาร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้รวมถึงบริโภคสินค้าและบริการของท้องถิ่น

 

2. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกระจายผลลัพธ์เชิงบวกจากการท่องเที่ยวสู่เมืองรอง เนื่องจากการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายและเวลาพำนักของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและเพิ่มโอกาสในการบริโภคสินค้าและบริการในท้องถิ่นเพื่อกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการและชุมชน

 

3. การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างกลุ่มจังหวัดเมืองรอง ที่นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเดินทางไปเยือนในการเดินทางท่องเที่ยว 1 ทริป เพื่อเพิ่มทางเลือกในเป้าหมายการเดินทางท่องเที่ยวให้กับผู้มาเยือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนพื้นที่ เพิ่มการใช้เวลาในการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดเมืองรอง

logoline