svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

องค์กรเด็กและสตรี ร้อง ตำรวจปัดกวาดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เน้นปลอดเหล้า

05 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

องค์กรเด็กและสตรี ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง ให้ ตร.ปัดกวาดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เน้นปลอดเหล้า เตรียมสกัด คนมือไว จ้องคุกคามทางเพศ

5 เมษายน 2566 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง , เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต และแกนนำชุมชนกรุงเทพมหานาคร กว่า 40 คน เข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เพื่อแสดงจุดยืน และข้อเสนอต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเข้มงวดในการควบคุม ป้องกันปัญหาการคุกคามทางเพศ ตลอดจนการกระทำความผิด ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ การดื่มแล้วขับ การดื่มสุราบนรถขณะอยู่บนทาง รวมถึงการทะเลาะวิวาท การละเมิดสิทธิของผู้อื่น ในช่วง เทศกาลสงกรานต์ ปี 2566 พร้อมกันนี้ทางเครือข่ายยังได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “ขอสงกรานต์ปลอดน้ำเมา ปลอดคุกคามทางเพศ"
องค์กรเด็กและสตรี ร้อง ตำรวจปัดกวาดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เน้นปลอดเหล้า

 

น.ส.อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า มูลนิธิฯ ได้ สำรวจความเห็นประชาชนต่อ เทศกาลสงกรานต์ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2560 กลุ่มตัวอย่าง 1,650 คน พบว่า 28.10% เคย ถูกแต๊ะอั๋งจึงไม่อยากเล่นสงกรานต์ กลัวถูกฉวยโอกาสลวนลาม อีก 15.7% เบื่อคนเมาเหล้า 

สำหรับรูปแบบพฤติกรรมที่เจอคือ จับแก้ม จับมือ เบียดเสียด ใช้สายตามอง แทะโลมทำให้อึดอัด การถูกแซว การผิวปากและการถูกสัมผัสลูบไล้ร่างกาย ซึ่งสอดคล้องผลสำรวจในปี 2566 พบว่ากลุ่มตัวอย่างเคยมีประสบการณ์ถูกปะแป้ง ที่ใบหน้าตามร่างกาย ถูกแซว ผิวปาก ถูกฉวย โอกาสลวนลาม แต๊ะอั๋งทำให้ไม่ปลอดภัย

และกลุ่มตัวอย่าง 55.6% ระบุว่าหากเกิดเหตุการณ์คุกคามทางเพศหน่วยงานแรกที่ ประชาชนนึกถึงคือตำรวจ ตามมาด้วยศูนย์รับแจ้งเหตุในพื้นที่เล่นน้ำ 20.9% และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ 13.4%
องค์กรเด็กและสตรี ร้อง ตำรวจปัดกวาดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เน้นปลอดเหล้า
 

อย่างไรก็ตาม นอกจากการรณรงค์ สร้างจิตสำนึกแล้ว เครือข่ายฯ เห็นว่าการเข้มงวดตามกฎหมาย จะช่วยให้ผู้ร่วม เทศกาลคลายความกังวล เรื่องความปลอดภัยได้มาก ดังนั้นวันนี้จึงมายื่นหนังสือถึง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อแสดงจุดยืน และมีข้อเรียกร้องดังนี้

1.เสนอให้สำนักงานตำรวจฯ บังคับใช้กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการลวนลาม คุกคามทางเพศ และความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับรถ การทะเลาะวิวาท

2.ขอให้เร่งสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ประเด็นกฎหมายดังกล่าวเพื่อป้องกันการกระทำผิด

3. ขอให้สำนักงานตำรวจฯ ประสานงานให้พื้นที่เล่นน้ำ ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการคุกคามทางเพศทุกรูปแบบ ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยกับคนทุกวัย ทุกเพศสภาพ และกำหนดจุดรับเรื่องร้องเรียนช่วยเหลือหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในพื้นที่เล่นน้ำอย่างชัดเจน

ด้าน น.ส.เครือมาศ ศรีจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต กล่าวว่า เมื่อดูสถิติอุบัติเหตุทางถนนจะ พบว่าตัวเลขในปี 2565 จะมากกว่าปี 2564 และในปีนี้ผ่านมาแค่สามเดือน ก็พบว่าตัวเลขอุบัติเหตุทางถนน จะมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565

ดังนั้นสถานการณ์นอกจากจะไม่ดีขึ้นแล้ว จึงมีโอกาสที่จะวิกฤตกว่าเดิม และหลังมีการระบาดของโรคโควิด 19 กว่า 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงปีนี้สถานการณ์คลี่คลายซึ่งคาดว่า ประชาชนจะมีการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศตามสถานที่ ท่องเที่ยว และการเดินทางกลับภูมิลำเนา ไปเยี่ยมญาติพี่น้องและการสังสรรค์ อีกทั้งหลายหน่วยงานกลับมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ตามปกติ 

“ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่างเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม สงกรานต์กันอย่างยิ่งใหญ่ ทางเครือข่ายจึงมีความกังวลว่า หากมีการปล่อยปละละเลย โดยมองในมุมของการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นหลัก จนกลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทำให้สงกรานต์ไม่มีความปลอดภัย”

น.ส.เครือมาศ กล่าวว่า ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันรณรงค์ ให้การเล่นน้ำสงกรานต์ อยู่ในกรอบกฎหมาย ให้เกียรติกัน ไม่ฉวยโอกาสลวนลาม คุกคาม ทางเพศ ที่สำคัญควรปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้คนขาดสติ มีพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม และทำผิดกฎหมาย ทั้งการดื่มแล้วขับ ดื่มสุราบนรถขณะอยู่บนทาง การทะเลาะวิวาท ตลอดจนการใช้ความรุนแรง และการบังคับใช้ กฎหมายต้องจริงจังเข้มข้น
องค์กรเด็กและสตรี ร้อง ตำรวจปัดกวาดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เน้นปลอดเหล้า
 

logoline