svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สั่ง"ห้ามชุมนุม" ชี้โควิดกลายพันธุ์ระบาด ประกาศออกข้อกำหนดลง"ราชกิจจาฯ"

01 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ราชกิจจาฯ" ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง สั่ง "ห้ามการชุมนุม" การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มมีผลตั้งแต่ 1 ส.ค.นี้

 

เมื่อวันที่ 1 ส.ค.65   "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ฉบับที่ ๑๕)

 

ประกาศดังกล่าว ระบุว่า  โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในหลายประเทศ ทั่วโลกรวมทั้งในทวีปเอเชียมีแนวโน้มพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในลักษณะที่เป็นการระบาดระลอกเล็ก ๆ (Small Wave) สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยแม้ว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับวัคซีน เข็มกระตุ้น (Booster Dose) จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงปรากฏการระบาดลักษณะ เป็นกลุ่มก้อนในสถานที่เสี่ยงส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยกำลังรักษา ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิตจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด - 19) เพิ่มจำนวนขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกข้อกำหนดออกตามความใน มาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๗) ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๒/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕

 

สั่ง"ห้ามชุมนุม" ชี้โควิดกลายพันธุ์ระบาด ประกาศออกข้อกำหนดลง"ราชกิจจาฯ"

เรื่อง พื้นที่ สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปิดประเทศ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจดำเนินไปควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างเข้มแข็งและสมดุล ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระยะ Post - Pandemic รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุข จึงปรับมาตรการ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคที่จำเป็นสำหรับการดำเนินกิจกรรมบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ย่อยใหม่ต่าง ๆ

สั่ง"ห้ามชุมนุม" ชี้โควิดกลายพันธุ์ระบาด ประกาศออกข้อกำหนดลง"ราชกิจจาฯ"

สั่ง"ห้ามชุมนุม" ชี้โควิดกลายพันธุ์ระบาด ประกาศออกข้อกำหนดลง"ราชกิจจาฯ"

รวมถึงการเตรียมความพร้อม ของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด - 19) เข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่านอันจะทำให้การบริหารจัดการด้านสาธารณสุขเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

 

อาศัยอำนาจตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๕) ข้อ ๓ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๗) ข้อ ๒ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้า ผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) และข้อ ๔ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๗) ข้อ ๓ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และข้อกำหนด คำสั่ง ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง จึงให้ปฏิบัติ ดังนี้

 

๑. ให้ยกเลิกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับ ความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ลงวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) (ฉบับที่ ๑๔) ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔

 

๒. ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาส ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค ณ ที่ใด ๆ ทั่วราชอาณาจักร

 

๓. ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้น โดยให้ดำเนินการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔๗) ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

 

๔. การชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ในพื้นที่ที่มีประกาศหรือ คำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ให้ดำเนินการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔๗) ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔๖) ลงวันที่ ๒ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕

 

๕. ให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุม ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ในกรณีที่มีการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับใหม่ ให้ประกาศฉบับนี้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับข้อกำหนดฉบับใหม่ดังกล่าว

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

 

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม>>>

 

ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) (ฉบับที่ ๑๕)

 

คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๗/๒๕๖๕ เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๓)

 

logoline