svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

12 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บรรยายกาศการซื้อขาย เทียนพรรษา-สังฆทาน ก่อนวันเข้าพรรษาคึกคัก ร้านสังฆทานเผยโควิด-19 ทำให้รายได้หายไปกว่าร้อยละ 60 ยอมรับราคาเทียนพรรษาพุ่งร้อยละ 25 ลูกค้าเริ่มให้ความสำคัญกับหลอดไฟโซลาร์เซลล์หวังช่วยวัดประหยัดค่าไฟ ด้านลูกค้าเน้นรวมกลุ่มทำบุญเพื่อประหยัดเงิน

          เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจบรรยากาศการซื้อ-ขาย เทียนพรรษาและสังฆทานก่อนวันเข้าพรรษาในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าบรรยายกาศการซื้อ-ขาย เป็นไปด้วยความคึกคักมีประชาชนเดินทางมาซื้อ เทียน หลอดไฟ สังฆทาน เพื่อนำไปถวายวัดในวันเข้าพรรษากันอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเน้นการรวมกลุ่มกันทำบุญ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านร้านสังฆทานเผยเริ่มเห็นสัญญาณบวกรายได้เริ่มกลับมา แม้จะยังไม่เท่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

            นางสรัญญา ปัญปรีชา เจ้าของร้าน วิมุตติ(ราชวงศ์) ร้านขายสังฆทาน บริเวณถนนราชวงศ์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ทางร้านทำธุรกิจเกี่ยวกับสังฆภัณฑ์มานานกว่า 30 ปี ยอมรับว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับสภาพเศรษฐกิจตอนนี้ ถือว่าหนักสุดตั้งแต่เปิดร้านมา แต่การที่ทางร้านยังอยู่ได้มาถือวันนี้พ้นวิกฤตแล้ว และในช่วงนี้ลูกค้าเริ่มมาซื้อเทียนพรรษา สังฆทานกันเยอะขึ้น เพราะโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และใกล้ถึงวันเข้าพรรษา ทำให้ประชาชนมาซื้อของไปทำบุญกันมากขึ้นกว่าช่วง 2 ถึง 3 ปี ที่ผ่านมา

            ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางร้านสามารถขายสินค้ารวมได้ต่อปี ประมาณ 2-3 คันรถสิบล้อ แต่หลังจากการได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ขายได้เพียง 1 คับรถสิบล้อต่อปีเท่านั้น ทำให้รายได้หายไปกว่าร้อยละ 60 เนื่องจาก ณ ตอนนั้นวัดงดให้ประชาชนเข้าไปทำบุญที่วัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาหลาย ๆกิจกรรมหายไป ประกอบกับที่ประชาชนกลัวการติดเชื้อเนื่องจากยังไม่ได้รับวัคซีน แต่ตอนนี้โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประชาชนกลับมาทำบุญกันอีกครั้ง แม้จะยังไม่มากเท่ากับช่วงการการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีคาดว่ารายได้จะกลับมาร้อยละ 30

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

             นางสรัญญา ยังกล่าวอีกว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงก่อนวันเข้าพรรษาลูกค้าจะเน้นไปทำบุญครอบครัวละ 9 วัด แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 บวกกับ ณ ตอนนี้เศรษฐกิจย่ำแย่ ทำให้ประชาชนรวมตัวกันหลาย ๆครอบครัว และลดจำนวนวัดที่ไปทำบุญ อาทิ รวมตัวกับญาติหรือเพื่อนบ้านไปทำบุญจากเดิม 9 วัด ก็เหลือเพียง 3-5 วัด

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

            ปัจจุบันนี้ลูกค้ายังคงนิยมซื้อเทียนพรรษาไปถวายวัดอยู่ เนื่องจากยังมีความเชื่อว่าการถวายเทียนพรรษาง่ายต่อการใช้งานของพระสงฆ์ ในส่วนของหลอดไฟฟ้าก็ยังมีความนิยมซื้อใกล้เคียงกับเทียนพรรษา เพราะลูกค้าบางคนคิดว่าหากถวายเทียนแล้วก็ควรจะถวายหลอดไฟฟ้าด้วย แต่ปัจจุบันเริ่มมีการให้ความสนใจหลอดไฟฟ้าที่เป็นโซล่าเซลล์มากขึ้น เพราะพลังงานทดแทนเริ่มเป็นที่นิยม เนื่องจากเป็นการประหยัดค่าไฟให้แก่ทางวัดด้วย

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

           ซึ่งเริ่มมีพระสงฆ์มาของความเมตตากับทางร้านให้แนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนจากการถวายเทียนพรรษา หรือหลอดไฟฟ้า ไปเป็นหลอดไฟฟ้าที่เป็นโซล่าเซลล์ แต่หลอดไฟฟ้าที่เป็นโซล่าเซลล์ทางร้านยังไม่สต๊อกสินค้าไว้ที่ร้าน เนื่องจากต้องสั่งจากทางกรุงเทพฯ ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการซื้อ โดยราคาชุดหลอดเล็กจะอยู่ที่ประมาณ 1,900 บาท ชุดหลอดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 3,900 บาท

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

          “สำหรับราคาเทียนพรรษาของทางร้านที่ลูกค้านิยมมาซื้อจะเป็นขนาด 5 กิโลกรัม ซึ่งทางร้านได้มีการปรับราคาขึ้นมาร้อยละ 25 ซึ่งถือว่าขึ้นมาเยอะมาก เนื่องจากเทียนพรรษาจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของน้ำมัน ราคาก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทียนพรรษาขนาด 5 กิโลกรัม จะเป็นที่ 375 บาทต่อแท่ง ปัจจุบันราคา 490 บาทต่อแท่ง สำหรับราคาสังฆทานทางร้านมีตั้งแต่ราคาหลักสิบ ไปจนถึงราคาหลักพัน ซึ่งยังคงไม่มีการขึ้นราคาสังฆทาน แต่อาจจะมีการลดปริมาณของสิ่งของที่อยู่ในสังฆทานลงบ้างเล็กน้อย” นางสรัญญากล่าว

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

ร้านขายสังฆทานเชียงใหม่คึกคัก ประชาชนเริ่มออกมาทำบุญเข้าพรรษา

              หนึ่งในลูกค้า เปิดเผยกับสื่อข่าวว่า ก่อนหน้านี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้วัดต้องปิด ไม่ให้ประชาชนเข้าไปทำบุญตนและครอบครัวจึงไม่คอยได้ทำบุญ แต่หลังจากนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น ตนและครอบจึงเริ่มกลับมาทำบุญ เนื่องจากสอบทำบุญเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดีจึงใช้วิธีรวมกลุ่มกันหลาย ๆบ้านเพื่อไปทำบุญ จากเดิมที่ไปบ้านใครบ้านมัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและยังได้ทำบุญ

 

ข่าว/ภาพ : จักรินทร์  นมนาน สำนักข่าวเนชั่น ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

logoline