svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก 210 ต่อ 180 เสียง

15 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผ่านวาระแรก สภารับหลักการ “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ของ “พรรคก้าวไกล” ผ่าน วาระแรกด้วยคะแนนเสียง 210 ต่อ 180 เสียง

วันนี้ (15 มิ.ย.65)  ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ใช้เวลา 5 ชั่วโมงในการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ตามที่นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ ,ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ตามที่ครม.เป็นผู้เสนอ ,ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามที่ครม.เป็นผู้เสนอ และ ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ตามที่นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ซึ่งการอภิปรายส่วนใหญ่ของส.ส.พรรคฝ่ายค้านสนับสนุนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมของพรรคก้าวไกล และไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายที่ ครม. และพรรคประชาธิปัตย์เสนอ  ขณะที่ส.ส.พรรครัฐบาลให้ความเห็นในทิศทางตรงกันข้าม แม้จะยอมรับกับการให้สิทธิบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิตั้งสถาบันครอบครัว แต่คัดค้านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของการอภิปราย และเป็นการทำหน้าที่ของนายศุภชัย โพธิสุ รองประธานสภาฯ คนที่สอง พบว่านายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ที่เป็นผู้อภิปรายคนสุดท้ายของฝ่ายค้าน ได้ขออภิปรายพร้อมเปิดคลิปวีดีโอที่ระบุว่าสัมภาษณ์ผู้ชุมนุมหน้ารัฐสภา เพื่อให้ส.ส.ฟังเสียงของประชาชน เนื่องจากทราบว่ามติของวิปรัฐบาลจะลงมติไม่รับหลักการ แต่เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากประธาน ทำให้นายณัฐพงษ์ต้องพูดด้วยเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอเบ้า

 

“ผมเป็นส.ส.สมัยแรก มองว่า ระบบสภาที่ควบคุมด้วยวิป จะผ่านกฎหายเพื่อประชาชนได้จริงหรือไม่ ผมไม่คิดว่า สมรสเท่าเทียมจะล้มด้วยมติวิปรัฐบาล ผมจึงไปอัดคลิปประชาชนเพื่อมาเปิดในสภาฯ  แต่ประธานไม่อนุญาต ผมเคารพ ทั้งนี้ขอร้องสมาชิกวันนี้หากเลือกด้วยหลักเหตุผล ยึดประชาชน ไม่มีใครมองว่าเป็นความพ่ายแพ้ของรัฐบาล เพราะเป็นชัยชนะของประชาชน" นายณัฐพงษ์ กล่าว

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

 

จากนั้น เป็นการอภิปรายสรุป โดยนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่อภิปรายพร้อมน้ำตาคลอเบ้าเช่นกัน

 

"หากสภาฯ รับหลักการร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ถือว่าใจกว้าง และเป็นชัยชนะของประชาชนไม่ใช่ของพรรคใด ทั้งนี้ น้ำตาที่ไหลไม่ใช่ของธัญ แต่เป็นน้ำตาประชาชนที่รอ ส.ส.โหวต ขอฝากว่าสมรสเท่าเทียมคือกระดุมเม็ดแรกที่จะกลัดเพื่อความเสมอภาค” นายธัญวัจน์ กล่าว

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสมาชิกอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ก็ได้ลงมติวาระแรกเป็นรายร่าง โดยที่ประชุมสภาฯมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ตามที่พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน 212 ต่อ 180 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

ที่ประชุมสภาฯ ยังได้มีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ตามที่ ครม.เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน 229 ต่อ 167 เสียง งดออกเสียง 6 ไม่ลงคะแนน 2 เสียง

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

 

ที่ประชุมสภาฯ ยังมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามที่ครม.เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน 230 ต่อ 169 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

 

และที่ประชุมมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ตามที่นายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน  ต่อ 251 เสียง 124 งดออกเสียง 30 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

 

จากนั้น ที่ประชุมสภาฯตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต โดยพิจารณารวมกันทุกฉบับ จำนวน 25 คน กำหนดแปรญัตติ 15 วัน แต่เมื่อ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้พิจารณาร่างของ ครม.เป็นหลักในการพิจารณา ทำให้เกิดการทักท้วงจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ระบุว่า แม้จะเป็นคณะกรรมาธิการฯเดียวกันทั้ง 4 ร่าง แต่เสนอให้แยกพิจารณาเป็น 2 กลุ่มร่าง พ.ร.บ. คือ 1.ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยใช้ร่างของพรรคก้าวไกลเป็นหลัก และ 2.ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ใช้ร่างของพรรคประชาธิปัตย์เป็นร่างหลัก ก่อนที่ประธานจะสั่งลงมติว่าจะใช้ร่างใดเป็นหลัก ในที่สุดที่ประชุมสภาฯมีมติให้ใช้ร่างทั้ง 2 ฉบับของ ครม.เป็นร่างหลักในการพิจารณา.

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

 

สำหรับ สาระสำคัญของ "พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" การแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส” มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล

 

ข้อวิจารณ์หลักที่มีการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต คือ การไม่ครอบคลุมการเข้าถึงสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์บางประการของคู่ชีวิต เช่น การลดหย่อนภาษีของคู่สมรส ไอลอว์ ชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดถ้อยคำที่แยกออกมาเป็น “คู่ชีวิต” ทำให้คู่ชีวิตขาดโอกาส ในการเข้าถึงสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ที่รัฐได้กำหนดไว้ให้คู่สมรส เช่น การลดหย่อนภาษีของคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร

 

การแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับการสมรส จากเดิมที่ระบุ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็น ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส รวมถึงการแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส โดยได้ขอแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า สามีและภรรยา เป็น คู่สมรส
การหมั้น

 

ให้บุคคลเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ ซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำการหมั้นกันได้ เสนอกำหนดคำศัพท์ขึ้นใหม่เป็น ผู้หมั้น และ ผู้รับหมั้น แทนคำว่า ชาย และ หญิง แบบของการหมั้นให้ผู้หมั้นส่งมอบ หรือโอนทรัพย์สินให้กับผู้รับหมั้น ในส่วนของเรื่องสิทธิ และหน้าที่ ระหว่างคู่หมั้นยังคงตามหลักการเดิม เพียงแต่ปรับถ้อยคำเป็น ผู้หมั้น และ ผู้รับหมั้น

 

รับหลักการ ! “พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” ผ่านวาระแรก  210 ต่อ 180 เสียง

 

การรับบุตรบุญธรรมการรับมรดก กรณีผู้ตายมีคู่สมรส ต้องมีการแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างผู้ตาย กับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยให้นำเรื่อง ส่วนแบ่งทรัพย์สิน ระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสที่ร้างกัน หรือแยกกันอยู่ โดยยังมิได้หย่ากันตามกฎหมาย ยังคงมีสิทธิโดยธรรม ในการสืบมรดก ซึ่งกันและกัน

     

การสมรสเท่าเทียม จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกัน สามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถได้รับสิทธิในการสมรส

 

สิทธิในการใช้นามสกุลสิทธิในการเซ็นยินยอมในการรักษาพยาบาล เช่น การผ่าตัด ให้ยา หรือหยุดรักษาในกรณีเร่งด่วน สิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษา สิทธิในการกู้เงินซื้อบ้านและทำประกันชีวิตร่วมกันในฐานะคู่สมรส สิทธิทางมรดก คู่สมรสมีสิทธิรับมรดกก่อนทายาทลำดับอื่น  สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิในการจัดการศพ เช่น การรับศพออกจากโรงพยาบาล การรับเงินสงเคราะห์ค่าทำศพ การขอออกใบมรณบัตร

สิทธิในการใช้สถานะสมรสเพื่อลดหย่อนภาษี สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน สิทธิเข้าเยี่ยมในเรือนจำกรณีที่นักโทษป่วย ในฐานะคู่สมรส สิทธิในการขอวีซ่าเดินทาง กรณีบางประเทศต้องตรวจสอบยอดเงินในบัญชี คู่สมรสสามารถยื่นบัญชีของอีกฝ่ายเป็นหลักฐานได้

logoline