svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

จากGT200 สู่ "เรือเหี่ยว"ลดเครดิตกองทัพ

04 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพ ที่มีปัญหาการใช้งาน ไม่ใช่แค่GT200 เท่านั้น แต่ยังมี "เรือเหาะตรวจการณ์" งบประมาณ 350 ล้านบาท ที่ซื้อมาแล้วใช้งานไม่ได้ ขึ้นบินก็ตก ต้องร่อนลงจอดฉุกเฉินหลายครั้ง และผ้าใบก็รั่วก่อนใช้งานจริง จนต้องเคลมกับบริษัทที่จัดซื้อกันวุ่นวาย

สรุปว่าตั้งแต่ซื้อเรือเหาะ และได้รับการส่งมอบมาเมื่อกลางปี 2552 เรือเหาะไม่เคยทำหน้าที่ได้จริงเลย จนต้องปลดประจำการณ์ไปในที่สุด โดยแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ 

 

จากGT200 สู่ \"เรือเหี่ยว\"ลดเครดิตกองทัพ

 

"เรือเหาะ" ถูกขนานนามว่าเป็น "เรือเหี่ยว" เพราะไม่สามารถบินสูงได้ตามสเปค และผ้าใบยังมีรูรั่ว จนเกิดเสียงวิจารณ์ว่าซื้อเรือเหาะ มือ 2 มาหรือเปล่า 

 

ต่อมาได้มีการเคลมผ้าใบกับบริษัทจัดจำหน่าย จากนั้นก็ได้พยายามนำขึ้นบิน แต่ปรากฏว่า บินทีไร ก็บินได้แค่เตี้ยๆ เสี่ยงถูกคนร้ายยิงตก และการบินอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ที่ต้องร่อนลงจอดฉุกเฉิน จนเรือเหาะได้รับความเสียหาย

 

 

โดยครั้งหนึ่งเป็นการร่อนลงจอดใกล้โรงเก็บ แล้วเกิดเสียหลัก อีกครั้งหนึ่งร่อนลงจอดกลางทุ่งนาใน อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี 

 

ทั้งเรือเหาะ และจีที200 จัดซื้อในยุคที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก โดยทั้ง พล.อ.อนุพงษ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยเป็น ผบ.ทบ. เคยลงไปตรวจความพร้อมของเรือเหาะ และโรงเก็บเรือเหาะมาแล้วทั้งคู่ ที่กองพลทหารราบที่ 15 อำเภอหนองจิก จ.ปัตตานี

 

จากGT200 สู่ \"เรือเหี่ยว\"ลดเครดิตกองทัพ

โดยปัจจุบัน พล.อ.อนุพงษ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี 

 

เรือเหาะ หรือ เรือเหี่ยว เป็นอากาศยานทางยุทธวิธีที่ใช้ในสงครามอิรัก หรือสงครามทะเลทราย เปรียบเสมือน "ดวงตาบนฟากฟ้า" มองเห็นข้าศึกได้ในระยะไกล และจับความเคลื่อนไหวของข้าศึกได้อย่างแม่นยำ แต่ยุทธบริเวณของไทย โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นป่าร้อนชื้น ไม่ใช่ทะเลทราย

 

จากGT200 สู่ \"เรือเหี่ยว\"ลดเครดิตกองทัพ

 

การใช้เรือเหาะขึ้นลาดตระเวน ไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวของคนร้ายได้ และยังเสี่ยงถูกยิงตกได้ง่าย เพราะระยะบินไม่สูงเท่าที่ระบุในสเปค ประกอบกับพื้นที่ชายแดนใต้เป็นภูเขา มีเทือกเขาหลายลูก ทั้งบูโด เขาตะเว ยิ่งไม่เหมาะกับการใช้เรือเหาะในทางยุทธการ ที่สำคัญเรือเหาะซึ่งใช้ในกิจการอื่น เช่น ถ่ายทำภาพยนตร์ ราคาอยู่ในหลักสิบล้านเท่านั้น ไม่ใช่หลักร้อยล้านแบบเรือเหาะของกองทัพบกไทย

logoline